คณะผู้บริหาร
      วิสัยทัศน์/พันธกิจ/แผนภูมิยุทธศาสตร์ 
       วัฒนธรรมองค์กร
       โครงสร้างโรงพยาบาล
       ประวัติโรงพยาบาล
       แผนที่ตั้ง
       ฝ่ายการพยาบาล
       งานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
     ( HA )
       ข่าวประชาสัมพันธ์
       กิจกรรม
       ความเชี่ยวชาญพิเศษ
       ตารางการออกตรวจ
       คลินิกพิเศษ
       คลินิกไข้เฉียบพลัน
       เวชศาสตร์ท่องเที่ยว
       เวชศาสตร์ทางเลือก
       การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
       การบริการห้องพักผู้ป่วย
       หลักสูตรด้านเวชศาสตร์เขตร้อน
       หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล
       มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์
     เขตร้อน
       จดหมายข่าว จากใจทีมบริหาร
       จดหมายข่าว HA
       ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
       งานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
       ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
rajanagarindrabuilding

  


โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)

      โรคไข้ฉี่หนู เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นเกลียว มีชื่อว่า (Leptospira) จึงเรียกชื่อโรคนี้ว่าเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ ฯลฯ และที่สำคัญคือหนู แต่สัตว์ต่างๆ อาจไม่แสดงอาการป่วย

 

การติดต่อ

      โรคนี้เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยสัตว์ที่เป็นโรคนี้จะขับถ่ายเชื้อโรคออกมากับปัสสาวะ เชื้อจะอาศัยอยู่ได้ในดินที่ชื้นแฉะ หรือมีน้ำขัง และเข้าสู่คนทางผิวหนังอ่อน เช่น ซอกนิ้วมือและเท้า บาดแผลหรือเยื่อเมือก ดังนั้นมักจะพบโรคนี้ในคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น สัตวบาล เกษตรกร และผู้มีอาชีพสัมผัสกับน้ำหรือคนที่ย่ำน้ำในที่น้ำท่วมขังนานๆ

 

วงจรชีวิต

รูปวงจรชีวิต

 

แหล่งระบาด

      โรคนี้พบมากในเขตร้อนหรือเขตมรสุม เพราะมีสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของเชื้อ และมีสัตว์ที่เป็นรังโรคอยู่ชุกชุม ในประเทศไทยโรคนี้กระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีรายงานพบผู้ป่วยมากในภาคอีสาน

 

อาการ

         คนที่ได้รับเชื้ออาจมีหรือไม่มีอาการ ในผู้ที่มีอาการมักแสดงหลังจากได้รับเชื้อ 2-3 วัน จนถึง 2-3 สัปดาห์ อาการที่สำคัญ คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่อง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ไตวาย หรืออาการทางสมองและระบบประสาท และอาจถึงตายได้ (อัตราการตายอาจสูง ถึงร้อยละ 10-40)

        รูปภาพ

 

การวินิจฉัย

       โดยการซักประวัติผู้ป่วยเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรค อาการป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดและปัสสาวะของผู้ป่วย

 

การรักษา

        โรคนี้หากรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ โดยให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะโรคจะได้ผลดีกว่าปล่อยให้มีอาการรุนแรงแล้วจึงรักษาเนื่องจากอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้เอง เพราะอาจเป็นอันตรายจากการแพ้ยา หรือใช้ยาที่ไม่ถูกต้องได้ ดังนั้นควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง

 

การป้องกัน

  • ป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยไม่เดินย่ำหรือแช่น้ำอยู่ในน้ำที่ท่วมขัง ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ให้ป้องกันการสัมผัสน้ำโดยใช้รองเท้าบู้ทยาง ถุงมือยาง เป็นต้น
  • ควรฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยง เพื่อไม่ให้เป็นรังโรค
  • กำจัดหนู และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนู

ย่ำน้ำท่วมขัง ควรระวังฉี่หน

ถ้าสงสัยให้แพทย์ดู มัวช้าอยู่อาจถึงตาย


Share