หน้าแรก

โรคเห็บ

โรคเหา

โรคหิด

โรคไข้สมองอักเสบเจอี

โรคฉี่หนู

โรคปอดบวม

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้ไรอ่อน

โรคไข้ดิน

โรคชิคุนกุนยา

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคพยาธิปากขอ

โรควัณโรค

โรคพยาธิหอยโข่ง

โรคพยาธิเข็มหมุด

โรคพยาธิใบไม้ตับ

โรคหนอนพยาธิ

โรคพยาธิตัวจี๊ด

โรคพยาธิตัวตืด

โรคพยาธิตัวบวม

โรคมาลาเรีย

โรคหน่อไม้ปี๊บ

โรคอะมีบากินสมอง

โรคอุจจาระร่วง

 

 
เหา เป็นแมลงที่อยู่มาแต่ยุคโบราณ "สมัยพระเจ้าเหา" หลายคนอาจเคย เป็นเหา เมื่อสมัยเด็กๆ บางคนอาจเคยเป็นหลายครั้งด้วยซ้ำ เจ้าตัวเล็กของหมอก็หนี เหาไม่พ้น เมื่อลูกอายุ 2 ปี วันนั้นลูกนอนหนุนตักแม่อยู่ ขณะลูบผมลูกก็เห็นแมลง ตัวเล็กๆ เดินอยู่บนหัวจึงจับออก สักพักก็เห็นตัวอื่นๆ อีกหลายตัวคลานยั้วเยี้ยไปหมด "ตายละลูกเป็นเหา" ต้องไปหาซื้อแชมพูมาสระ ต้องหาหวีมาสางไข่เหา ต้องนั่งหาเหา กันทั้งพ่อแม่ เมื่อลูกเข้าโรงเรียนอนุบาล วันหนึ่งลูกกลับมาเล่าให้ฟังว่า "วันนี้คุณครู ให้นอนแยกจากเพื่อนๆ เพราะเป็นเหา" เอาอีกแล้วเรา ดูที่ศรีษะลูก ไม่เห็นไข่เหา วันรุ่งขึ้นไปพบครูจึงรู้ว่าเพื่อนสนิทของลูกเป็นเหา ครูจึงจับเด็กกลุ่มนี้ นอนแยกออกมาก่อนไม่ให้ติดคนอื่น
คราวนี้ลูกเราไม่เป็น.....เฮ้อ เมื่อลูกอยู่ประถม 2 ลูกพี่ลูกน้องของลูกติดเหาจาก เพื่อนที่โรงเรียน ต้องหมักน้ำส้มสายชู สางผมกันอยู่หลายวัน ลูกกับพี่สนิทกันมาก เล่นด้วยกันทั้งวัน แม่ต้องสังเกตลูกอยู่หลายวันจนแน่ใจว่าลูกไม่มีเหา ลูกยังเป็นเด็ก อยู่ไม่รู้ว่าจะเอาเหามาฝากอีกกี่ครั้งจนกว่าจะโต
 


 
 

๐ เหาคืออะไร
 
     เหาเป็นแมลงสีออกเทาๆ ขนาดยาว 3-4 มิลลิเมตร กินขี้ไคลบนหนังศรีษะคน เป็นอาหาร เหาตัวเมียมีอายุประมาณ 1 เดือน จะไข่ที่โคลนผมประมาณ 7-10 ฟอง ต่อวัน ไข่จะเห็นเป็นตุ่มสีขาวติดแน่นอยู่กับผม หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ เหาออกไข่ ไข่ที่ไม่มีเหาแล้วจะยังคงติดแน่นอยู่กับผม เมื่อผมงอกยาวขึ้นไข่ก็จะเลื่อนตามไปด้วย

๐ เหาติดอย่างไร

     เหาไม่สามารถกระโดดหรือบินจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง แต่ติดต่อทางสัมผัส ใกล้ชิด เช่น เด็กที่เล่นใกล้ชิดกัน การใช้หมวก หวี หูฟัง ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน หรือนอน เตียงเดียวกัน

๐ รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเหา

    ผู้ป่วยส่วนมากไม่มีอาการผิดปกติ บางคนอาจมีอาการคันเพราะร่างกายเกิดการ ระคายเคืองต่อน้ำลายของเหา

