หน้าแรก

โรคเห็บ

โรคเหา

โรคหิด

โรคไข้สมองอักเสบเจอ

โรคฉี่หน

โรคปอดบวม

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้ไรอ่อน

โรคไข้ดิน

โรคชิคุนกุนยา

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคพยาธิปากขอ

โรควัณโรค

โรคพยาธิหอยโข่ง

โรคพยาธิเข็มหมุด

โรคพยาธิใบไม้ตับ

โรคหนอนพยาธ

โรคพยาธิตัวจี๊ด

โรคพยาธิตัวตืด

โรคพยาธิตัวบวม

โรคมาลาเรีย

โรคหน่อไม้ปี๊บ

โรคอะมีบากินสมอง

โรคอุจจาระร่วง

 

 
  ผู้ป่วยเด็กชายอายุ 10 เดือน มาด้วยอาการคันเป็นตุ่มแดงหลายตุ่ม ตามรักแร้ 2 ข้าง มีตุ่มใส คันตามง่ามนิ้วมือ ฝ่ามือ (ภาพที่ 1) ตุ่มนูนที่ อวัยวะเพศมาประมาณ 2 สัปดาห์ (ภาพที่ 2) คุณยายที่เป็นผู้เลี้ยงเด็ก มีอาการคัน เช่นกัน โดยคันตามซอกพับ โดยเฉพาะง่ามนิ้วมือ คันมากเวลา กลางคืนและมีตุ่มคันทั่วๆไปตามตัว แขน ขา ได้ให้การรักษาเด็ก และผู้เลี้ยง ด้วยยารักษาหิด อาการผู้ป่วยดีขึ้น อาการคันและผื่นหายไปใน 1 เดือน  
 
 
 

>> เรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับตัวหิด

หิดเป็นโรคที่เกิดจากสัตว์ขาปล้องประเภทไรชื่อ ซาร์คอบติส สเคบิอาย (Sarcoptes scabiei) (ภาพที่ 3) ตัวหิดมี 8 ขา สีน้ำตาล มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นอาการของโรคหิดเกิดจากการที่หิดตัวเมียขุดหลุมเพื่อวางไข่ใต้ผิวหนังตัวอ่อนออกจากไข่หลังจากนั้น 2-3 วัน ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงโตเต็มที่หลังผสมพันธุ์หิดตัวผู้ตายไปแต่หิดตัวเมียจะขุดหลุมใต้ผิวหนังเพื่อวางไข่ต่อไปเป็นวงจรชีวิตของหิดผู้ป่วยที่เป็นหิดจะมีหิดอยู่ประมาณ 5-15 ตัวในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ยกเว้นผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เป็นโรคเอดส์ อาจมีหิดเป็นล้านๆ ตัวอยู่บนผิวหนัง

 
 
 
  >> หิดแพร่กระจายอย่างไร
 
    หิดกระจายจากผู้หนึ่งไปอีกผู้หนึ่งทางการสัมผัสใกล้ชิด โดยมากอาการคันซึ่งเป็น ปฏิกิริยาของร่างกายต่อตัวหิดจะเกิดหลังมีตัวหิดประมาณ 1 เดือน แต่ถ้าผู้ป่วยเคย เป็นหิดมาก่อนอาการคันจะเกิดขึ้นเร็วภายในไม่กี่วัน เนื่องจากตัวหิดสามารถอยู่ใน สิ่งแวดล้อมได้ 2-3 วัน จึงมีโอกาสเล็กน้อยที่เราจะติดหิดจากการใช้เสื้อผ้าหรือของใช้ ร่วมกันหรือนอนเตียงเดียวกัน



>> อาการของโรคหิด
 
    อาการที่สำคัญคือคันทั้งตัวมากโดยเฉพาะเวลากลางคืน ผื่นเป็นตุ่มแดงหรือ ตุ่มน้ำใสเล็กๆ บริเวณง่ามนิ้ว (ภาพที่ 4) ซอกพับต่างๆ เช่น รักแร้ ขาหนีบ ง่ามก้น ฯลฯ รอบสะดือ อวัยวะเพศชาย หัวนม ศอก เข่า ในเด็กจะพบผื่นมากกว่าผู้ใหญ่ ถ้ามีอาการเกามากๆ อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ บางคนอาจเห็นรอยขุดเป็น อุโมงค์ลงใต้ผิวหนังซึ่งพบได้ไม่บ่อย


>> คันจัง นี่เราเป็นหิดหรือเปล่านะ
 
    โรคหิดวินิจฉัยจากประวัติคันมากทั่วร่างกาย โดยเฉพาะเวลากลางคืนประวัติผู้ ใกล้ชิดมีอาการแบบเดียวกันและตรวจร่างกายมีรอยโรคดังที่กล่าวมาแล้ว การพิสูจน์ ทางห้องปฏิบัติการทำได้โดยขูดผิวหนังบริเวณที่มีผื่นบริเวณที่สงสัยว่าเป็นอุโมงค์ที่หิด ขุดไปวางไข่แล้วไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ แต่อาจไม่พบร่องรอยของหิดเสมอไป บางครั้งหมออาจให้การรักษาโดยไม่จำเป็นต้องพบตัวหิด

