Diagnosis of Intestinal Pathogenic and Opportunistic Protozoa (18 – 20 and 25 – 27 March 2015)
September 15, 2021
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “มาตรฐานการเก็บตัวอย่าง ทักษะการตรวจวินิจฉัยและแนวโน้มการติดเชื้อพยาธิลำไส้ในปัจจุบัน”
September 16, 2021
Diagnosis of Intestinal Pathogenic and Opportunistic Protozoa (18 – 20 and 25 – 27 March 2015)
September 15, 2021
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “มาตรฐานการเก็บตัวอย่าง ทักษะการตรวจวินิจฉัยและแนวโน้มการติดเชื้อพยาธิลำไส้ในปัจจุบัน”
September 16, 2021
training /workshop

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียและลิชมาเนียที่พบในตัวอย่างส่งตรวจ”

หลักการและเหตุผล 

        มาลาเรียหรือไข้จับสั่นเป็นโรคร้ายที่ทำลายทั้งชีวิต และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของมนุษย์มาหลายศตวรรษ รวมทั้งเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมาช้านาน

       แม้ว่ามาลาเรียเป็นโรคที่รักษาได้แต่มาลาเรียในประเทศไทยรักษายากกว่าที่อื่นๆเนื่องจากเชื้อพลาสโมเดียมฟัลซิพารัมดื้อต่อยาเกือบทุกชนิด นอกจากนี้ยังมีรายงานเชื้อมาลาเรียชนิดใหม่ในคนที่มีลักษณะคล้ายเชื้อเดิม ทำให้ยากต่อการวินิจฉัยจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ อีกทั้งปัจจุบันพบว่าเชื้อลิชมาเนียที่ไม่เคยพบว่าเกิดขึ้นในประเทศไทยมีการอุบัติใหม่ขึ้นมา ดังนั้นเจ้าหน้าที่ทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้ความสามารถในการตรวจวินิจฉัยเชื้อที่พบในตัวอย่างเลือดได้อย่างถูกต้อง เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยทั้งในด้านรักษาและการติดตามอาการของโรค

     ภาควิชาพยาธิโปรโตซัว คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียและลิชมาเนียในห้องปฏิบัติการ จึงได้จัดการอบรมแก่บุคลากรทางการแพทย์/สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม   

  • มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเชื้อมาลาเรียและลิชมาเนีย
  • สามารถตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียและลิชมาเนีย
  • รู้จักวิธีตรวจวินิจฉัยมาลาเรียที่ทันสมัย เช่น วิธี PCR วิธี multiplex real-time PCR และ วิธีการตรวจด้วย rapid diagnostic test kit
  • ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้ร่วมวิชาชีพจากทั่วประเทศ

ระยะเวลาและสถานที่ 

   รุ่นที่ 1 วันที่ 20 – 21 สิงหาคม 2558 และ รุ่นที่ 2 วันที่ 27 – 28 สิงหาคม 2558 ณ ห้องบรรยาย 1 ชั้น 4 อาคารจำลอง หะริณสุต คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มผู้เข้าฝึกอบรม

      บุคลากรทางการแพทย์/สาธารณสุขทุกระดับ อาจารย์ นักวิชาการและผู้สนใจจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน

สาระสำคัญของการอบรม
ประกอบด้วยการบรรยายและปฏิบัติ ในหัวข้อต่าง ๆ จากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ตรง ดังนี้  

  1. เชื้อมาลาเรียและเชื้อลิชมาเนียที่พบในคน
  2. สถานการณ์การติดเชื้อมาลาเรียและการรักษาในปัจจุบัน
  3. วิธีการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียในปัจจุบัน
  4. วิธีมาตรฐาน, Rapid diagnostic test และวิธีทางอณูชีววิทยา
  5. ย้อมสี Thick and thin smear ด้วยสี Wright’s , Giemsa และ Field’s stain
  6. การตรวจวินิจฉัยจำแนกชนิดเชื้อมาลาเรียด้วยตนเอง
  7. เชื้อโปรโตซัวอุบัติใหม่ในประเทศไทย : Leishmania siamensis และการตรวจวินิจฉัย

จำนวนผู้เข้ารับการอบรม
การฝึกอบรมประกอบด้วย ภาคบรรยาย การแสดงสาธิต และภาคปฏิบัติ รุ่นละประมาณ 45 คน จำนวน 2 รุ่น   โดยเสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน คนละ 4,800 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถตรวจหาเชื้อมาลาเรียด้วยความถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว และสามารถตรวจวินิจฉัยเชื้อลิชมาเนียได้

Highlight

  1. มารู้จักกับเชื้อโปรโตซัวอุบัติใหม่ : Leishmania siamensis
  2. มารู้จักเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ใหม่ในคน : Plasmodium knowlesi

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ภาควิชาพยาธิโปรโตซัว คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล 420/6 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร . 02-354-9100 -04 ต่อ1830 , 02-306-9182, 0 2-306-9183 โทรสาร 02- 643-5601,Facebook : Protozoaworkshop และ www.tm.mahidol.ac.th/protozoology

E-mail : hattaya.inc@mahidol.ac.th

กรุณาส่งใบสมัครภายในวันที่ 14 สิงหาคม 2558 ค่าใช้จ่ายในการเข้าอบรม เบิกได้ตามสิทธิ และไม่ถือเป็นวันลา ค่าลงทะเบียนคนละ 4,000 - บาท (รวมค่าอาหารกลางวันและอาหารว่าง) พร้อมเอกสารการอบรม และคู่มือการปฏิบัติการโดยละเอียด (จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 45 คน ) โปรดนำเสื้อกาวน์มาด้วย มีคะแนน CMTE

ดาวโหลดเอกสารเพิ่มเติม

 – รายละเอียด/กำหนดการ/แบบฟอร์ม
 – โบรชัวร์

PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com