๐ การหาเหาบนหัว

    ตัวเหาพบยากเพราะคลานหลบตามเส้นผมได้ แต่หาไข่เหานั้นพบได้ง่ายกว่า โดยการใช้ "หวีเสนียด" ซึ่งเป็นหวีซี่ถี่ๆ ควรหวีผมด้วยหวีทั่วไปก่อนเพื่อกำจัดสิ่ง สกปรก แล้วค่อยหวีด้วยหวีเสนียด หวีตั้งแต่โคนผมชิดหนังศรีษะจนถึงปลายผม ควรตรวจดูไข่เหาในคนที่รักษาด้วยยาฆ่ารักษาเหาแล้วไม่ได้แปลว่ายังเป็นเหาอยู่ เพราะไข่เหา อาจยังติดผมอยู่เป็นเดือนๆ ทั้งที่ไม่มีตัวแล้ว ควรหวีผมซ้ำอีกทุก 3-4 วันเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเหาแล้วจริงๆ

๐ การรักษาเหา

     วิธีกำจัดเหามีหลายแบบอาจใช้ครีม เจล หวี หรือยากิน ไม่ว่าจะใช้วิธีใด ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของการรักษาวิธีนั้นๆ อย่างเคร่งครัดในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ไม่ควรซื้อยาใช้เอง ควรปรึกษาแพทย์

1. ยาฆ่าแมลงทำพิเศษเพื่อฆ่าเหาบนศรีษะ มีทั้งในรูปครีม เจล หรือโลชั่น ห้ามซื้อ     ยาฆ่าแมลงตามท้องตลาดใส่เอง คนละชนิดกันใช้ไม่ได้นะคะ ทำตามคำแนะนำ     เอกสารกำกับยา ส่วนมากต้องสระผมให้สะอาดแล้วใส่ยาหมักไว้ 10 นาที     ล้างออก ยาบางชนิดอาจต้องทิ้งไว้ทั้งคืน ควรจะรักษาซ้ำอีกในสัปดาห์ถัดไป เพื่อ     ฆ่าเหาที่อาจหลงเหลืออยู่หรือเหาตัวอ่อนที่เพิ่งออกจากไข่

 2. การสางผม นิยมใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งอายุน้อยเกินกว่าจะใช้ยาฆ่าแมลง
    ได้ โดยทำให้ให้ผมเปียกและใช้สารหล่อลื่น เช่น ครีมนวดผม น้ำมันมะกอก
    สารส้ม ใช้หวีซี่ถี่ๆ หรือหวีเสนียดสางผม ตรวจดูทุกครั้งที่สางว่ายังมีเหาหรือ
    ไข่เหาหรือไม่ สางจนเหาไม่มี ทำซ้ำทุก 3-4 วัน จนครบ 2 สัปดาห์
    ต้องทำต่อถ้ายังพบตัวเหาอยู่

 3. ยากินฆ่าเหา ต้องสั่งโดยแพทย์ ใช้ในผู้ป่วยที่ดื้อต่อการรักษาวิธีอื่น

๐ ลดการแพร่ของเหาได้อย่างไร

    ผู้ใกล้ชิดควรได้รับการตรวจจากผู้ให้บริการสาธารณสุข (เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่อนามัย) เด็กที่เป็นเหาควรหยุดโรงเรียนจนกว่าจะได้รับการรักษา เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว เครื่องเรือน พรมของผู้ป่วยที่ใช้ภายใน 48 ชั่วโมงก่อนการ รักษาต้องได้รับการซักด้วยน้ำร้อนและอบด้วยความร้อน หรือแยกเอาไว้ 72 ชั่วโมง เนื่องจากเหาไม่สามารถอยู่นอกตัวคนได้นานเกิน 48 ชั่วโมง

 
 

 

ใครเป็นเหา  ใช่ว่าเขา  สกปรก

ภูมิไม่ตก  ก็เป็นได้  ถ้าใกล้เหา

เพราะติดง่าย  ต้องระวัง  ที่หมอนเรา

อย่ามัวแต่  นั่งเกา  รีบใช้ยา ...