หน้าแรก

โรคเห็บ

โรคเหา

โรคหิด

โรคไข้สมองอักเสบเจอ

โรคฉี่หน

โรคปอดบวม

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้ไรอ่อน

โรคไข้ดิน

โรคชิคุนกุนยา

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคพยาธิปากขอ

โรควัณโรค

โรคพยาธิหอยโข่ง

โรคพยาธิเข็มหมุด

โรคพยาธิใบไม้ตับ

โรคหนอนพยาธิ

โรคพยาธิตัวจี๊ด

โรคพยาธิตัวตืด

โรคพยาธิตัวบวม

โรคมาลาเรีย

โรคหน่อไม้ปี๊บ

โรคอะมีบากินสมอง

โรคอุจจาระร่วง

 

     คุณชาติชายอาชีพไกด์นำเที่ยว พาฝรั่งมาหาหมอที่โรงพยาบาล เพราะ คุณชาติชายจะพาฝรั่งไปเที่ยวป่าและน้ำตกแถวกาญจนบุรี แต่ฝรั่งบอกว่า เมืองไทยมีมาลาเรีย (หรือสมัยก่อนเราเรียกว่าไข้ป่า) ชุกชุม ขอให้คุณ ชาติชายพามาปรึกษาหมอเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม และขอยาป้องกันโรคนี้ ซึ่งคำถามของคุณชาติชายและฝรั่งน่าสนใจ และคนทั่วไปน่าจะรู้เช่นกัน
 
 
  ชาติชาย : เมืองไทยยังมีมาลาเรียอยู่หรือครับ เคยได้ยินตอนเด็กๆ แต่นานแล้วที่ ไม่ได้ยินว่ามีคนเป็นโรคนี้  
     
  หมอ : มาลาเรียยังเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลก มีคนตายปีละไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน แต่ส่วนใหญ่พบในประเทศแถบแอฟริกา ในเมืองไทยยังมีอยู่บ้าง มักพบตามจังหวัด ชายแดน เช่น ตาก ระนอง ยะลา แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี จันทบุรี แต่จะไม่พบใน ตัวเมือง จะพบเฉพาะในบริเวณที่เป็นป่าเขาค่ะ  
     
  ชาติชาย : มาลาเรียเกิดจากอะไรครับ  
     
  หมอ : มาลาเรียเกิดจากเชื้อโรคโปโตซัว มีชื่อว่า "พลาสโมเดียม"ในเมืองไทยเจอ หลายชนิด แต่ที่สำคัญมีอยู่ 2 ชนิด คือ  
   
 
    1. ชนิดรุนแรง ชื่อ พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม เรียกย่อๆ ว่า พี-เอฟ จะมีอาการ หนักถึงขั้นหมดสติ และถ้าไม่ได้รักษา อาจตายในเวลาอันรวดเร็ว

  2. ชนิดเรื้อรัง ชื่อ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ เรียกย่อๆ ว่า พี-วี อาการไม่ค่อย รุนแรงถึงตาย แต่ถ้ารักษาไม่ถูกต้อง เชื้อจะอยู่ในร่างกายถึง 2 ปี หรือนานกว่านี้ ทำให้มีอาการเป็นๆ หายๆ

                 
          
เชื้อมาลาเรียในเลือด เห็นเป็นวงแหวน มีหัวแหวนสีแดงน้ำเงิน


     โรคนี้ติดต่อสู่คนโดยยุ่งก้นปล่อง เมื่อยุงก้นปล่องกัดและดูดเลือดคนที่มีเชื้อนี้อยู่ เชื้อจะเพิ่มจำนวนในยุง และติดต่อสู่คนอื่นที่มันกัดได้ค่ะ
 
   
 
  ชาติชาย : ทำไมพบมาลาเรียเฉพาะในป่าเขา ไม่พบในเมืองครับ  
     
  หมอ : เพราะยุงก้นปล่องจะอาศัยอยู่ในป่าเขา และบริเวณชายแดนยังมีคนที่เป็นโรค นี้อยู่ ทำให้ติดต่อผ่านยุงมาสู่คนอื่นๆ ได้ค่ะ  
     
 
 
