โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียและลิชมาเนียที่พบในตัวอย่างส่งตรวจ”
September 16, 2021
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียและลิชมาเนียที่พบในตัวอย่างส่งตรวจ” วันที่ 28 – 29 กรกฎาคม 2559 และ วันที่ 4 – 5 สิงหาคม 2559)
September 16, 2021
training /workshop

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “มาตรฐานการเก็บตัวอย่าง ทักษะการตรวจวินิจฉัยและแนวโน้มการติดเชื้อพยาธิลำไส้ในปัจจุบัน” รุ่นที่ 1 วันที่ 17 - 18 มีนาคม 2559 รุ่นที่ 2 วันที่ 24 - 25 มีนาคม 2559

หลักการและเหตุผล 

       เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าพยาธิลำไส้ ทั้งเชื้อพยาธิโปรโตซัว และปรสิตหนอนพยาธิ มีความสำคัญทางการแพทย์และมีผลต่อสุขภาพของคนเรา  โดยสามารถก่อให้เกิดโรคต่างๆ ทั้งในบุคคลที่มีภูมิคุ้มกันปกติ และมีอาการรุนแรงมากขึ้นในบุคคลที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ตัวอย่างเช่นเชื้อพยาธิที่ฉวยโอกาสในกลุ่มผู้ป่วยเอดส์

       ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยและการจำแนกพยาธิลำไส้ ทั้งเชื้อพยาธิโปรโตซัว และปรสิตหนอนพยาธิทางห้องปฏิบัติการได้ถูกต้องและแม่นยำ จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งเพราะจะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ    โดยเฉพาะเชื้อฉวยโอกาสซึ่งพบได้ไม่บ่อยในผู้ป่วยทั่วไป   จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการตรวจวินิจฉัย  ซึ่งความรู้เหล่านี้ยังไม่แพร่หลาย   ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องควรได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการตรวจหาเชื้อพยาธิเหล่านี้  เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน   นอกจากนี้วิธีการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามมาตรฐานก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ที่มีผลต่อการตรวจพบเชื้อพยาธิลำไส้เช่นกัน

     การอบรมในครั้งนี้จะได้ทราบถึงแนวโน้มของการติดเชื้อดังกล่าวทั่วโลก ว่าจะเป็นอย่างไรในภาวะปัจจุบันและเรียนรู้วิธีที่ทันสมัย เช่น การย้อมสีพิเศษและวิธีทางอณูชีววิทยา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทย   ซึ่งจะเป็นผลโดยตรงต่อสังคมไทยโดยรวม

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม   

  • ได้รับทราบแนวโน้มของการติดเชื้อพยาธิลำไส้ทั่วโลกในปัจจุบัน
  • ทราบวิธีการมาตรฐานในการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ
  • ได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพยาธิลำไส้ทั้งเชื้อพยาธิโปรโตซัว และปรสิตหนอนพยาธิ ที่พบในผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์
  • ทราบถึงวิธีการตรวจวินิจฉัยทั้งวิธีปกติและวิธีพิเศษเพื่อตรวจหาพยาธิลำไส้ชนิดต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ 
  • ทราบถึงวิธีการวินิจฉัยพยาธิลำไส้โดยวิธีทางอณูชีววิทยา
  • มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการตรวจหาพยาธิลำไส้ที่มีความสำคัญทางการแพทย์
  • ได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความมั่นใจในการวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิที่พบบ่อยๆ ในลำไส้

ระยะเวลาและสถานที่ 

   รุ่นที่ 1 วันที่ 17 – 18  มีนาคม พ.ศ. 2559  และรุ่นที่  2  วันที่ 24 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2559  ณ ห้องบรรยาย  ชั้น 3 อาคารจำลอง หะริณสุต คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มผู้เข้าฝึกอบรม

      ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ นักวิชาการ บุคลากรทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และผู้สนใจจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

สาระสำคัญของการอบรม
ประกอบด้วยการบรรยายและปฏิบัติ ในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้   

  1. การบรรยายเรื่อง Global Trends of intestinal parasitic infection
  2. การบรรยายเรื่อง พยาธิลำไส้ที่ก่อให้เกิดโรคและฉวยโอกาสในคน
  3. การบรรยายเรื่อง วิธีการเก็บอุจจาระที่ถูกต้องและให้ได้มาตรฐาน
  4. การฝึกปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยพยาธิลำไส้ ด้วยวิธี Direct   simple Smear 
  5. การฝึกปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยพยาธิลำไส้ด้วยตนเองจาก Unknown samples
  6. การบรรยายเรื่อง Classical to update Techniques for diagnosis of intestinal protozoa
  7. การบรรยายเรื่อง การเตรียมและเก็บสไลด์กึ่งถาวร
  8. การบรรยายเรื่อง การตรวจวินิจฉัยพยาธิลำไส้ฉวยโอกาสด้วยวิธีย้อมพิเศษ (Special methods)
  9. การฝึกปฏิบัติการตรวจวินิจฉัย Opportunistic protozoa ด้วยวิธีย้อมพิเศษ
  10. การบรรยาย เรื่อง การตรวจหาพยาธิโปรโตซัวโดยวิธี PCR และ Real – time PCR
  11. การบรรยาย เรื่องการตรวจวินิจฉัยเชื้อโปรโตซัวในลำไส้ด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา
  12. การบรรยาย เรื่องการตรวจวินิจฉัยเชื้อโปรโตซัวในลำไส้ด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา

จำนวนผู้เข้ารับการอบรม

การฝึกอบรมประกอบด้วย ภาคบรรยาย การแสดงสาธิต และภาคปฏิบัติ รุ่นละประมาณ 40 คน จำนวน 2 รุ่น   โดยเสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน คนละ 4,000 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทำให้บุคลากรทางห้องปฏิบัติการ และผู้สนใจได้รับความรู้เกี่ยวกับพยาธิลำไส้ชนิดต่างๆ ที่พบได้ในผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยโรคเอดส์ ทั้งในด้านรูปร่างลักษณะ วงจรชีวิต และการก่อให้เกิดโรค
  2. ทำให้บุคลากรทางห้องปฏิบัติการ และผู้สนใจได้รับความรู้พื้นฐานและหลักการในการตรวจวินิจฉัยพยาธิลำไส้โดยวิธีปกติและวิธีใหม่ เช่น การตรวจโดยวิธีทางอณูชีววิทยา
  3. ทำให้บุคลากรทางห้องปฏิบัติการ และผู้สนใจสามารถตรวจหาพยาธิลำไส้ชนิดต่างๆ ที่พบได้ในผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยโรคเอดส์ ด้วยความถูกต้องและแม่นยำ 
  4. เป็นการกระตุ้นให้บุคลากรทางห้องปฏิบัติการ มีความสนใจ และมองเห็นความสำคัญของพยาธิลำไส้ที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยโรคเอดส์
  5. เป็นประโยชน์ต่อการเรียน การสอน การวิจัย และงานในห้องปฏิบัติการ โดยนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม
  6. เพื่อให้บุคลากรทางห้องปฏิบัติการได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เพิ่มพูนความรู้เพื่อประโยชน์ต่อการตรวจวินิจฉัย 

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ภาควิชาพยาธิโปรโตซัว คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล 420/6 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร . 02-354-9100 -04 ต่อ1830 , 02-306-9182, 0 2-306-9183 โทรสาร 02- 643-5601,Facebook : Protozoaworkshop และ www.tm.mahidol.ac.th/protozoology

E-mail : hattaya.inc@mahidol.ac.th

PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com