29122022

หอยทากยักษ์แอฟริกากลายเป็นชนิดพันธุ์รุกรานในหลายประเทศทั่วโลก

หอยทากยักษ์แอฟริกากลายเป็นชนิดพันธุ์รุกรานในหลายประเทศทั่วโลก

       รายงานล่าสุดพบว่า หอยทากยักษ์แอฟริกา (Achatina fulica) กลายเป็นชนิดพันธุ์รุกราน (invasive species) ในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากสามารถปรับตัวให้อยู่ในถิ่นอาศัยได้หลายประเภท กินอาหารได้หลากหลาย และแพร่กระจายได้รวดเร็ว นอกจากจะก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพและด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ทั่วโลก หอยทากยักษ์แอฟริกายังพบเป็นโฮสต์ตัวกลางของหนอนพยาธิตัวกลมกว่า 11 ชนิด ซึ่งก่อให้เกิดโรคทั้งในคนและสัตว์ หอยทากยักษ์แอฟริกาจัดเป็นโฮสต์ตัวกลางที่มีความสำคัญทางการแพทย์เนื่องจากเป็นโฮสต์ตัวกลางของพยาธิปอดหนู (Angiostrongylus cantonensis) หรืออีกชื่อคือพยาธิหอยโข่ง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคพยาธิปอดหนูหรือโรคพยาธิหอยโข่ง (Angiostrongyliasis) การติดเชื้อในคนก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Eosinophilic meningitis) คนติดโรคพยาธิชนิดนี้ได้โดยการรับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุกจากหอยทากและหอยโข่ง โฮสต์ตัวกลางของพยาธิปอดหนูเป็นหอยชนิดต่างๆ เช่น หอยทากยักษ์แอฟริกา หอยโข่ง และหอยเชอรี่ เป็นต้น หอยทากยักษ์แอฟริกาพบว่าเป็นโฮสต์ตัวกลางที่สำคัญของพยาธิปอดหนู เดิมเป็นหอยชนิดประจำถิ่นอยู่ใน East Africa ภายหลังปี ค.ศ. 1800 ถูกนำเข้าสู่หลายภาคพื้นทวีปกว่า 52 ประเทศทั่วโลก และพบเป็นโฮสต์ตัวกลางที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคพยาธิปอดหนูในหลายประเทศแถบ Asia และ Pacific Basin จากรายงานการศึกษา (Review article) การติดเชื้อหนอนพยาธิตัวกลมด้วยวิธี artificial digestion ด้วย 0.7% HCl หรือ pepsin และจัดจำแนกชนิดด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและอณูชีวโมเลกุล พบตัวอ่อนหนอนพยาธิกว่า 11 ชนิด (A. cantonensis, A. malaysiensis, Aelurostrongylus abstrusus, Strongyluris sp., Rhabditis sp., Caenorhabditis sp., Ancylostoma caninum, A. vasorum, Troglostrongylus brevior, Crenosoma vulpis, และ Cruzia tentaculata) ในหอยทากยักษ์แอฟริกาใน 21 ประเทศทั่วโลก จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าพยาธิปอดหนูชนิด A. cantonensis เป็นพยาธิตัวกลมที่พบเป็นหลักในหอยทากยักษ์แอฟริกา หอยทากยักษ์แอฟริกาที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นหอยทากที่เก็บได้ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนอาศัยอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นว่าหอยทากที่ติดเชื้อพยาธิปอดหนูสามารถพบได้ทั่วไปไม่จำเพาะต้องพบในพื้นที่ป่าธรรมชาติเท่านั้น นอกจากนนี้แล้วยังมีโฮสต์พาราเทนิกของพยาธิปอดหนูในธรรมชาติอีกหลายชนิด เช่น กบ ปลาน้ำจืดและตะกวด เป็นต้น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุกที่เตรียมจากหอย หรือโฮสต์ตัวกลางและโฮสต์พาราเทนิกชนิดต่าง ๆ ของพยาธิปอดหนูเพื่อป้องกันการติดเชื้อพยาธิชนิดนี้

อ.ดร.อรวรรณ พู่พิสุทธิ์

      ที่มา: Silva GM et al., 2022. doi: 10.1017/S0022149X22000761.

helminth-covid-19-pop-up

การติดเชื้อหนอนพยาธิกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

เจ้าหน้าที่ภาควิชาฯ เข้าร่วมการสำรวจสัตว์พาหะกึ่งกลางของโรคพยาธิในพื้นที่จังหวัดหนองคาย และ จังหวัดระยอง