     
  ชาติชาย : แล้วโรคนี้รักษายากไหมครับ  
     
  หมอ : ไม่ยากค่ะ แต่ต้องฉีดยาหรือกินยาตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัดเพราะปัจจุบัน
มีเชื้อดื้อยามากขึ้น ถ้ารักษาไม่ครบอาจทำให้ไม่หายขาดและยังทำให้เชื้อดื้อยามากขึ้น
 
     
  ชาติชาย : เห็นฝรั่งบอกว่ามียาป้องกันโรคได้หรือครับ  
     
  หมอ : เราควรป้องกันมาลาเรียเมื่อเดินทางไปในบริเวณที่เป็นป่าเขาที่ยังมีโรคนี้อยู่ แต่ปัจจุบันในเมืองไทยไม่แนะนำให้กินยาป้องกันมาลาเรีย เพราะมาลาเรียใน เมืองไทยค่อนข้างน้อย พบการระบาดเฉพาะในบางฤดูเท่านั้น นอกจากนี้ยังไม่มียา ขนานใดที่ป้องกันโรคได้ 100% จึงแนะนำให้ป้องกันด้วยวิธีอื่น เช่น
     • สวมเสื้อผ้ามิดชิด
     • ทายากันยุง
     • นอนในมุ้ง
     • ใช้ยาฉีดพ่น หรือจุดยากันยุง
 
 



ทั้งนี้ยกเว้นบางคนที่อาจจำเป็นต้องกินยาป้องกัน เช่น นักท่องเที่ยวหรือคนที่ภูมิ คุ้มกันผิดปกติ ควรปรึกษาหมอเป็นรายๆ ไป
 
     
  ชาติชาย : ที่คุณหมอบอกนี่ ถ้าทำตามแล้วจะไม่เป็นมาลาเรียแน่ๆ  
     
  หมอ : การป้องกันไม่มีวิธีไหนที่ได้ผล 100% ดังนั้น ถ้าเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มี มาลาเรียแล้วสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ ควรจะรีบไปตรวจหาเชื้อมาลาเรียทันทีตาม โรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เจ้าหน้าที่จะเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว แค่เล็กน้อย เพื่อไปตรวจหาเชื้อโดยย้อมสีแล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์  
     
  ชาติชาย : แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่จะสงสัยว่าเป็นมาลาเรียครับ  
     
  หมอ : อาการของมาลาเรีย แรกๆ จะมีอาการเหมือนเป็นหวัด ประมาณ 2-3 วัน แล้วก็จะเข้าสู่ช่วงจับไข้ ซึ่งช่วงจับไข้จะมี 3 ระยะ คือ  
     
    1. ระยะหนาว - จะรู้สึกหนาวสั่น ปากซีด ใจสั่น ตัวเย็น ห่มผ้าก็ไม่หาย พอ 1-2 ชั่วโมงต่อมาก็จะเข้าสู่ระยะร้อน

  2. ระยะร้อน - จะมีไข้สูง หน้าแดง กระหายน้ำ ประมาณ 1-4 ชั่วโมง ก็จะเข้า สู่ระยะเหงื่อ

  3. ระยะเหงื่อ - หลังจากหนาวๆ ร้อนๆ ก็จะเริ่มมีเหงื่อออก เพลีย แล้วก็จะหายจน เหมือนคนปกติ หลังจากนั้น 2-3 วัน ก็จะมีอาการทั้ง 3 อีกครั้ง สลับกันไปเรื่อยๆ


     แต่ปัจจุบันคนไข้หลายคนมีแต่ไข้ โดยไม่มีอาการที่แบ่งเป็น 3 ระยะชัดเจน และ หากโชคร้ายเป็นพี-เอฟ อาจมีอาการรุนแรงอย่างรวดเร็ว อาจซึม ชัก หอบ และตายได้ ดังนั้นคนที่เดินทางเข้าไปในถิ่นที่มีมาลาเรียแล้วมีไข้ ควรหาหมอเพื่อตรวจหาเชื้อ มาลาเรียทุกครั้ง อย่างน้อยในช่วง 2 เดือนแรกหลังออกจากถิ่นที่มีมาลาเรีย