
Revolution Towards SDGs: การปฏิรูปสู่ความยั่งยืน





คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มียุทธศาสตร์ในการมุ่งสู่การเป็นหนึ่งในสถาบันชั้นนําของโลกด้านเวชศาสตร์เขตร้อน โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือการเป็นองค์กรแห่งคุณภาพเพื่อความยั่งยืน และมีเป้าหมายที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและผลักดันองค์กรให้ไปสู่ความสำเร็จของวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ คือการมุ่งสู่รางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ TQA งานมหกรรมคุณภาพซึ่งถือเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญที่เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกท่านมีโอกาสได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนากระบวนงาน หรือระบบงานที่ทำกันเป็นประจำ โดยได้มีการจัดงานขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561 ซึ่งได้รับความสนใจและการมีส่วนร่วมของบุคลากรจำนวนมาก และดำเนินการต่อเนื่องมาทุก 2 ปี และในปีนี้ ได้ครบรอบการจัดงานอีกวาระหนึ่ง
กำหนดการจัดงาน
08:00 – 08:30 น. ลงทะเบียน
08:30 – 09:00 น. เปิดงานโดย คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
09:00 – 10:00 น. Tropmed Talk by Dr.Mai: การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง
10:00 – 10:15 น. รับประทานอาหารว่าง
10:15 – 12:15 น. Oral Presentation และรับประทานอาหารกลางวัน
12:30 – 12:40 น. Lucky Draw
12:40 – 13:20 น. นำเสนอ Storytelling
13:20 – 13:40 น. รับประทานอาหารว่าง
13:40 – 14:50 น. นำเสนอ โปสเตอร์
14:50 – 15:15 น. เล่นเกมส์ ชิงรางวัล Fanpantae เขตร้อน
15:15 – 16:00 น. ประกาศรางวัลและมอบรางวัล จับรางวัลใหญ่
ไฟล์ดาวน์โหลด
- ไฟล์ word
- ไฟล์ word สำหรับ Storytelling
- ไฟล์ template powerpoint
- ไฟล์ template poster
โปรดสนใจ และ พึงระวัง 1.เมื่อท่านลงทะเบียนและส่งผลงานบนเว็บไซต์แล้ว ท่านสามารถเข้าแก้ไขข้อมูลผ่าน edit link ที่ทางระบบส่งไปยัง Email ที่ท่านลงทะเบียนไว้ จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2566 2.ท่านยินยอมให้นำผลงานที่ท่านส่งมา นำเสนอในงาน TropMed Quality Fair ครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดในวันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2566 3.ผลงานที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก จะได้รับการเผยแพร่บน website KM, facebook ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมอีกครั้ง ทั้งนี้จะมีประกาศประชาสัมพันธ์ให้ทราบเมื่อมีการนำขึ้นเผยแพร่แล้ว 4.ให้ถือว่าท่านรับทราบและยอมรับในข้อกำหนดในการจัดส่งผลงานโดยสมบูรณ์แล้ว เมื่อท่านลงทะเบียนและส่งเอกสารผลงานนี้ 5.ท่านต้องจัดทำไฟล์โปสเตอร์เอง โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ template นามสกุล .ai หรือ .pptx ได้จากแบบฟอร์มนี้ และนำส่งในระบบลงทะเบียนส่งผลงานภายในวันที่ 16 มิถุนายน 2566 | |
ผลงาน | |
เจ้าของผลงาน/ ผู้นำเสนอผลงาน/ ทีมงาน | |
การจัดส่งผลงาน |
การแบ่งประเภทผลงาน
ประเภทที่ 1 : ผลงานวิจัย Routine to Research (R2R) & ผลงานสิ่งประดิษฐ์ Routine to Innovation (R2I)
ประเภทที่ 2 : ผลงาน OKRs
ประเภทที่ 3 : ผลงานพัฒนาคุณภาพ (CQI, Lean, Kaizen, New)
ประเภทที่ 4 : เรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling) ความยาวประมาณ 3 – 5 นาที
รายละเอียดรางวัลผลงาน
ประเภทที่ 1-3
รางวัลที่ 1 รับโล่รางวัล ประกาศเกียรติบัตร และเงินรางวัล 4,000* บาท
รางวัลที่ 2 รับโล่รางวัล ประกาศเกียรติบัตร และเงินรางวัล 2,000* บาท
รางวัลที่ 3 รับโล่รางวัล ประกาศเกียรติบัตร และเงินรางวัล 1,000* บาท
รางวัลชมเชยประเภทละ จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 500 บาท
รางวัล Popular Vote รวม 5 รางวัล รางวัลละ 500 บาท
ประเภทที่ 4
จำนวน 6 รางวัล รับโล่รางวัล ประกาศเกียรติบัตร และเงินรางวัล 500 บาท
หมายเหตุ * ถ้าท่านส่งผลงานในรูปแบบ Oral Presentation ท่านจะได้เงินรางวัลเพิ่มอีก 1,000 บาท
รายชื่อที่ปรากฎด้านล่างนี้มีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลใหญ่
หากมีข้อสงสัย หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อเราได้ที่
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์
ชั้น 6 อาคารเฉลิมพระเกีรยติ 60 ปี
โทร 02-306-9121 หรือ 1303