seminar-news2-2

การประชุมสัมมนาภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ

การประชุมสัมมนาภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ

ภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ ได้จัดการประชุมสัมมนาของภาควิชาฯ ระหว่างวันที่ 16-17 มิถุนายน 2565 ณ จังหวัดจันทบุรี

molecular-systematics-of-parasitic-helminths

รองศาสตราจารย์ ดร.อุรุษา แทนขำ ได้ตีพิมพ์หนังสือ Molecular Systematics of Parasitic Helminths

รองศาสตราจารย์ ดร.อุรุษา แทนขำ ได้ตีพิมพ์หนังสือ
Molecular Systematics of Parasitic Helminths

รองศาสตราจารย์ ดร.อุรุษา แทนขำ ได้ตีพิมพ์หนังสือ Molecular Systematics of Parasitic Helminths กับสำนักพิมพ์ Spinger

news4-2

หัวหน้าภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ เข้าร่วมงานถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี

หัวหน้าภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ เข้าร่วมงาน
ถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี

  รศ. ดร. นพ.ดร วัฒนกุลพานิชย์ หัวหน้าภาควิชาฯ เข้าร่วมงานถวายพระพรจัดโดยคณะฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี

news-01-1

ภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ เข้ารับการตรวจสอบภายใน Internal audit Esprel

ภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ เข้ารับการตรวจสอบภายใน Internal audit Esprel

    เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2565 ภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ เข้ารับการตรวจสอบภายใน Internal audit EsPReL จากคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพของคณะเวชศาสตร์เขคร้อน โดยมีตัวแทนภาควิชาฯ ประกอบด้วย รศ. ดร.ภูมิ อดิศักดิ์วัฒนา อ. ดร.อรวรรณ พู่พิสุทธิ์ น.ส.ปรียารัตน์ มาลัยทอง เป็นผู้คอยให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการตรวจประเมินในครั้งนี้ เพื่อเตรียมพร้อมเข้ารับการประเมินจริงในเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งมีคณะกรรมการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน EsPReL มาตรวจประเมิน

news-06062022-02

หัวหน้าภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ ร่วมแสดงความยินดีกับหัวหน้าภาควิชากุมารศาสตร์เขตร้อนในโอกาสทำบุญภาควิชา

หัวหน้าภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ ร่วมแสดงความยินดีกับหัวหน้าภาควิชากุมารศาสตร์เขตร้อนในโอกาสทำบุญภาควิชา

      เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 หัวหน้าภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ รศ. ดร. นพ.ดร วัฒนกุลพานิชย์ ร่วมแสดงความยินดีกับหัวหน้าภาควิชากุมารศาสตร์เขตร้อน เนื่องในโอกาสทำบุญภาควิชาประจำปี

1pic-06062022-01

หัวหน้าภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ ให้คำอธิบายเพิ่มเติมแก่แพทย์ผู้เข้าประชุมวิชาการภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน

หัวหน้าภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ ให้คำอธิบายเพิ่มเติมแก่แพทย์ผู้เข้าประชุมวิชาการภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน

        รศ. ดร. นพ.ดร วัฒนกุลพานิชย์ หัวหน้าภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ ให้คำอธิบายเพิ่มเติมแก่แพทย์ผู้เข้าประชุมวิชาการภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน ระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายน 2565

Taenia-solium-pop-up

สื่อความรู้เรื่องโรคพยาธิ ประจำเดือนพฤษภาคม 2565 “พยาธิตืดหมู (Taenia solium)

สื่อความรู้เรื่องโรคพยาธิ ประจำเดือนพฤษภาคม 2565
“พยาธิตืดหมู (Taenia solium)

ผศ. ดร. นพ.ธีระ กุศลสุข

          ผู้ป่วยชายอายุ 67 ปี จากจังหวัดตาก ตรวจพบไข่พยาธิตืดจากอุจจาระ จากการซักประวัติเพิ่มเติม ผู้ป่วยให้ประวัติว่าก่อนหน้านี้ก็เคยพบปล้องพยาธิออกมากับอุจจาระเป็นสายสั้น ๆ แต่ก็ได้ได้ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาแต่อย่างใด ในอดีตที่ผ่านมามีประวัติทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะลาบหมูดิบ มักจะทานกับเพื่อน ในระหว่างดื่มสุรา ผู้ป่วยยอมรับว่าชอบทานอาหารดิบมาตั้งแต่เป็นวัยรุ่น จนถึงปัจจุบัน ไม่เคยไปพบแพทย์ หรือได้รับการรักษามาก่อนหน้านี้ ในครั้งเจ้าหน้าที่ รพ.สต. แจ้งว่าจะมีบริการตรวจอุจจาระเพื่อวินิจฉัยไข่พยาธิจึงได้ส่งมาให้ทีมงานของภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตรวจวินิจฉัย และผลตรวจอุจจาระด้วยวิธี Kato’s Thick smear technique ตรวจพบไข่พยาธิตืด ดังรูปภาพที่ 1

