หลักการและเหตุผล
  วัตถุประสงค์
  คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
  ระยะเวลาอบรมและสถานที่
  วิธีการดำเนินการอบรม
  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  ตารางการฝึกอบรม
  งบประมาณ
  การชำระค่าฝึกอบรม
  บุคคลและสถานที่ติดต่อ
  Download ใบสมัคร
 
โครงการฝึกอบรมเรื่อง “การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ”
   
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
  ภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
   
หลักการและเหตุผล
  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 67 วรรค 2 และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน จะต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553 ระบุว่า โครงการพัฒนาต่างๆ (Development Projects) ต้องได้รับการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนก่อนที่จะดำเนินโครงการ และต้องมีการติดตามและประเมินผลกระทบดังกล่าว ขณะที่โครงการพัฒนานั้นๆ ดำเนินการอยู่ การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Environmental and Health Impact Assessment) เป็นกระบวนการจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินการโครงการพัฒนาต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถ ที่จะดำเนินการประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน เพื่อการตัดสินใจในการอนุมัติ และดำเนินการโครงการพัฒนา รวมทั้งติดตามผลกระทบในระยะยาว

ศูนย์การศึกษาการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Center for Health Impact Assessment Study) ภาควิชาเวชศาสตร์สังคม และสิ่งแวดล้อมคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จะจัดการฝึกอบรมเรื่อง  การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ให้แก่บุคลากรภาครัฐและภาคเอกชน ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2554
 
วัตถุประสงค์
  เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถดำเนินการ และบริหารจัดการในการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการพัฒนาต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรม และนำผลที่ได้ไปใช้ในการตัดสินใจ และดำเนินการโครงการพัฒนาต่างๆ รวมทั้งติดตามผลกระทบของโครงการในระยะยาว และสามารถสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึงการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างถูกต้อง
 
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
  เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานรับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรม และโครงการพัฒนาต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
 
ระยะเวลาการอบรม
  ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2554 เวลา 9.00-16.00 น.
   
สถานที่จัดอบรม
  ณ ห้องประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 ปี ชั้น 5 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
   
จำนวนผู้เข้าอบรม
  จำนวน 40-50 คน
 
วิธีการดำเนินการอบรม
  การบรรยาย การทำงานเป็นกลุ่ม การวิจารณ์ และวิเคราะห์ปัญหา และการศึกษาดูงานโครงการพัฒนาอุตสาหกรรม
 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับความรู้และประสบการณ์ในการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของโครงการพัฒนาต่างๆ  โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมจากวิทยากรผู้มีประสบการณ์ตรง ซึ่งสามารถจะนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ และยังเป็นการสร้างเครือข่ายของผู้ปฏิบัติงานทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพภายในประเทศอีกด้วย
 
ตารางการฝึกอบรม “การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ”
 
วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2554
09.00 - 09.15 น. พิธีเปิดการฝึกอบรม
09.15 - 09.45 น. Introduction รศ.นพ.วิจิตร ฟุ้งลัดดา
09.45 - 10.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.00 - 11.00 น. วัตถุประสงค์ของการทำ EHIA, ความหมายและคำจำกัดความ Health Determinants, EIA, HIA, รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 67 วรรคสอง, พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 คุณธีชัช บุญญะการกุล
11.00 - 12.00 น. 5 ขั้นตอนของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ และข้อกำหนดเรื่องเวลาตามที่กฎหมายบังคับ (การส่งรายงาน ค.1 ค.2 ค.3) คุณมีนา พิทยโสภณกิจ
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. บทบาทของผู้จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ คุณมีนา พิทยโสภณกิจ
14.00 - 14.45 น. กระบวนการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ:
1. การกลั่นกรองโครงการ (Screening)
    ประกาศ 11 โครงการ: โครงการที่ต้องทำ EHIA
    พื้นที่ตั้งโครงการ
    กิจกรรมโครงการ/สิ่งคุกคามสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
    ผลกระทบต่อปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ผศ.ดร.สุวลีย์ วรคุณพิเศษ
14.45 - 15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง  
15.00 - 15.45 น. กระบวนการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ: (ต่อ)
2. การกำหนดขอบเขตการศึกษา (Scoping) ประกอบด้วย
    ประเด็นผลกระทบต่อสุขภาพ
    ข้อห่วงกังวลของประชาชนและกลุ่มเสี่ยง
    รูปแบบ วิธีการ เครื่องมือ
    และระยะเวลาที่จะทำการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
ดร.ประพิน ธารภูผาสยาม
15.45 - 16.30 น. การฝึกปฏิบัติ (Scoping) แบ่งกลุ่ม: สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม-เศรษฐกิจ รศ.นพ.วิจิตร ฟุ้งลัดดา
รศ.ดร.วรัญญา ว่องวิทย์
ผศ.น.สพ.วันชัย ผาติหัตถกร
ผศ.ดร.สุวลีย์ วรคุณพิเศษ
ดร.ประพิน ธารภูผาสยาม
ดร.ญาณิน ลิมปานนท์
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2554
09.00 - 09.45 น. การนำเสนองานกลุ่ม
09.45 - 10.15 น. การกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ: กรณีศึกษา
(Public scoping: Case study)
ดร.ญาณิน ลิมปานนท์
10.15 - 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30 - 12.00 น. กระบวนการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ:
3. การประเมินผลกระทบ (Assessment / Appraisal)
    ด้านสิ่งแวดล้อม
    - การประเมินคุณภาพอากาศและแบบจำลองทาง
      คณิตศาสตร์
คุณมีนา พิทยโสภณกิจ
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 น.     - การประเมินคุณภาพน้ำ คุณปรีชาวิทย์ รอดรัตน์
14.30 - 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง  
14.45 - 16.30 น.     - การประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆ (เสียง
      จราจร ฯลฯ)
คุณปรีชาวิทย์ รอดรัตน์
วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2554
09.00 - 10.30 น. กระบวนการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ:
3. การประเมินผลกระทบ (Assessment / Appraisal)
    (ต่อ)
    ด้านสุขภาพ
    - HIA ประเด็นที่ต้องประเมิน สิ่งคุกคามต่อสุขภาพ เช่น
      ผลกระทบ ต่อสุขภาพ ผลกระทบต่อการบริการ
      สาธารณะและสาธารณสุข และผลกระทบต่อสภาพ
      เศรษฐกิจ-สังคม รวมถึง การเก็บข้อมูล ด้านสุขภาพ
      (ข้อมูลและสถิติสาธารณสุข) การตรวจสุขภาพ
      (Physical examination)
ผศ.น.สพ.วันชัย ผาติหัตถกร
10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 - 12.00 น.     - การมีส่วนร่วมของชุมชน การสำรวจความคิดเห็นของ
      ประชาชน (Attitude survey) การเก็บข้อมูลเชิง
      คุณภาพ: การสนทนากลุ่ม (Focus group
      discussion) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth
      interview) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
คุณรุ่งวิทย์ มาศงามเมือง
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 น. วิธีการศึกษาทางระบาดวิทยา ผศ.ดร.จรณิต แก้วกังวาล
14.30 - 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 - 16.30 น. การศึกษาและประเมินเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ (Special assessment on communicable diseases, intermediate host, and vectors) ผศ.น.สพ.วันชัย ผาติหัตถกร
ดร.ญาณิน ลิมปานนท์
วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2554
09.00 - 10.30 น. การประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพ (Qualitative risk assessment) ดร.ประพิน ธารภูผาสยาม
10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 - 12.00 น. การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ (Quantitative risk assessment) ดร.ภัทรทิพา ศันสยะวิชัย
13.00 - 15.00 น. กิจกรรมกลุ่ม: การประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ รศ.นพ.วิจิตร ฟุ้งลัดดา
รศ.ดร.วรัญญา ว่องวิทย์
ผศ.น.สพ.วันชัย ผาติหัตถกร
ผศ.ดร.สุวลีย์ วรคุณพิเศษ
ดร.ประพิน ธารภูผาสยาม
ดร.ญาณิน ลิมปานนท์
15.00 - 16.30 น. การนำเสนอผลงานกลุ่ม (Presentation)
วันศุกรที่ 5 สิงหาคม 2554 Field Trip
07.00 - 10.00 น. เดินทางไปนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง  
10.00 - 12.30 น. ข้อมูลโครงการ Gheco-One การเตรียม Public scoping, Attitude survey, Public review, CSR
เยี่ยมชมโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน Gheco-One
คุณสมชัย กลิ่นสุวรรณมาลี
และคณะ
12.30 - 14.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
14.30 - 17.00 น. เดินทางกลับ
วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2554
09.00 - 10.30 น. มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ (Mitigation measures) มาตรการ ติดตามตรวจสอบผลกระทบ (Monitoring) และการจัดทำรายงาน
    - ด้านสิ่งแวดล้อม
คุณปรีชาวิทย์ รอดรัตน์
10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 - 12.00 น. มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ (Mitigation measures) มาตรการ ติดตามตรวจสอบผลกระทบ (Monitoring) และการจัดทำรายงาน
    - ด้านสุขภาพ
รศ.นพ.วิจิตร ฟุ้งลัดดา
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.30 น. Group work เตรียมการนำเสนองาน
วันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2554
09.00 - 12.00 น. การนำเสนองาน (EHIA public review presentation)
13.00 - 15.00 น. ปัญหาและประสบการณ์ของการทำ EHIA (สำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เจ้าของโครงการ บริษัทที่ปรึกษา ผู้ทำการประเมินผลกระทบ องค์กรเอกชน ผู้นำชุมชน) ดร.ภัทรทิพา ศันสยะวิชัย
คุณสมชัย กลิ่นสุวรรณมาลี
คุณมีนา พิทยโสภณกิจ
คุณอิทธิ แจ่มแจ้ง
ผู้ดำเนินรายการ
รศ.นพ.วิจิตร ฟุ้งลัดดา
15.30 น. พิธีปิดการฝึกอบรม
 
