โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียและการรายงานผลตามมาตรฐานสากล” วันที่ 25 – 26 กรกฎาคม 2562
September 15, 2021
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิโปรโตซัวและพยาธิลำไส้” วันที่ 25 – 27 มีนาคม 2563
September 15, 2021
training /workshop

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิโปรโตซัวและปรสิตหนอนพยาธิในลำไส้ วันที่ 14 – 15 มีนาคม 2562

ณ ห้องบรรยาย 2302 ชั้น 3 และ ห้องปฏิบัติการ 2303 ชั้น 3 อาคารจำลอง หะริณสุต คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ”

สาระสำคัญของการอบรม

การบรรยาย

    Global Trends of intestinal parasitic infection, วงจรชีวิต รูปร่าง ลักษณะของพยาธิลำไส้ที่เกิดโรคและฉวยโอกาส วิธีการเก็บตัวอย่างอุจจาระที่ถูกต้องและให้ได้มาตรฐาน การเตรียมและเก็บสไลด์กึ่งถาร, พยาธิลำไส้ : ความสำคัญทางคลินิก,การตรวจวินิจฉัยพยาธิลำไส้ฉวยโอกาสด้วยวิธีย้อมสีพิเศษ (Special methods), Classical to update Techniques for diagnosis of intestinal Protozoa, เรื่องการตรวจวินิจฉัยเชื้อโปรโตซัวในลำไส้ด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา

ฝึกปฏิบัติการ

    การตรวจวินิจฉัยพยาธิลำไส้ ด้วยวิธี Direct simple Smear, พยาธิลำไส้ด้วยตนเองจาก Unknown samples, ปฏิบัติการตรวจวินิจฉัย Opportunistic protozoa ด้วยวิธีย้อมสีพิเศษ

การแสดงเชื้อสาธิต

    เชื้อโปรโตซัวและปรสิต, การตรวจวินิจฉัยฝีบิดที่ตับ ด้วยการตรวจแอนติบอดีที่จำเพาะต่อ E. histolytica 

วัตถุประสงค์ 

  • ได้รับทราบแนวโน้มของการติดเชื้อพยาธิลำไส้ทั่วโลกในปัจจุบัน
  • ได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพยาธิลำไส้ทั้งเชื้อพยาธิโปรโตซัว และปรสิตหนอนพยาธิ ที่พบในผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์
  • ทราบถึงวิธีการตรวจวินิจฉัยทั้งวิธีปกติและวิธีพิเศษเพื่อตรวจหาพยาธิลำไส้ชนิดต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ
  • ได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความมั่นใจในการตรวจวินิจฉัยและได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ด้านการตรวจวินิจฉัยพยาธิลำไส้ที่มีความสำคัญทางการแพทย์ 

ระยะเวลา/กำหนดวันเวลา

วันที่  14 – 15   มีนาคม   2562   ณ ห้องบรรยาย 2302 และห้องปฏิบัติการ 2303 ชั้น 3 อาคารจำลอง หะริณสุต 
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทำให้บุคลากรทางห้องปฏิบัติการ และผู้สนใจได้รับความรู้เกี่ยวกับพยาธิลำไส้ชนิดต่างๆ ที่พบได้ในผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยโรคเอดส์
        ทั้งในด้านรูปร่างลักษณะ วงจรชีวิต และการก่อให้เกิดโรคอีกทั้งได้รับความรู้พื้นฐานและหลักการในการตรวจวินิจฉัยพยาธิลำไส้โดยวิธี
        ปกติและวิธีใหม่ เช่น การตรวจโดยวิธีทางอณูชีววิทยา
     
  2. เพื่อให้บุคลากรทางห้องปฏิบัติการได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันทำให้เพิ่มพูนความรู้เพื่อประโยชน์ต่อการตรวจวินฉัย

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ภาควิชาพยาธิโปรโตซัว คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร. 0-2306-9182, 0-2354-9100 ต่อ 1830 โทรสาร   0-2643-5601
Facebook : Protozoaworkshop และ www.tm.mahidol.ac.th/protozoology

E-mail : hattaya.inc@mahidol.ac.th

“โปรดนำเสื้อกาวน์มีคะแนน CMTE จากสภาเทคนิคการแพทย์”

ดาวโหลดเอกสารเพิ่มเติม

PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com