โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “มาตรฐานการเก็บตัวอย่าง ทักษะการตรวจวินิจฉัยและแนวโน้มการติดเชื้อพยาธิลำไส้ในปัจจุบัน”
September 16, 2021
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิโปรโตซัวและปรสิตในลำไส้”
September 16, 2021
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “มาตรฐานการเก็บตัวอย่าง ทักษะการตรวจวินิจฉัยและแนวโน้มการติดเชื้อพยาธิลำไส้ในปัจจุบัน”
September 16, 2021
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิโปรโตซัวและปรสิตในลำไส้”
September 16, 2021
training /workshop

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียและลิชมาเนียที่ พบในตัวอย่างส่งตรวจ”

หลักการและเหตุผล 

       มาลาเรียหรือไข้จับสั่น  เป็นโรคร้ายที่ท าลายทั้งชีวิต และส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจของมนุษย์ รวมทั้งเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมาช้านานหลายศตวรรษ องค์การอนามัย โลกได้พยายามควบคุมกวาดล้างไข้มาลาเรียมาตั้งแต่ พ .ศ. 2518  แม้ว่าขณะนี้ไข้มาลาเรียหายไปจากหลายประเทศในยุโรป ญี่ปุ่ น   เกาหลี แต่ก็ยังมีมากในเขตร้อน  ปี หนึ่งๆ คนเป็นโรคนี้ประมาณ  300  ล้านคน เสียชีวิตประมาณ  1-2  ล้านคน  ส่วนใหญ่เป็นเด็กในอาฟริกา นับว่ามาลาเรียท าลายชี วิตคนมากกว่าโรคใด ๆ ทั้งสิ้น

       ดังนั้นการตรวจวินิจฉัยและการจำแนกพยาธิลำไส้ ทั้งเชื้อพยาธิโปรโตซัว และปรสิตหนอนพยาธิทางห้องปฏิบัติการได้ถูกต้องและแม่นยำ จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งเพราะจะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะเชื้อฉวยโอกาสซึ่งพบได้ไม่บ่อยในผู้ป่วยทั่วไป   จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการตรวจวินิจฉัย  ซึ่งความรู้เหล่านี้ยังไม่แพร่หลาย   ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องควรได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการตรวจหาเชื้อพยาธิเหล่านี้  เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน   นอกจากนี้วิธีการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามมาตรฐานก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ที่มีผลต่อการตรวจพบเชื้อพยาธิลำไส้เช่นกัน

     นอกจากนี้ยังมีการพบผู้ป่วยที่ติ ดเชื้อลิชมาเนีย ซึ่งถือว่าเป็น โรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย ดังนั้นความรู้พิ้นฐานเกี่ยวกับ เชื้อลิชมาเนีย วิธีการตรวจวินิจฉัย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาผู้ป่วยด้วยเช่นกันภาควิชาพยาธิโปรโตซัว จึงได้เล็งเห็นความส าคัญของการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรีย และลิชมาเนียในห้องปฏิบัติการว่ามีความส าคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ป่วย จึงได้ดำเนินการจัดโครงการอบร มแก่บุคลากรทางการแพทย์ /สาธารณสุข ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถตรวจวินิจฉัยเชื้อมา ลาเรียได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ  ตลอดจนสามารถฝึกฝนจนชำนาญได้ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการท างานและได้เรียนรู้ถึงหลักการวิธีวินิจฉัยโรคที่ทันสมัย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทย ซึ่งจะเป็นผลโดยตรงต่อสังคมไทยโดยรวม

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม   

  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้พื ้นฐานเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย และลิชมาเนีย
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรีย และลิชมาเนีย
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมรู้จักวิธีตรวจวินิ จฉัยมาลาเรียที่ทันสมัย เช่น วิธี  PCR  วิธี Multipleax real-time PCR และวิธีการตรวจด้วย   rapid diagnostic test kit
  • เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ กับผู้ร่วมวิชาชีพจากทั่วประเทศ 

