หน้าแรก

โรคเห็บ

โรคเหา

โรคหิด

โรคไข้สมองอักเสบเจอ

โรคฉี่หน

โรคปอดบวม

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้ไรอ่อน

โรคไข้ดิน

โรคชิคุนกุนยา

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคพยาธิปากขอ

โรควัณโรค

โรคพยาธิหอยโข่ง

โรคพยาธิเข็มหมุด

โรคพยาธิใบไม้ตับ

โรคหนอนพยาธ

โรคพยาธิตัวจี๊ด

โรคพยาธิตัวตืด

โรคพยาธิตัวบวม

โรคมาลาเรีย

โรคหน่อไม้ปี๊บ

โรคอะมีบากินสมอง

โรคอุจจาระร่วง

 

ผู้ป่วยรายที่ 1
 
"คุณหมอครับ ผมไปเดินป่ามาเมื่อสัปดาห์ก่อน กลับมา 2-3 วัน อาบน้ำแล้วเจอ จุดดำๆที่ตัว ลองแกะดู เป็นตัวเห็บยังมีชีวิตอยู่เลย ผมถ่ายรูปมาให้ดูด้วย" พร้อมโชว์ ภาพเห็บจากกล้องดิจิตอลให้ดู "นี่ผมยังเป็นตุ่มคันมากเลยครับ" (ภาพที่ 1 และ ภาพที่ 2) "ผมจะหายไหมครับนี่" "ผมอ่านในเน็ต เห็บนำโรคได้ใช่ไหมครับหมอ"
 
 

  
              

ผู้ป่วยรายที่ 2
 
 กลับจากเที่ยวเขาใหญ่ มีอาการปวดท้ายทอยบริเวณไรผมอยู่ 1 สัปดาห์ ให้ญาติดู
พบตัวเห็บเกาะติดอยู่จึงดึงออก วันรุ่งขึ้นอาการปวดท้ายทอยก็หายไป แผลบริเวณ
เห็บกัดไม่กี่วันก็หาย ไม่มีรอยแผลเป็น 
 
 
 
 



 

 

 

 

 

 

 



 

ผู้ป่วยรายที่ 3
 
     มาพบหมอด้วยโรคตุ่มคันโตขึ้นเรื่อยๆ เป็นเรื้อรังมา 3 เดือน หลังถูกเห็บกัด (ภาพที่ 3) "ทำไมยังคันอยู่ล่ะคะหมอ เห็บก็ไม่มีแล้ว" หมอให้ยาทาแล้วนัดผู้ป่วยมา พบอีก 1 เดือน ตุ่มก็ยังอยู่ "คันจังเลยค่ะ ทายาเท่าไหร่ก็ไม่ยุบ ไม่เห็นหายเลย" หมอจึงฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในตุ่มคัน ผู้ป่วยมาฉีดยาทุก 4 สัปดาห์อยู่ 3 ครั้ง ตุ่มยุบหมด แต่ 6 เดือน ต่อมาผู้ป่วยกลับมาอีกพร้อมตุ่มคันใหญ่เหมือนเดิมหมอ ฉีดยาให้อีก 2 ครั้ง ตุ่มยุบลงจึงตัดบริเวณตรงกลางตุ่มออกไปส่งชิ้นเนื้อตรวจพบการ อักเสบเรื้อรังและมีส่วนของเห็บหลงเหลืออยู่หลังจากนั้นตุ่มค่อยๆ ยุบลงเรื่อยๆ แล้วหายไปในที่สุด
 
 


                 

 
 

>> เรื่อง (ไม่ลับ) ของเห็บ

    เห็บมีหลายชนิด บางชนิดเป็นพาหะนำโรคได้ เช่น โรคไทฟัส โรคไข้ กลับซ้ำ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น เห็บกินเลือดของสัตว์พวกสัตว์เลื้อยคลาน นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นอาหาร คนก็เป็นเหยื่อของเห็บด้วยเช่นกัน ส่วนมากเห็บที่ กัดคนมาจากสัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข หรือมาจากบริเวณพงหญ้าหรือพุ่มไม้ที่เห็บ หลบอยู่ เมื่อได้กลิ่นเหงื่อหรือความร้อนจากอุณหภูมิของร่างกาย เห็บจะกระโดดเกาะ คนแล้วคลานหาบริเวณที่ปลอดภัยเพื่อดูดเลือด เช่น บริเวณซอกพับ รักแร้ ไรผม มักกินเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง เห็บมีส่วนของปากที่งับบนผิวหนังคนเพื่อดูดเลือด เมื่ออิ่มเห็บจะคลายปากและหลุดไปเอง ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ถึง 7 วัน

>> ช่วยด้วย! เอาเห็บออกให้ที

    วิธีที่ดีที่สุดจะเอาเห็บออกจากผิวหนังคือ การใช้แหนบถอนขนคีบเห็บส่วนที่ใกล้ ผิวหนังมากที่สุดแล้วค่อยๆ ดึงออก ห้ามใช้บุหรี่จี้หรือใช้น้ำยาล้างเล็บ ขี้ผึ้ง สบู่เหลว สารพวกนี้จะทำให้เห็บระคายเคืองและปล่อยสารพิษเข้าไปในแผลที่มันกัดได้ ไม่บิด หรือกระชาก ไม่ควรบีบขยี้หรือเจาะตัวเห็บ เพราะจะทำให้ของเหลวจากตัวเห็บ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคถูกปล่อยออกมา หลังจากเอาเห็บออกแล้ว ควรล้างมือ และผิวหนัง บริเวณที่ถูกกัดด้วยสบู่ให้สะอาดถ้าเห็นส่วนของปากเห็บติดอยู่ที่ผิวหนังให้ ปล่อย เอาไว้ร่างกายจะพยายามกำจัดออกมาเอง อย่าพยายามแกะ แคะออกจะทำให้ผิวหนัง เป็นเป็นแผลติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้  

>> เกิดอะไรขึ้นหลังเห็บกัด

    คนที่โดนเห็บกัดมักจะไม่เจ็บ ไม่มีอาการ เนื่องจากเห็บปล่อยสารที่ทำให้ชา> และทำให้เลือดไม่แข็งตัว ส่วนใหญ่คนที่ถูกเห็บกัดจะสังเกตเห็นเห็บติดอยู่ที่ผิวหนัง ขณะอาบน้ำหรือเกา หลังเห็บหลุด (ทั้งหลุดเองเมื่อดูดเลือดอิ่มหรือจากการดึงออก) อาจเกิดปฏิกิริยาที่ผิวหนังเป็นตุ่มแดงคันบริเวณที่ถูกกัด ต่อมาตุ่มอาจใหญ่เป็นปื้น หรือก้อนนูนได้ ตุ่มพวกนี้แหละที่เป็นปัญหาให้มาพบหมอเพราะคันเหลือเกิน และเป็น ตุ่มอยู่นานหลายเดือนหรือเป็นปี

>> การรักษาตุ่มคันจากเห็บกัด

    ถ้าตุ่มอักเสบไม่มาก ใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ลดการอักเสบ ทาสม่ำเสมอ เช้าและ
เย็นผื่นก็จะดีขึ้น ถ้าอักเสบมาก เรื้อรัง ตุ่มใหญ่เป็นก้อนต้องใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์ เฉพาะที่ บางรายอาจต้องตัดตุ่มที่อักเสบออก เพราะมีการอักเสบเรื้อรังไม่หาย จากปฏิกิริยาของร่างกายต่อส่วนปากของเห็บที่ติดอยู่ในผิวหนัง

>> เห็บนำโรคไหม

    ในประเทศไทยไม่พบโรคที่มีเห็บเป็นพาหะ แต่ไรซึ่งมีลักษณะที่มองด้วยตาเปล่า อาจคล้ายเห็บ สามารถเป็นพาหะนำเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดโรคไข้รากสาดใหญ่หรือ สครับไทฟัส ไม่มียาสำหรับป้องกันการเกิดโรคหลังไรกัด ดังนั้นผู้ที่ถูกไรกัด ควรสังเกต ตัวเองว่าเป็นไข้หลังจากถูกไรกัดหรือไม่ โดยทั่วไประยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่ไรกัดจน ถึงไข้ขึ้น) ประมาณ 10-12 วัน

>> วิธีป้องกันเห็บกัด

    ง่ายมากค่ะ อย่าไปเดินในบริเวณที่รกๆ ถ้าจำเป็นต้องไป อาจใช้ยาทาป้อง กันแมลงทาบริเวณแขนขาก่อน เห็บก็จะไม่กล้ำกลายมาใกล้

 
 

 

ไปในป่า  ต้องระวัง  อาจโดนเห็บ

เป็นผื่นคัน  ไม่ค่อยเจ็บ  จึงทนไหว

ถ้าเห็นตัว  คีมคีบออก  จะปลอดภัย

ถ้าตุ่มใหญ่  ไปหาหมอ  ขอยาทา ...