Faculty-engagement

Faculty engagement

Faculty engagement

ศิษย์เก่าของภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ หลักสูตร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน แม้จบไปแล้วยังมีความรู้สึกดี ๆ และผูกพัน ที่เป็นหุ้นส่วนระยะยาว หรือ Long-Term Partnership เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ Stakeholders อย่างแท้จริงของชุมชนในพื้นที่ ทั้งคุณขัชพัฒน์ และคุณพนิดา เมืองคำ ต่างทำงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน

popup-ABIapp

ABIapp: แอปพลิเคชันเพื่อลดปัญหาความคลุมเครือในการระบุชนิดพยาธิจากข้อมูลทางพันธุกรรม

สื่อความรู้เรื่องโรคพยาธิ ประจำเดือนมีนาคม 2565

ABIapp: แอปพลิเคชันเพื่อลดปัญหาความคลุมเครือในการระบุชนิดพยาธิจากข้อมูลทางพันธุกรรม

        ปรสิตหนอนพยาธิเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ดำรงชีวิตอยู่ในร่ายกายคนและสัตว์ด้วยการดูดเลือดหรือแย่งสารอาหารจากร่างกายโฮสต์ทำให้เกิดพยาธิสภาพและโรคที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิเหล่านี้ จากลักษณะสัณฐานภายนอก สามารถจัดจำแนกได้เป็นพยาธิตัวกลม (nematodes) พยาธิตัวตืด (cestodes) และพยาธิใบไม้ (trematodes) ปัจจุบันมีการประเมินทางคณิตศาสตร์คาดว่าพยาธิในโลกนี้มีจำนวนกว่า 300,000 ชนิด โดยมีเพียงประมาณ 10% เท่านั้นที่ได้รับการระบุชนิดเรียบร้อยแล้ว แต่ในความเป็นจริงโลกกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมทั้งปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของสัตว์รวมทั้งพยาธิแล้วแล้วยังส่งผล ต่อกระบวนการทางวิวัฒนาการที่รวดเร็วขึ้นด้วย โดยมีรายงานสถานะสปีชีส์คลุมเครือ (cryptic species) อยู่กว่า 2-3 ชนิดต่อชนิดของพยาธิ ซึ่งนักวิจัยมักพบประเด็นปัญหาในการจัดแบ่งขอบเขตความเป็นสปีชีส์อยู่เนืองๆ เนื่องจากยากที่จะระบุชนิดจากลักษณะสัณฐานภายนอกซึ่งมีความคล้ายคลึงกันและคลุมเครือ การวิเคราะห์จำเป็นต้องใช้เครื่องบ่งชี้ทางพันธุกรรม (molecular genetic marker) ที่เหมาะสม ซึ่งมีอยู่กว่า 10 ชนิดในปัจจุบัน และมักจะสร้างความสับสนในการเลือกใช้และตัดสินขอบเขตความเป็นสปีชีส์จากค่าระยะห่างทางพันธุกรรม ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือ ค่าเท่าใดจึงจะเรียกได้ว่ายังคงเป็นสปีชีส์เดียวกัน ค่าเท่าใดอยู่ในยังขอบเขตของสปีชีส์คลุมเครือ หรือค่าเท่าใดสามารถระบุได้ว่าอยู่ต่างจีนัส

     แอปพลิเคชัน ABIapp นี้พัฒนาขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการตัวช่วยในการจำแนกชนิดของปรสิตหนอนพยาธิ โดยใช้ฐานข้อมูลพันธุกรรม (GenBank sequence database) ของเชื้อปรสิตหนอนพยาธิก่อโรคทั้งหมดที่เป็นปัจจุบันเพื่อกำหนดค่าขอบเขตของระดับชั้นทางอนุกรมวิธานตั้งแต่ระดับสปีชีส์ (species) ถึงอันดับ (order) โดยใช้ machine learning algorithm ใช้งานง่ายเพียงผู้ใช้มีค่าระยะห่างทางพันธุกรรมของเครื่องหมายพันธุกรรมระดับโมเลกุล (molecular genetic marker) ที่มักใช้ในการจัดจำแนกสปีชีส์ของเชื้อปรสิตหนอนพยาธิ (18S rRNA, 28S rRNA, ITS1, ITS2, COI, COII, cytB, ND1, 12S rRNA และ 16S rRNA) และกรอกข้อมูลดังกล่าว แอปพลิเคชันจะบอกถึงสถานะทางอนุกรมวิธานของตัวอย่างพร้อมแนะนำทางเลือกในกรณีที่เครื่องบ่งชี้ทางพันธุกรรมที่ใช้ยังไม่เหมาะสม

