โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียและลิชมาเนียที่พบในตัวอย่างส่งตรวจ”
September 16, 2021
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิโปรโตซัวและปรสิตหนอนพยาธิในลำไส้ รุ่นที่ 1 วันที่ 26 – 28 กุมภาพันธ์ 2568 และ รุ่นที่ 2 วันที่ 5 – 7 มีนาคม 2568
January 17, 2025
training /workshop

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิโปรโตซัวและปรสิตหนอนพยาธิในลำไส้”วันที่ 29 – 30 มีนาคม 2561 ณ ห้องบรรยาย 2302 ชั้น 3 อาคารจำลอง หะริณสุต คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

หลักการและเหตุผล 

       เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าพยาธิลำไส้ ทั้งเชื้อพยาธิโปรโตซัว และปรสิตหนอนพยาธิ มีความสำคัญทางการแพทย์และมีผลต่อสุขภาพของคนเรา  โดยสามารถก่อให้เกิดโรคต่างๆ ทั้งในบุคคลที่มีภูมิคุ้มกันปกติ และมีอาการรุนแรงมากขึ้นในบุคคลที่มีภูมิ คุ้มกันบกพร่อง

       ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยและการจำแนกพยาธิลำไส้ ทั้งเชื้อพยาธิโปรโตซัว และปรสิตหนอนพยาธิทางห้องปฏิบัติการได้ถูกต้องและแม่นยำ จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งเพราะจะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเชื้อฉวยโอกาสซึ่งพบได้ไม่บ่อยในผู้ป่วยทั่วไป   จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการตรวจวินิจฉัย  ซึ่งความรู้เหล่านี้ยังไม่แพร่หลาย   ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องควรได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการตรวจหาเชื้อพยาธิเหล่านี้  เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน   นอกจากนี้วิธีการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามมาตรฐานก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ที่มีผลต่อการตรวจพบเชื้อพยาธิลำไส้เช่นกัน

    การอบรมในครั้งนี้จะได้ทราบถึงแนวโน้มของการติดเชื้อดังกล่าวทั่วโลก ว่าเป็นอย่างไรในภาวะปัจจุบันและเรียนรู้วิธีที่ทันสมัย เช่น การย้อมสีพิเศษและวิธีทางอณูชีววิทยา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทย ซึ่งจะเป็นผลโดยตรงต่อสังคมไทยโดยรวม



วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม   

  • ได้รับทราบแนวโน้มของการติดเชื้อพยาธิลำไส้ทั่วโลกในปัจจุบัน
  • ทราบวิธีมาตรฐานในการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ
  • ได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพยาธิลำไส้ทั้งเชื้อพยาธิโปรโตซัว และปรสิตหนอนพยาธิ ที่พบในผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ทราบถึงวิธีการตรวจวินิจฉัยทั้งวิธีปกติและวิธีพิเศษเพื่อตรวจหาพยาธิลำไส้ชนิดต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ 
  • ทราบถึงวิธีการวินิจฉัยพยาธิลำไส้โดยวิธีทางอณูชีววิทยา
  • มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการตรวจหาพยาธิลำไส้ที่มีความสำคัญทางการแพทย์
  • ได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความมั่นใจในการวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิที่พบบ่อยๆ ในลำไส้



เป้าหมาย/ตัวชี้วัดหลัก(KPI)

ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นนักวิชาการ บุคลากรทางการแพทย์/สาธารณสุข   และผู้สนใจจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ผู้เข้าอบรมจำนวน 60 คน  



ระยะเวลา/กำหนดวันเวลา

วันที่  29 – 30 มีนาคม 2560   ณ ห้องบรรยาย 2302 และห้องปฏิบัติการ 2303 ชั้น 3 อาคารจำลอง หะริณสุต คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทำให้บุคลากรทางห้องปฏิบัติการ และผู้สนใจได้รับความรู้เกี่ยวกับพยาธิลำไส้ชนิดต่างๆ ที่พบได้ในผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยภูมิ
        คุ้มกันบกพร่อง ทั้งในด้านรูปร่างลักษณะ วงจรชีวิต และการก่อให้เกิดโรค
     
  2. ทำให้บุคลากรทางห้องปฏิบัติการ และผู้สนใจได้รับความรู้พื้นฐานและหลักการในการตรวจวินิจฉัยพยาธิลำไส้โดยวิธีปกติและวิธีใหม่ เช่น
        การตรวจโดยวิธีทางอณูชีววิทยา
     
  3. ทำให้บุคลากรทางห้องปฏิบัติการ และผู้สนใจสามารถตรวจหาพยาธิลำไส้ชนิดต่างๆ ที่พบได้ในผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง
        ด้วยความถูกต้องและแม่นยำ  
     
  4. เป็นประโยชน์ต่อการเรียน การสอน การวิจัย และงานในห้องปฏิบัติการ โดยนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม
     
  5. เพื่อให้บุคลากรทางห้องปฏิบัติการได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เพิ่มพูนความรู้เพื่อประโยชน์ต่อการตรวจวินิจฉัย
     
  6. เป็นการกระตุ้นให้บุคลากรทางห้องปฏิบัติการ มีความสนใจ และมองเห็นความสำคัญของพยาธิลำไส้ที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยทั่วไปและ
        ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ภาควิชาพยาธิโปรโตซัว คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล 420/6 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร . 02-354-9100 -04 ต่อ1830 , 02-306-9182, 0 2-306-9183 โทรสาร 02- 643-5601,Facebook : Protozoaworkshop และ www.tm.mahidol.ac.th/protozoology

E-mail : hattaya.inc@mahidol.ac.th

" โปรดนำเสื้อกาวน์มาด้วย มีคะแนน CMTE "

ดาวโหลดเอกสารเพิ่มเติม

PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com