งบประมาณ
  งบประมาณค่าลงทะเบียน จากผู้เข้ารับการฝึกอบรมคนละ 15,000 บาท ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกค่าลงทะเบียน และค่าใช้จ่ายจากต้นสังกัดได้เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว
 
การชำระค่าฝึกอบรม
  1. โอนเงินผ่านธนาคาร
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขา รพ.ราชวิถี ประเภทออมทรัพย์
ชื่อบัญชี  “คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล (การฝึกอบรม)
เลขที่บัญชี  051-2-52402-9
หลังจากโอนเงินแล้วกรุณาส่ง FAX ใบ PAY-IN พร้อมระบุชื่อผู้สมัคร สาขาธนาคารที่ท่านทำการโอนเงิน พร้อมรายละเอียดที่จะให้ออกใบเสร็จ ส่งไปยังโทรสาร 0 2306 9179
     
  2. ชำระเงินค่าลงทะเบียนด้วยตนเอง ที่ งานคลัง ชั้น 5 อาคารฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน  มหาวิทยาลัยมหิดล 420/6 ถนนราชวิถี ราชเทวี กรุงเทพฯ
 
บุคคลและสถานที่ติดต่อ
  ผศ.สุวลีย์ วรคุณพิเศษ หรือ นางสุพิชฌาย์ ศาสตร์สมัย
ภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
420/6 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์   0 2354 9100-19  ต่อ 1560, 1564
โทรสาร     0 2306 9179
   
  Share  
 
   
  ปรับปรุงล่าสุด 7 กรกฎาคม 2554
   
 
MU Home | TropMed Home | Web Mail | Intranet TM | Site Map | Web Link | Contact us
   
Copyright © 2008 Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University. All rights reserved.
Webmaster : tmwww@mahidol.ac.th