หลักการและเหตุผล
คุณสมบัติของผู้อบรม
ระยะเวลาและสถานที่จัดอบรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ค่าลงทะเบียน
ตารางการอบรม
วิธีการชำระเงิน
สถานที่ติดต่อ
แบบฟอร์มการลงทะเบียน
 
 
 

โครงการอบรม

เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ระดับ 1

Data Analysis in Health Science Research Level 1
   
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาสุขวิทยาเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
 
หลักการและเหตุผล
การดำเนินโครงการวิจัยด้านใดๆ ก็ตาม จำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้ทางสถิติเพื่อใช้ในการวิเคราะห์จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย เพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพ และผลงานวิจัยนั้นสามารถนำไปแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์นั้น มีทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ จำเป็นต้องมีการเลือกใช้สถิติที่ถูกต้องเหมาะสม ภาควิชาสุขวิทยาเขตร้อนเห็นสมควรที่จะเผยแพร่ความรู้ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้พื้นฐานด้านงานวิจัย รูปแบบงานวิจัย และการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิจัย โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS, EpiInfo, PS ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในโครงการวิจัยได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรับความรู้พื้นฐานด้านงานวิจัย รูปแบบงานวิจัย และการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิจัย โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS, EpiInfo, PS ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในโครงการวิจัยได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
คุณสมบัติของผู้อบรม
เป็นบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ผู้เข้าอบรมต้องมีพื้นฐานในการทำวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ได้
ระยะเวลา
ระหว่างวันที่ 2 - 6 สิงหาคม 2553 เวลา 09.00 - 17.00 น.
 
สถานที่จัดอบรม
ชั้น 9 ภาควิชาสุขวิทยาเขตร้อน อาคารตระหนักจิต หะริณสุต
 
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม
จำนวน 30 คน
 
วิธีการดำเนินการอบรม
การอบรมจัดบรรยายเป็นภาษาไทยโดยวิธีผสมผสานระหว่างการอบรม การวิจารณ์ปัญหาร่วมกัน และการฝึกปฏิบัติการในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำการวิจัย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้าอบรมจะได้รับความรู้ทางการใช้สถิติวิเคราะห์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยทางการแพทย์และเพื่อวางแผนป้องกันโรคได้ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ รวมทั้งปัญหาต่างๆ ซึ่งกันและกันอีกด้วย
ค่าลงทะเบียน
ผู้เข้าอบรมทั่วไป คนละ 8,000 บาท
ผู้เข้าอบรมจากมหาวิทยาลัยมหิดล คนละ 7,200 บาท
สำหรับแพทย์จะได้รับ CME 35 credits
* ข้าราชการสามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธิจากต้นสังกัด และไม่ถือเป็นวันลา เมื่อได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว
ตารางการอบรม

วันที่

เวลา

หัวข้อ

2 ส.ค. 2553
09.00 - 12.00
รูปแบบงานวิจัยทางด้านระบาดวิทยาและคลินิก (Study Design)
13.00 - 17.00
การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample size estimation)
3 ส.ค. 2553

 

09.00 - 12.00
สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics)
13.00 - 17.00
การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม 1 (Hypothesis testing - Continuous outcome)
4 ส.ค. 2553

 

09.00 - 12.00
การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม 2 (Hypothesis testing - Categorical outcome)
13.00 - 17.00
การคำนวณความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Correlation and Association)
5 ส.ค. 2553

 

09.00 - 12.00
การวิเคราะห์แบบสมการเส้นตรง (Linear regression) - Continuous outcome
13.00 - 17.00
การวิเคราะห์แบบสมการโลจิสติก (Logistic regression) - Categorical outcome
6 ส.ค. 2553

 

09.00 - 12.00
การวิเคราะห์ข้อมูลด้านระยะเวลา (Survival analysis - time to event)
13.00 - 17.00
การวิเคราะห์แบบสมการด้านระยะเวลา (Cox’s regression - time to event outcome)
วิธีการชำระเงิน
โอนเงินผ่าน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา ร.พ.ราชวิถี
ชื่อบัญชี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล (การฝึกอบรม)
บัญชีเลขที่ 051-252402-9
 
ชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 24 กรกฏาคม 2553
กรุณาส่งใบสมัคร พร้อมสำเนาใบโอนเงิน ระบุ ชื่อ-นามสกุลผู้สมัคร
มาทางโทรสาร 0 2644 4436
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
คุณกมรวรรณ ใจภักดี
เบอร์โทรศัพท์ 0 2306 9188 ต่อ 110 หรือ 0 2644 7483
e-mail : tmkcp@mahidol.ac.th
 
ปรับปรุงล่าสุด 14 มิถุนายน 2553