ระยะเวลาและสถานที่ 

 รุ่ นที่ 1 วันที่  28 – 29 กรกฎาคม 2559   ณ ห้องบรรยาย 2402 ชั้น 4 อาคารจ าลอง หะริณสุต คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

 รุ่ นที่ 2 วันที่  4 – 5 สิงหาคม 2559   ณ ห้องบรรยาย 2402 ชั้น 4 อาคารจ าลอง หะริณสุต คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มผู้เข้าฝึกอบรม

     ผู้เข้าร่ วมอบรมเป็นนักวิชาการ บุคลากรทางการแพทย์ /สาธารณสุข   และผู้สนใจจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

สาระสำคัญของการอบรม
ประกอบด้วยการบรรยายและปฏิบัติ ในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้   

  1. การบรรยายเรื่องสถานการณ์การติดเชื้อมาลาเรียและการรักษาในปัจจุบัน
  2. การบรรยายเรื่อง เชื้อโปรโตซัวอุบัติใหม่ในประเทศไทย  : Leishmania siamensis
  3. ปฏิบัติการการแสดงสาธิตเชื้อมาลาเรียในคนทุกชนิดและเชื้อลิชมาเนียที่พบในคน
  4. บรรยายเรื่องการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียใน ปัจจุบัน
  5. ปฏิบัติการโดยวิธี Rapid diagnostic test ในการตรวจวินิจฉัยเชื ้อมาลาเรีย
  6. การบรรยายเรื่อง การตรวจมาลาเรียโดยวิธี  PCR และวิธี Multiplex real-time PCR
  7. บรรยายเรื่อง  วิธีการย้อมสีมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรีย
  8. ปฏิบัติการ ย้อมสี  Thick and thin smear ด้วยวิธี  Field’s stain
  9. ปฏิบัติการ ย้อมสี  Thick and thin smear ด้วยสี  Wright’s  และ  Giemsa’s
  10. ปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยจ าแนกชนิดเชื ้อมาลาเรียด้วยตนเอง

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทำให้นักวิชาการ บุคลากรทางการแพทย์ /สาธารณสุข และผู้สนใจได้รับความรู้เกี่ยวกับเชื้อมาลาเรียชนิดต่าง ๆ ที่ พบได้ในประเทศไทย ทั้งในด้านรูปร่างลักษณะ วงจรชีวิต และการก่อให้เกิดโรค
  2. ทำให้นักวิชาการ บุคลากรทางการแพทย์ /สาธารณสุข และผู้สนใจได้รับความรู้พื้นฐานและหลักการในการตรวจวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียโดยวิธีต่างๆ    เช่น   การตรวจโดยวิธี   PCR  วิธี Mulriplex  real-time  PCR  และ   antigen detection
  3. ทำให้นักวิชาการ บุคลากรทางการแพทย์/สาธารณสุข และผู้สนใจสามารถตรวจหาเชื้อมาลาเรีย และลิชมาเนียด้วยความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว 
  4. เป็นการกระตุ้นให้ ให้นักวิชาการบุคลากรทางการแพทย์ /สาธารณสุข มีความสนใจและมองเห็นความสำคัญของไข้มาลาเรียและโรคลิชมาเนีย
  5. เป็นการกระตุ้นให้ ให้นักวิชาการบุคลากรทางการแพทย์ /สาธารณสุข มีความสนใจและมองเห็นความสำคัญของไข้มาลาเรียและโรคลิชมาเนียหมาะสม
  6. เพื่อให้นักวิชาการได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน   ทำให้เพิ่มพูนความรู้เพื่อประโยชน์ต่อการตรวจวินิจฉัย

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ภาควิชาพยาธิโปรโตซัว คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล 420/6 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร . 02-354-9100 -04 ต่อ1830 , 02-306-9182, 0 2-306-9183 โทรสาร 02- 643-5601,Facebook : Protozoaworkshop และ www.tm.mahidol.ac.th/protozoology

E-mail : hattaya.inc@mahidol.ac.th

PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com