         เจ้าหน้าที่ภาควิชาฯ ดร.ทิพยรัตน์ นายเอกรินทร์ และ นายนิรันดร ร่วมกับกรมควบคุมโรคในการสำรวจสัตว์พาหะกึ่งกลางของโรคพยาธิในพื้นที่ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และ จังหวัดระยอง

20220705-pop-up

Strongyloides stercolaris

เทคนิคการตรวจวินิจโรคพยาธิสตรองจิลอยด์ (Strongyloides stercolaris) ในปัจจุบันของภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน

ดร.วัลลภ ถักดี

       พยาธิสตรองจิลอยด์ เป็นพยาธิตัวกลมที่จัดอยู่ในกลุ่มพยาธิติดต่อผ่านทางดิน (soil-transmitted helminths) พบแพร่กระจายในหลายพื้นที่ทั่วโลก มีรายงานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ถึงการระบาดที่เพิ่มมากขึ้นใน 10 ปี ย้อนหลัง จาก 100 ล้านคน เพิ่มเป็น 300 ล้านคนในปี 2021 โดยเฉพาะพื้นที่ประเทศเขตร้อน รวมไปถึงประเทศไทย ในขณะที่ภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานหลักแห่งหนึ่งที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิชนิดนี้ โดยในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่ประสงค์ขอรับตรวจจากทั้งในและต่างประเทศกว่า 100 ราย ในปี 2012 และเพิ่มมากขึ้นทุกปี จนกระทั่งมากกว่า 300 ราย ในปี 2021 โดยภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิได้ให้บริการการตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิดังกล่าวมากว่า 20 ปี โดยใช้วิธีพื้นฐานทางปรสิตวิทยา ได้แก่การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนพยาธิ (Cultural method) ระยะแรบดิติฟอร์ม (rhabditiform larva) จากอุจจาระเป็นระยะฟิลาริฟอร์ม (filariform larva) และวินิจฉัยชนิดของพยาธิจากสัณฐานวิทยาของตัวอ่อน รวมไปถึงวิธีที่เป็นที่นิยมซึ่งให้ผลแม่นยำในปัจจุบันได้แก่ การตรวจสารภูมิคุ้มกันต้านการติดเชื้อ (serological test) ซึ่งสามารถตรวจหาการติดเชื้อพยาธิสตรองจิลอยด์ของผู้ป่วยจากซีรั่ม นอกจาก ในกรณี light infection ซึ่งยากต่อวิธีการตรวจวินิจฉัยแบบ Serology และ Cultural method ภาควิชายังได้พัฒนาการตรวจวินิจฉัยที่มีความแม่นยำสูงด้วยวิธีทางอณูชีวโมเลกุล โดยออกแบบ primers ที่มีความจำเพาะสูงต่อพยาธิดังกล่าว ทำให้สามารถใช้เทคนิคนี้ตรวจหาพยาธิระยะตัวอ่อนแรบดิติฟอร์มในอุจจระของผู้ป่วยโดยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) โดยเป็นทางเลือกในกรณีที่ต้องการยืนยันผลการตรวจที่แม่นยำโดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยที่ต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive drugs) โดยใช้ primers ที่ออกแบบจาก บริเวณ 18S ribosomal RNA gene ได้แก่ SS-F: 5’AACAGCTATAGACTACACGGTA3’ และ SS-R: 5’ TTTATGCACTTGGAAAGCTGGT3’ ได้ถูกทดสอบและเปรียบเทียบกับวิธี Cultural technique ซึ่งเป็น gold standard

จากรูปด้านล่าง แสดงความไวของ primers ดังกล่าวที่สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมจากตัวอ่อนพยาธิสตรองจิลอยด์จำนวนเพียง 1 ตัว (รูป A) นอกจากนี้ primers ชุดนี้ยังมีความจำเพาะสูงโดยไม่จับกับสารพันธุกรรมของพยาธิในกลุ่มพยาธิที่ติดต่อผ่านทางดินชนิดอื่นๆ เช่น พยาธิไส้เดือน (Ascaris lumbricoides) พยาธิปากขอ (Necator americanus และ Ancylostoma duodenale) พยาธิแส้ม้า (Trichuris trichiura) เป็นต้น (รูป B)