>> ทำอย่างไรถึงจะหายจากโรคหิด
 
    ต้องทำการรักษาคนที่เป็นหิดด้วยยาฆ่าหิด อาจต้องรักษาคนใกล้ชิด ทำความ สะอาดข้าวของเครื่องใช้
มิฉะนั้นหิดจะไม่หายขาดเพราะติดหิดจากคนรอบข้างหรือ จากของใช้ประจำตัวมาอีก

>> การกำจัดหิด
 
    ใช้ยาฆ่าหิด เช่น ยาเพอร์มีธริน ยาเบนซิลเบนโซเอต ยาแกมม่าเบนซินเฮ๊กซา คลอไรด์ โดยทาทั่วตัวตั้งแต่คอลงมารวมถึงแขนขาบริเวณซอกพับต่างๆ ทิ้งไว้ตาม เวลาที่เหมาะสมของยาแต่ละตัว คือ 8-24 ชั่วโมงแล้วล้างออก ใช้ยาฆ่าหิดซ้ำอีกครั้ง ใน 1 สัปดาห์ถัดไปเพื่อฆ่าหิดรุ่นใหม่ที่เพิ่งออกมาจากไข่ ในคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ การรักษาด้วยยาทาอย่างเดียวใช้ไม่ได้ผล กำจัดตัวหิดไม่หมด ต้องกินยาฆ่าหิดซึ่งต้องให้แพทย์สั่งเท่านั้น

>> การรักษาอาการคัน

 
ผื่นคันจากโรคหิดเกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อตัวหิด ดังนั้นอาการนี้อาจ อยู่อีกหลายสัปดาห์ถึงแม้ว่ากำจัดหิดหมดแล้ว ในกรณีที่มีผื่นมากหรือคันมากการใช้ยา ในกลุ่มสเตียรอยด์ทาลดการอักเสบ จะลดอาการคันลงได้ อาจให้กินยาแก้แพ้คันพวก แอนตี้ฮีสตามีน ทำให้อาการคันน้อยลงและนอนหลับดีขึ้น ถ้าเกามากๆ อาจเกิดการ เชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผิวหนังทำให้ผื่นไม่หาย เมื่อมีการติดเชื้อแทรกซ้อนอาจต้อง กินยาฆ่าเชื้อโรคร่วมด้วย

>> การรักษาอาการคนในครอบครัว
 
    คนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดผู้ป่วยอาจต้องใช้ยากำจัดหิดไปพร้อมๆ กันแม้จะ ไม่มีอาการ เพื่อป้องกันการแพร่ของหิดจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง


>> การกำจัดหิดตามของใช้ส่วนตัว
 
    ของใช้ส่วนตัวที่ใช้ภายใน 2-3 วันก่อนรักษา อาจมีหิดอาศัยอยู่ เนื่องจากหิด สามารถอยู่ภายนอกตัวคนได้ไม่เกิด 3 วัน ดังนั้นในวันที่ทำการฆ่าหิดตามตัวควรนำ เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน มาต้มในน้ำร้อน (อุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาสเซลเซียส) ของใช้ที่ ไม่สามารถซักได้ อาจใช้ยาฆ่าแมลงพ่นหรือโรยให้ทั่วหรือเอาของใช้เหล่านั้นใส่ ถุงพลาสติกปิดแน่นไม่ให้มีอากาศเข้าไปทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน หิดก็จะตายหมด

>> การป้องกันโรคหิด
 
    หิดกระจายจากผู้หนึ่งไปอีกผู้หนึ่งทางการสัมผัสใกล้ชิด โดยมากอาการคันซึ่งเป็น ปฏิกิริยาของร่างกายต่อตัวหิดจะเกิดหลังมีตัวหิดประมาณ 1 เดือน แต่ถ้าผู้ป่วยเคย เป็นหิดมาก่อนอาการคันจะเกิดขึ้นเร็วภายในไม่กี่วัน เนื่องจากตัวหิดสามารถอยู่ใน สิ่งแวดล้อมได้ 2-3 วัน จึงมีโอกาสเล็กน้อยที่เราจะติดหิดจากการใช้เสื้อผ้าหรือของใช้ ร่วมกันหรือนอนเตียงเดียวกัน
 
 

เม็ดผื่นคัน  ต้องระวัง  อาจเป็นหิด

เกายิ่งติด  ต่อง่าย  กระจายทั่ว

เชื้อแอบอยู่  ตามที่นอน  ของส่วนตัว

ไม่ต้องกลัว รีบหา  หมอโดยพลัน

ทั้งหิดเหา  เกามันส์  คันจนเจ็บ

อย่าลืมดู  แลเล็บ  ตัดให้สั้น

ผ้าเช็ดตัว  ปลอกหมอน  ซักทุกวัน

อย่าใช้ของ  ร่วมกัน  เพราะติด...ง่ายดาย