รูปภาพ 1 ไข่พยาธิตืดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30-35 ไมครอน ภายในไข่จะมีตัวอ่อนที่มีขอเกี่ยวขนาดเล็กอยู่ 6 อัน ที่เรียนกว่า hexacanth embryo

        ตรวจร่างกายเบื้องต้น ผู้ป่วยไม่มีไข้ ความดันโลหิตปกติ มีรูปร่างปกติสมส่วนค่อนข้างผอมเล็กน้อย มีภาวะซีดเล็กน้อย ไม่มีตาเหลือง ไม่มีตัวเหลือง หัวใจเต้นปกติ ปอดปกติ ช่องท้องปกติ คลำไม่พบก้อนผิดปกติ ตับไม่โต ม้ามไม่โต แขน ขา ปกติ ไม่มีอ่อนแรง ไม่พบก้อนเนื้อหรือตุ่มนูนใต้ผิวหนังแต่อย่างใด

       ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาฆ่าพยาธิและนัดถ่ายอุจจาระเพื่อนำตัวพยาธิมาตรวจวินิจฉัยพบว่า ผู้ป่วยรายนี้มีจำนวนสายพยาธิออกมากับอุจจาระจำนวนมาก จึงได้แยกพยาธิแต่ละสายออกจากกัน และพบว่าผู้ป่วยรายนี้มีพยาธิขดอยู่ในร่างกายทั้งสิ้น 19 ตัว และได้นำส่วนหัวของตัวพยาธิมาตรวจ พบว่าส่วนหัวมีขนาดเล็ก มีอวัยวะสำหรับใช้เกาะดูดลำไส้ที่เรียกว่า sucker 4 อัน และพบส่วนที่เป็นขอเกี่ยวอยู่ส่วนบนมีลักษณะเป็นแถวเรียงต่อกัน 2 ชั้น (hooklets) (ดังภาพที่ 2A, 2B) ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของ “พยาธิตืดหมู” นั่นเอง

รูปภาพ 2A: ลักษณะตัวแก่ของพยาธิขดเป็นสายยาว สามารถแยกออกได้ทั้งสิ้น 19 ตัว

รูปภาพ 2B: ส่วนหัวของพยาธิตืดเรียกว่า scolex มีลักษณะค่อนข้างกลม มีอวัยวะสำหรับดูดเกาะ (sucker) และขอเกี่ยว (hooklets) คล้ายหนามมงกุฎอยู่ด้านบนสุด (ลูกศรชี้)

        การติดพยาธิตืดหมู จากการกินเนื้อหมูดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ ที่มีการปนเปื้อนตัวอ่อนระยะติดต่อที่เรียกว่า “พยาธิตืดเม็ดสาคูหมู” ปนอยู่ในเนื้อหมูเหล่านั้น (รูป 3)

รูปภาพที่ 3: ตัวอ่อนระยะติดต่อเรียนว่า “พยาธิตืดเม็ดสาคู” (ลูกศรชี้) ที่ปนเปื้อนอยู่ในเนื้อหมู

การวินิจฉัย : ตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ
การรักษา : แนะนำพบแพทย์เพื่อรับยากฆ่าพยาธิ
การป้องกัน : งดเว้นจากการกินเนื้อหมูดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ
งดถ่ายอุจจาระนอกส้วม และการเลี้ยงหมูควรเลี้ยงแบบขังคอก ไม่ปล่อยให้หากินเอง

Songkran-3

ประเพณีสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๕

ประเพณีสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๕

        บุคลากรภาควิชาฯ ได้ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2565 โดยการ รดน้ำดำหัวและขอพรวันปีใหม่จากที่ปรึกษาของภาควิชาฯ (รศ. ดร.พารณ ดีคำย้อย) เพื่อความเป็นสิริมงคล

news002-3

โครงการการติดตามเฝ้าระวังโรคหนอนพยาธิ ณ พื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว จังหวัดตราด โดยกรมควบคุมโรค

โครงการการติดตามเฝ้าระวังโรคหนอนพยาธิ ณ พื้นที่
โครงการอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว จังหวัดตราด โดยกรมควบคุมโรค

          ดร.ทิพยรัตน์ อยู่นวล และนายนิรันดร หอมสุวรรณ บุคลากรภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ ได้เข้าร่วมกิจกรรมชี้แจงโครงการ และร่วมลงพื้นที่ติดตามการปฏิบัติงานโครงการการติดตามเฝ้าระวังโรคหนอนพยาธิตามแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ โครงการอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว จังหวัดตราด โดยกรมควบคุมโรค ระหว่างวันที่ 28 มี.ค. ถึง 1 เม.ย. 2565