เทคนิคการตรวจวินิจโรคพยาธิสตรองจิลอยด์ (Strongyloides stercolaris) ในปัจจุบันของภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
ดร.วัลลภ ถักดี
พยาธิสตรองจิลอยด์ เป็นพยาธิตัวกลมที่จัดอยู่ในกลุ่มพยาธิติดต่อผ่านทางดิน (soil-transmitted helminths) พบแพร่กระจายในหลายพื้นที่ทั่วโลก มีรายงานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ถึงการระบาดที่เพิ่มมากขึ้นใน 10 ปี ย้อนหลัง จาก 100 ล้านคน เพิ่มเป็น 300 ล้านคนในปี 2021 โดยเฉพาะพื้นที่ประเทศเขตร้อน รวมไปถึงประเทศไทย ในขณะที่ภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานหลักแห่งหนึ่งที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิชนิดนี้ โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่ประสงค์ขอรับตรวจจากทั้งในและต่างประเทศกว่า 100 ราย ในปี 2012 และเพิ่มมากขึ้นทุกปี จนกระทั่งมากกว่า 300 ราย ในปี 2021 โดยภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิได้ให้บริการการตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิดังกล่าวมากว่า 20 ปี โดยใช้วิธีพื้นฐานทางปรสิตวิทยา ได้แก่การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนพยาธิ (Cultural method) ระยะแรบดิติฟอร์ม (rhabditiform larva) จากอุจจาระเป็นระยะฟิลาริฟอร์ม (filariform larva) และวินิจฉัยชนิดของพยาธิจากสัณฐานวิทยาของตัวอ่อน รวมไปถึงวิธีที่เป็นที่นิยมซึ่งให้ผลแม่นยำในปัจจุบันได้แก่ การตรวจสารภูมิคุ้มกันต้านการติดเชื้อ (serological test) ซึ่งสามารถตรวจหาการติดเชื้อพยาธิสตรองจิลอยด์ของผู้ป่วยจากซีรั่ม นอกจาก ในกรณี light infection ซึ่งยากต่อวิธีการตรวจวินิจฉัยแบบ Serology และ Cultural method ภาควิชายังได้พัฒนาการตรวจวินิจฉัยที่มีความแม่นยำสูงด้วยวิธีทางอณูชีวโมเลกุล โดยออกแบบ primers ที่มีความจำเพาะสูงต่อพยาธิดังกล่าว ทำให้สามารถใช้เทคนิคนี้ตรวจหาพยาธิระยะตัวอ่อนแรบดิติฟอร์มในอุจจระของผู้ป่วยโดยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) โดยเป็นทางเลือกในกรณีที่ต้องการยืนยันผลการตรวจที่แม่นยำโดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยที่ต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive drugs) โดยใช้ primers ที่ออกแบบจาก บริเวณ 18S ribosomal RNA gene ได้แก่ SS-F: 5’AACAGCTATAGACTACACGGTA3’ และ SS-R: 5’ TTTATGCACTTGGAAAGCTGGT3’ ได้ถูกทดสอบและเปรียบเทียบกับวิธี Cultural technique ซึ่งเป็น gold standard
จากรูปด้านล่าง แสดงความไวของ primers ดังกล่าวที่สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมจากตัวอ่อนพยาธิสตรองจิลอยด์จำนวนเพียง 1 ตัว (รูป A) นอกจากนี้ primers ชุดนี้ยังมีความจำเพาะสูงโดยไม่จับกับสารพันธุกรรมของพยาธิในกลุ่มพยาธิที่ติดต่อผ่านทางดินชนิดอื่นๆ เช่น พยาธิไส้เดือน (Ascaris lumbricoides) พยาธิปากขอ (Necator americanus และ Ancylostoma duodenale) พยาธิแส้ม้า (Trichuris trichiura) เป็นต้น (รูป B)