อุรุษา แทนขำ

img-news-01

สื่อความรู้เรื่องโรคพยาธิ ประจำเดือนมกราคม 2565

“พยาธิหอยโข่ง” หรือ  “พยาธิปวดหัวหอย” หรือ “พยาธิปอดหนู” หรือ “พยาธิแองจิโอสตรองไจลัส” เคยได้ยินชื่อโรคติดเชื้อจากพยาธินี้กันไหมครับ?  เชื่อหรือไม่ว่าคนไทยติดโรคพยาธิตัวกลมกลุ่มนี้มากเป็นอันดับ 1 ของโลก   ด้วยความที่พยาธินี้สามารถพบกระจายไปในหลายทวีปทั่วโลก ปรับตัวและอยู่อาศัยได้ดีในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ในถิ่นทุรกันดาร  สามารถอาศัยอยู่ในสัตว์รังโรคและสัตว์พาหะได้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะกลุ่มสัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานจำพวกหนูและหอยซึ่งเป็นโฮสต์หลักและโฮสต์กึ่งกลางของพยาธิ  การติดพยาธิเกิดจากการบริโภคตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม การเคลื่อนที่ของตัวอ่อนพยาธิขึ้นสู่สมองส่งผลต่อระบบประสาททำให้เกิดอาการในกลุ่มเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทั้งนี้พฤติกรรมการบริโภคและความตระหนักถึงสุขอนามัยที่ดีนับเป็นปัจจัยสำคัญในการลดการสัมผัสกับโรคพยาธิในกลุ่มนี้

เรามาทำความรู้จักโรคพยาธินี้ให้มากขึ้นผ่านการ์ตูนเรื่องสั้น และสารคดีโรคพยาธิที่ผลิตขึ้นโดยภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ และงานเทคโนโลยีการศึกษาและศิลปกรรม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กันเถอะครับ

กิตติพงษ์  ฉายศิริ

Have you ever heard of this parasitic infection, “angiostrongylid worm” or “rat lung worm”? Believe it or not, Thai people are infected with this roundworm the most in the world. This parasite can be found in many continents globally, adapting and living well in different habitats and landscapes including urban community, peri-domestic and wilderness areas. They can parasitize a variety of animal hosts, especially invasive alien species such as rodents and mollusks, which are the definitive and intermediate hosts of the parasite, respectively. Ingestion of infective larvae contaminated in food and water is recognized as the main route of infection. The movement of parasitic larvae into the brain affects the nervous system causing eosinophilic meningitis and other neurological disorders. Consumption behavior and awareness of good hygiene are important factors in minimizing exposure to the parasitic diseases.

Let’s get to know more about this parasitic disease through a short cartoon story and the parasitic disease documentaries produced by the Department of Helminthology and the Educational Technology and Art Unit, the Faculty of Tropical Medicine.

Kittipong Chaisiri

ภาพการ์ตูนประกอบสารคดี

scan0008
pop-up

มันใช่พยาธิจริงๆหรือ?

ทิพยรัตน์ อยู่นวล
เอกรินทร์ ภูดีปิยสวัสดิ์

        ปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วโดยการค้นหาผ่านอินเตอร์เน็ต แต่ในบางกรณีข้อมูลที่ได้อาจไม่เพียงพอ ต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนเป็นอีกทางหนึ่งที่ผู้คนจำนวนมากเดินทางมาเพื่อหาคำตอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

       งานพิสูจน์ทราบตัวพยาธิ (Parasite Identification) ภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ โดยการตรวจพิสูจน์ทราบตัวพยาธิจากสิ่งส่งตรวจที่มาจากโรงพยาบาล ศูนย์แล็บเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป

ตัวอย่างพยาธิที่พบจากสิ่งส่งตรวจ

     ซึ่งจากสถิติดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพยาธิแก่ประชาชน ยังคงมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส