เทิดพระเกียรติ ด้วย “ห้องกัลยาณิวัฒนาวรานุสรณ์” ห้องชีวะนิรภัย ระดับ 3
 
                เนื่องจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการศึกษาที่มีทั้งการเรียนการสอน การวิจัยในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาวัคซีนต่อโรคที่เป็นปัญหาของภูมิภาค โดยคณะมีบุคลากรที่มีศักยภาพ เป็นที่ประจักษ์ในด้านการวิจัยและพัฒนาโรคเขตร้อน ดังนั้นเพื่อให้การเรียนการสอนและการวิจัยที่มีการใช้เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรครุนแรงในคนและสัตว์ เชื้อโรคที่อุบัติใหม่ในอนาคต สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และแมลงที่เป็นพาหะ หรืองานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโดยการดัดแปลงพันธุกรรม รวมถึงงานที่อาจมีอันตรายในระดับที่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ซึ่งเป็นการปฏิบัติการวิจัยที่มีความเสี่ยงระดับ 3  
     
                แม้แต่งานวิจัยในระดับที่ต่ำกว่า (ความเสี่ยงระดับ 2) ที่เป็นอันตรายในระดับต่ำต่อผู้ปฏิบัติงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมก็ตาม จำต้องควบคุมให้มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ถูกต้องตามระดับความเสี่ยงนั้นๆ มีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานวิจัย ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ต่อชุมชนและต่อสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐานสากลและเป็นไปตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ.....” ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติและนำเสนอรัฐสภาต่อไป ในการนี้ จำเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการที่มีระบบความปลอดภัยตามความเสี่ยงในระดับต่างๆ ที่ได้มาตรฐานสากล ส่งผลให้ผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับจากองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อความเป็นเลิศในการวิจัยโรคเขตร้อนในเอเชีย และสนับสนุนให้ประเทศเป็น Medical Hub ของเอเชีย การเตรียมงานและการดำเนินงานฉลองครบรอบ 36 ปี เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และเสด็จทอดพระเนตรสถานที่ก่อสร้างอาคารดังกล่าว เมื่อวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2539  
              
 
                ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ทางคณะเวชศาสตร์เขตร้อน จึงมีแผนสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 (Biosafety Level 3, BSL3) เพื่อการทดลองวิจัยของเชื้อก่อโรคดังกล่าว ซึ่งจะทำให้คณะเวชศาสตร์เขตร้อนสามารถสร้างสรรค์งานวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์และเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพื่อการพึ่งตนเองของประเทศ  
                                              
                บนชั้น 9 ของอาคารราชนครินทร์ มีพื้นที่ประมาณ 600 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการชีวะนิรภัยระดับ 3 (BSL3 Laboratory) จำนวน 4 ห้อง สำหรับนักวิจัยทำงานได้ห้องละ 3-4 คน ห้องโถงทางเดินที่ปราศจากเชื้อโรค (Clean corridor) ห้องเตรียมทำงานกับเชื้อโรค ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ปราศจากเชื้อโรค (Clean change room) ห้องสำหรับนำเข้าเครื่องมือขนาดใหญ่ซึ่งมีระบบการฆ่าเชื้อก่อนนำเข้า ส่วนของเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อแบบ 2 ประตู พร้อมกับมีห้องนึ่งฆ่าเชื้อในส่วนที่สะอาดปราศจากเชื้อแล้ว ห้องเครื่องควบคุมระบบอากาศหมุนเวียนที่จะทำให้เกิดการปราศจากเชื้อพร้อมทั้งแผ่นกรองเชื้อโรค ห้องเครื่องควบคุมระบบอุณหภูมิของอากาศ ระบบตรวจสอบความปลอดภัย (Safety monitoring) ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในกรณีไฟฟ้าดับ ห้องแช่แข็งเชื้อโรค และห้องเก็บวัสดุ สารเคมีต่างๆ  
   
   
                                             
                ห้องปฏิบัติการ BSL3 แต่ละห้องถูกออกแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่และโครงสร้างทางเทคนิคสำหรับการทำงาน โดยแต่ละห้องสามารถเปิดทำงานได้โดยอิสระ ซึ่งนอกจากจะใช้ทำงานกับเชื้อโรคที่กำหนดให้ทำในห้องปฏิบัติการ BSL3 เท่านั้นแล้ว หากนักวิจัยต้องการทำวิจัยในระดับ BSL2 ซึ่งมีระดับความเสี่ยงต่ำกว่า BSL3 ก็สามารถเลือกทำวิจัยกับระบบนี้ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ ผ่านระบบการควบคุมอากาศเข้าและดูดเอาอากาศเสียออก มีแผ่นกรองอากาศที่จะทำงานโดยอัตโนมัติและปลอดภัยอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบตรวจสอบ ระบบการไหลเวียนอากาศและความดันอากาศที่ต่ำกว่าบรรยากาศ (Negative pressure) อีกด้วย  
                                             
                การใช้งานในแต่ละห้อง BSL3 จะถูกควบคุมโดยระบบ RFID การเข้าใช้ห้องแต่ละครั้งจะถูกควบคุมโดยระบบการลงชื่อเข้าใช้และการออกจากห้องในแต่ละครั้ง รวมทั้งการเข้าหรือออกจากพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ระบบการบันทึกการเข้าหรือออกของห้องเครื่อง ห้องแช่แข็งเก็บตัวอย่าง ห้องที่ปราศจากเชื้อโรค และห้องเก็บวัสดุ สารต่างๆ ก็ใช้ระบบนี้เช่นกัน  
   
                นอกเหนือจากนี้ ระบบความปลอดภัยของแต่ละห้องหรือพื้นที่ใช้สอย จะถูกตรวจดูและบันทึกอย่างถาวรด้วยระบบ CCTV แบบทันสมัยที่สุด ห้องเก็บเชื้อโรคแบบแช่แข็งนั้นจะมีระบบตรวจวัดระดับของออกซิเจน ซึ่งจะเชื่อมกับระบบทดแทนในภาวะฉุกเฉิน ในกรณีที่มีการเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับก๊าซไนโตรเจนหรือก๊าซไนโตรเจนรั่วไหลภายในห้อง จะมีระบบควบคุมกลางซึ่งจะส่งสัญญาณเสียงดังและส่งข้อความเตือนผ่านระบบ SMS และ E-mail ไปยังผู้รับผิดชอบหรือผู้เกี่ยวข้องได้ในทันที และในขณะเดียวกันจะมีการเปิดสวิทซ์ระบบฉุกเฉินให้ทำการส่งก๊าซออกซิเจนให้เพียงพอเข้าไปในห้องเก็บตัวอย่าง  
   
                เมื่อมีภาวะฉุกเฉินเกิดไฟฟ้าดับจากส่วนกลาง หรือจากระบบไฟฟ้าสำรองของอาคาร (Emergency backup) หรือกระแสไฟฟ้าไม่เสถียร ระบบ UPS จะจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ทดแทนในช่วงขณะที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (large diesel generator) ของ BSL3 ทำงาน ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้านี้จะส่งกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกตัว จนกว่ากระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง หรือระบบไฟฟ้าสำรองของอาคารจะกลับมาเป็นปกติ การใช้กระแสไฟฟ้าของระบบทั้งหมดจะถูกบันทึกข้อมูลไว้ซึ่งเป็นข้อมูลของห้อง BSL3 แต่ละห้องจะทำให้สามารถคิดค่าใช้จ่ายของแต่ละระบบหรือแต่ละห้องได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากหากมีบุคคลภายนอกขอเข้ามาใช้พื้นที่  
   
  ด้วยความสำคัญดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น คณะกรรมการโครงการก่อสร้าง
อาคารราชนครินทร์ จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ตั้งชื่อห้องชีวนิรภัยระดับ 3 (BIOSAFETY LEVEL 3) ซึ่งเป็นห้องปลอดเชื้อยิ่งยวด
เพื่อการวิจัย ชั้น 9 อาคารราชนครินทร์ ได้พระราชทานชื่อห้องนี้ว่า
“ห้องกัลยาณิวัฒนาวรานุสนณ์”
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2555
 
   
 

 
 


 
 
  งบประมาณในการก่อสร้าง  
   
                 ประมาณการงบประมาณในการก่อสร้างเบื้องต้น : 140 ล้าน
               ระยะเวลาในการก่อสร้าง : 2 ปี (12 มกราคม 2559 – 10 มกราคม 2561)
 
   
  ความก้าวหน้าในการก่อสร้าง ณ วันที่ 18 เมษายน 2562 : ประมาณ 90%  
   
  การหารายได้-บริจาคสมทบทุนการก่อสร้าง  
   
 
6 พฤษภาคม 2555
 
   
                ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม มอบเงินบริจาค จำนวน 43,000,000 บาท (สี่สิบสามล้านบาท) แด่มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ในพระอุปถัมภ์ฯ สำหรับสร้างห้องปฏิบัติการ BSL 3 ในอาคารราชนครินทร์ เพื่อใช้สำหรับการทดลอง งานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วย และเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานสากล โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ประธานโครงการก่อสร้างอาคารราชนครินทร์ และนางสุมนา อภินรเศรษฐ์ ที่ปรึกษามูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนในพระอุปถัมภ์ฯ และประธานฝ่ายหารายได้ เป็นตัวแทน มูลนิธิฯ เข้ารับมอบ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2555 ณ พระตำหนักเลอดิส (Le Dix Palace) ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 ในพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคาร “ราชนครินทร์” ยังได้มอบเงินบริจาคจำนวน 6,000,000 บาท (หกล้านบาทถ้วน) และเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2553 ในพิธีทอดผ้าป่ามหากุศล เพื่ออาคารราชนครินทร์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์อีกจำนวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) เพื่อสมทบทุนจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ โดยรวมการบริจาคเงินจากท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 50,000,000 บาท (ห้าสิบล้านบาทถ้วน)  
   
   
   
 
14 สิงหาคม 2555
 
   
 
“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารราชนครินทร์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคเขตร้อนแห่งเอเชีย”
 
   
                สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารราชนครินทร์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคเขตร้อนแห่งเอเชีย ณ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2555 เวลา 9.00 น.  
   
                ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม มอบเงินบริจาค จำนวน 43,000,000 บาท (สี่สิบสามล้านบาท) แด่มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ในพระอุปถัมภ์ฯ สำหรับสร้างห้องปฏิบัติการ BSL 3 ในอาคารราชนครินทร์ เพื่อใช้สำหรับการทดลอง งานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วย และเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานสากล โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ประธานโครงการก่อสร้างอาคารราชนครินทร์ และนางสุมนา อภินรเศรษฐ์ ที่ปรึกษามูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนในพระอุปถัมภ์ฯ และประธานฝ่ายหารายได้ เป็นตัวแทน มูลนิธิฯ เข้ารับมอบ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2555 ณ พระตำหนักเลอดิส (Le Dix Palace) ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 ในพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคาร “ราชนครินทร์” ยังได้มอบเงินบริจาคจำนวน 6,000,000 บาท (หกล้านบาทถ้วน) และเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2553 ในพิธีทอดผ้าป่ามหากุศล เพื่ออาคารราชนครินทร์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์อีกจำนวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) เพื่อสมทบทุนจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ โดยรวมการบริจาคเงินจากท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 50,000,000 บาท (ห้าสิบล้านบาทถ้วน)  
   
   
   
                โดยมี ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงเยาวลักษณ์ สุขธนะ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา รองศาสตราจารย์นายแพทย์ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะกรรมการฝ่ายหารายได้และคณะกรรมการโครงการก่อสร้างอาคารราชนครินทร์ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาสมทบทุนสร้างอาคารราชนครินทร์ ถวายการรับเสด็จ  
   
                ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกศินี บูชาชาติ ประธานกรรมการพิธีเปิดอาคารราชนครินทร์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสูจิบัตร และนางสุมนา อภินรเศรษฐ์ ถวายหนังสือที่ระลึก และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กราบบังคมทูลถวายรายงานความเป็นมาของอาคารราชนครินทร์ รองศาสตราจารย์นายแพทย์ประตาป สิงหศิวานนท์ เบิกตัวผู้มีอุปการคุณที่ได้บริจาคเงินสมทบการสร้างและจัดซื้อเครื่องมือแพทย์สำหรับอาคารราชนครินทร์ รายละหนึ่งล้านบาทขึ้นไปและกรรมการฝ่ายหารายได้ เข้ารับพระราชทานของที่ระลึก คือพระรูปหล่อสัมฤทธิ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทับนั่งบนพระเก้าอี้ จากการออกแบบของ ร้อยเอกจิทัศ ศรสงคราม  
   
   
   
  รายนามผู้อุปการคุณ บริจาครายละ 1,000,000 บาท  
   
                1. นางสาวชุลิตา อารีย์พิพัฒน์กุล
              2. ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอุษา ทิสยากร
              3. คุณสุมนา อภินรเศรษฐ์
              4. นางสาวสะเรียง อัศววุฒิพงศ์
              5. ดร.วนิดา บดินทร์ภักดีกุล
              6. นางสาวสุวพร ล้อพูลศรี
              7. นางศิวาภรณ์ อ้นจันทร์
              8. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด
              9. มูลนิธิจรูญเอื้อชูเกียรติ
              10. มูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ้ง
              11. บริษัท จี-ยู ครีเอทีฟ จำกัด
 
   
  รายนามกรรมการฝ่ายหารายได้  
   
                1. นางสาวอรนภา กฤษฎี
              2. นางปิ่นแก้ว นิพัทธโสภณ
              3. นางอลิสา ปิ่นประเสริฐ
              4. นายวรวิทย์ จำปีรัตน์
              5. นางศรัญญา เมนะพันธ์
 
   
 
รวมยอดเงินบริจาคในการก่อสร้างห้อง BSL3 ทั้งสิ้น 64 ล้านบาท
 
   
  เอกสารอ้างอิง : หนังสือ “จากสวนผึ้ง ถึง ทุ่งพญาไท”  
     
  กำหนดการพิธีเปิดห้อง "กัลยาณิวัฒนาวรานุสรณ์"
ชั้น 9 อาคารราชนครินทร์ คณะเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันพุธที่ 24 เมษายน 2562 เวลา 14.00 น.
โดย ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม ประธานในพิธี

 
     
 
เวลา 13.00 น. ลงทะเบียนผู้มาร่วมงาน ณ ชั้น 17 ห้องประชุมประตาป สิงหศิวานนท์
อาคาราชนครินทร์ พร้อมเรียนเชิญรับประทานน้ำชาและอาหารว่าง
     
เวลา 13.45 น. คณบดี รองคณบดี ประธานฝ่ายหารายได้ กรรมการมูลนิธิฯ และผู้เกี่ยวข้อง เตรียมการต้อนรับประธานในพิธี ณ บริเวณ ชั้น 1 อาคาราชนครินทร์
     
เวลา 14.00 น. - ประธานฯ เดินทางมาถึง อาคาราชนครินทร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และวางพวงมาลัยหน้าพระรูปสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

- ประธานฯ และผู้บริหาร ขึ้นลิฟธ์ถึงห้องประชุมประตาป สิงหศิวานนท์ ชั้น 17 อาคารราชนครินทร์

- รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดีคณะเวชศาตร์เขตร้อน กล่าวต้อนรับประธานฯ ผู้ร่วมงาน และกล่าวความเป็นมา

- จากนั้น เชิญผู้แทนบริษัท จี-ยู ครีเอทีฟ จำกัด และผู้แทนมูลนิธิจรูณูเอื้อชุเกียรติ รับมอบรูปหล่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จากประธานฯ

- ถ่ายภาพร่วมกัน

-เชิญแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ลงลิฟท์ มายังชั้น9

- ประธานฯ ตัดริบบื้น เปิดห้อง "กัลยาณิวัฒนาวรานุสรณ์"

- ถ่ายภาพร่วมกัน

- คณบดี นำชมบอร์ดความเป็นมา ขั้นตอนการก่อสร้าง และนำชมห้อง "กัลยาณิวัฒนาวรานุสรณ์"

-ได้เวลาอันสมควร ประธานฯ เดินทางกลับ
     
 
     
 

 
 
ปรับปรุงล่าสุด : 18 เมษายน 2562       
 
 
Copyright © 2006 - 2014 Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University. All rights reserved.
Webmaster : tmwww@mahidol.ac.th