:: หลักการและเหตุผล
:: วัตถุประสงค์
:: ระยะเวลาการรับสมัคร
:: ระยะเวลาและสถานที่
:: กลุ่มผู้เข้าฝึกอบรม
:: สาระสำคัญของการอบรม
:: วิทยากร
:: จำนวนผู้เข้ารับการอบรม
:: ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
:: หน่วยงานที่รับผิดชอบ
:: ดาวน์โหลดแผ่นพับ
:: ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
 
หลักการและเหตุผล
  การตรวจวิเคราะห์แบคทีเรียก่อโรคเขตร้อนในตัวอย่างตรวจต่างๆ อาทิ เช่น ตัวอย่างตรวจจากคนไข้ อาหารและน้ำจากสภาพแวดล้อม ตามห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาโดยทั่วๆ ไปยังคงใช้วิธีการเพาะเชื้อ ซึ่งกว่าจะรู้ผล มักใช้เวลาอย่างน้อย ๓ วันขึ้นไป ซึ่งในกรณีตัวอย่างตรวจมาจากคนไข้ ผลการตรวจวิเคราะห์ไม่ทันต่อการใช้พิจารณาประกอบการรักษา แพทย์จึงมักต้องคาดเดาการให้การรักษาไปล่วงหน้าจากผลที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ นอกจากนี้การตรวจวิเคราะห์ควรดำเนินการโดยผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ จนมีความเชี่ยวชาญที่จะเลือกโคโลนีของเชื้อที่น่าจะเป็นตัวก่อโรคจากเชื้อปนเปื้อนจำนวนมาก เพื่อไปทดสอบสมบัติทางชีวเคมีได้อย่างถูกต้องต่อไป ซึ่งการฝึกอบรมจนผู้ปฏิบัติงานมีความเชี่ยวชาญต้องใช้เวลานาน ยิ่งไปกว่านั้นหากในตัวอย่างตรวจมีเชื้อในปริมาณน้อยมากๆ อาจมีโอกาสเกิดความผิดพลาดในการตรวจไม่พบเชื้อ ทำให้รายงานผลผิดพลาด ก่อให้เกิดผลเสียกับคนไข้ เนื่องจากการละเลยต่อการรักษา และการตรวจวิเคราะห์โดยการเพาะเชื้อนี้มีขั้นตอนมาก แต่ละขั้นตอนมีของเสียจากการเพาะเชื้อในอาหารเลี้ยงเชื้อเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ปัจจุบันเทคโนโลยีทางชีววิทยาระดับโมเลกุลมีการพัฒนาไปอย่างกว้างขวาง โดยทั่วๆ ไป แต่ละวิธีการตรวจใช้เวลาน้อยกว่าการตรวจโดยการเพาะเชื้อ เนื่องจากไม่ต้องรอการเพิ่มจำนวนของเชื้อโดยการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ หากแต่เป็นการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม ซึ่งสามารถเร่งได้ด้วยปฏิกิริยาเคมี การใช้เทคโนโลยีในวิทยาการที่ทันสมัยนอกจากจะได้ผลการตรวจวิเคราะห์เร็ว ผู้ปฏิบัติงานยังได้รับความปลอดภัยจากการติดเชื้อในระหว่างการปฏิบัติงานมากกว่าวิธีการเพาะเชื้อ เนื่องจากไม่ต้องทำงานกับเชื้อมีชีวิตในปริมาณมากๆ

ด้วยนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ต้องการเป็นปัญญาของแผ่นดิน และสนับสนุนการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน ภาควิชาจุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้พิจารณาดำเนินการจัดทำโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลให้กับผู้สนใจ เพื่อนำไปพัฒนา การตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลชีพในตัวอย่างตรวจต่างๆ ต่อไป
 
วัตถุประสงค์
  เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการอบรม มีความรู้พื้นฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล และความสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการตรวจวิเคราะห์เชื้อแบคทีเรีย การดื้อยาของเชื้อ การจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อจากการวิเคราะห์ลำดับเบสที่แตกต่างในสายดีเอนเอ ด้วยเทคโนโลยีและ software ที่ทันสมัย
 
ระยะเวลาการรับสมัคร
  รับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึง 20 เมษายน 2555 พร้อมกรุณาส่งใบสมัคร => Download แบบฟอร์มการลงทะเบียน
ค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการอบรมสามารถเบิกได้ตามสิทธิ และไม่ถือเป็นวันลา
ค่าลงทะเทียน 4,500 บาท พร้อมเอกสารการอบรม อาหารกลางวัน และอาหารว่าง
รับจำนวน 30 ท่าน
 
ระยะเวลาดำเนินการและสถานที่
  วันที่ ๒ - ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์นายแพทย์สวณัฐ ชั้น ๑๐ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ๕๐ ปี
ภาควิชาจุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
 
กลุ่มผู้เข้าฝึกอบรม
  ผู้เข้าอบรมควรมีพื้นฐานความรู้หรือทักษะการทำงานด้านจุลชีววิทยา หรือชีววิทยาระดับโมเลกุล ข้าราชการ, พนักงานมหาวิทยาลัย และพนักงานรัฐวิสาหกิจ และผู้สนใจจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
 
สาระสำคัญของการอบรม
  ประกอบด้วยการบรรยายและปฏิบัติ ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
Laboratory Approaches to Clinical Bacteriology
Primer design
DNA preparation and quantitation / DNA extraction
Applications of non-culture based techniques for diagnosis
Conventional PCR Multiplex PCR
Real-time PCR
LAMP
Database retrieving for clinical bacteriology
Microarray
Molecular typing
Phylogenetic tree
Next-generation sequencing for bacterial identification
 
วิทยากร
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุวดี มหาคุณกิจเจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธารีรัตน์ กะลัมพะเหติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นริศรา จันทราทิตย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิตยา อินทราวัฒนา
อาจารย์จินตนา ภัทรโพธิกุล
อาจารย์เพียงจันทร์ สนธยานนท์
อาจารย์พรสวรรค์ เหลืองวุฒิวงษ์
อาจารย์มุทิตา วนาภรณ์
อาจารย์พรพรรณ ภูมิรัตน์
อาจารย์ณฐมน เงาสุวรรณกุล
 
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม
  การฝึกอบรมประกอบด้วย ภาคบรรยาย การแสดงสาธิต และภาคปฏิบัติ จำนวน ๓๐ คน โดยเสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน คนละ ๔,๕๐๐ บาท
 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จะเสริมสร้าง และเติมเต็มศักยภาพและทักษะให้กับบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา หรือชีววิทยาระดับโมเลกุล อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างตรวจทั้งจากคนไข้ และสิ่งแวดล้อม การศึกษาระบาดวิทยาระดับโมเลกุล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อก่อโรคต่างๆ
 
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
  ภาควิชาจุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ ๐๒-๓๐๖-๙๑๗๒
โทรสาร ๐-๒๖๔๓-๕๕๘๓
   
  ปรับปรุงล่าสุด 6 มีนาคม 2555
   
 
Copyright © 2008 Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University. All rights reserved.
Webmaster : tmwww@mahidol.ac.th