Dean-list-award

มาทำความรู้จักเกี่ยวกับรางวัล DEAN’S LISTและ MS. Abigail Hui En Chan ผู้รับรางวัล

    รางวัล DEAN’S LIST เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีผลการศึกษาดีเยี่ยม (GPA 4.00) ตลอดหลักสูตร และสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร โดยมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง โดยนักศึกษาที่ได้รับรางวัลจะได้รับโล่เกียรติยศและประกาศเกียรติคุณจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมทั้งบันทึกชื่อไว้ใน ‘DEAN’S LIST’ และในใบรายงานผลการศึกษา (Transcript)

    MS. Abigail เป็นนักศึกษาชาวสิงคโปร์ เข้าศึกษาในระดับวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ปีการศึกษา 2561 ที่สนใจงานวิจัยด้านโรคเขตร้อน โดยเฉพาะปรสิตหนอนพยาธิ จึงตัดสินใจเลือกทำวิจัยที่ภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ ในวิทยานิพนธ์หัวข้อ “NEMATODE SYSTEMATICS: MOLECULAR AND MORPHOLOGICAL TAXONOMY AS A TOOL FOR CLASSIFICATION AND IDENTIFICATION” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. อุรุษา แทนขำ เป็นที่ปรึกษาหลัก

   ด้วยความมานะ สนใจใฝ่รู้ ทำให้สามารถดำเนินงานวิจัยเสร็จสิ้นและสามารถสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ได้ภายใน 2 ปีการศึกษา โดยสามารถจบการศึกษาพร้อมผลงานตีพิมพ์ในวารสาร PARASITES & VECTORS ซึ่งเป็นวารสารวิชาการนานาชาติในกลุ่ม Quartile1 (Q1) ด้าน Tropical Medicine และ Parasitology ในหัวข้อ “Evaluation and utility of mitochondrial ribosomal genes for molecular systematics of parasitic nematodes”

Chan AH, Chaisiri K, Morand S, Saralamba N, Thaenkham U. Evaluation and utility of mitochondrial ribosomal genes for molecular systematics of parasitic nematodes. Parasites & vectors. 2020 Dec;13(1):1-3.

  รวมทั้งยังร่วมงานวิจัยอื่นๆ ที่มิได้เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์อยู่เนืองๆ จนมีผลงานร่วมในวารสารวิชาการนานชาติกลุ่ม Q1 อีกหลายฉบับ MS. Abigail ได้ตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปรัชาดุษฎีบัณฑิต สาขาอายุรศาสตร์เขตร้อน ปีการศึกษา 2563 ในแผนการเรียนที่ 1 (ทำเฉพาะงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์) เพื่อต่อยอดงานวิจัยเดิมให้ได้ผลสัมฤทธิ์สูงสุดในแง่นวัตกรรมการตรวจหาเชื้อพยาธิในสิ่งส่งตรวจที่หลากหลายต่อไป

img-news-01

สื่อความรู้เรื่องโรคพยาธิ ประจำเดือนมกราคม 2565

“พยาธิหอยโข่ง” หรือ  “พยาธิปวดหัวหอย” หรือ “พยาธิปอดหนู” หรือ “พยาธิแองจิโอสตรองไจลัส” เคยได้ยินชื่อโรคติดเชื้อจากพยาธินี้กันไหมครับ?  เชื่อหรือไม่ว่าคนไทยติดโรคพยาธิตัวกลมกลุ่มนี้มากเป็นอันดับ 1 ของโลก   ด้วยความที่พยาธินี้สามารถพบกระจายไปในหลายทวีปทั่วโลก ปรับตัวและอยู่อาศัยได้ดีในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ในถิ่นทุรกันดาร  สามารถอาศัยอยู่ในสัตว์รังโรคและสัตว์พาหะได้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะกลุ่มสัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานจำพวกหนูและหอยซึ่งเป็นโฮสต์หลักและโฮสต์กึ่งกลางของพยาธิ  การติดพยาธิเกิดจากการบริโภคตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม การเคลื่อนที่ของตัวอ่อนพยาธิขึ้นสู่สมองส่งผลต่อระบบประสาททำให้เกิดอาการในกลุ่มเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทั้งนี้พฤติกรรมการบริโภคและความตระหนักถึงสุขอนามัยที่ดีนับเป็นปัจจัยสำคัญในการลดการสัมผัสกับโรคพยาธิในกลุ่มนี้

เรามาทำความรู้จักโรคพยาธินี้ให้มากขึ้นผ่านการ์ตูนเรื่องสั้น และสารคดีโรคพยาธิที่ผลิตขึ้นโดยภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ และงานเทคโนโลยีการศึกษาและศิลปกรรม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กันเถอะครับ

กิตติพงษ์  ฉายศิริ

Have you ever heard of this parasitic infection, “angiostrongylid worm” or “rat lung worm”? Believe it or not, Thai people are infected with this roundworm the most in the world. This parasite can be found in many continents globally, adapting and living well in different habitats and landscapes including urban community, peri-domestic and wilderness areas. They can parasitize a variety of animal hosts, especially invasive alien species such as rodents and mollusks, which are the definitive and intermediate hosts of the parasite, respectively. Ingestion of infective larvae contaminated in food and water is recognized as the main route of infection. The movement of parasitic larvae into the brain affects the nervous system causing eosinophilic meningitis and other neurological disorders. Consumption behavior and awareness of good hygiene are important factors in minimizing exposure to the parasitic diseases.

Let’s get to know more about this parasitic disease through a short cartoon story and the parasitic disease documentaries produced by the Department of Helminthology and the Educational Technology and Art Unit, the Faculty of Tropical Medicine.

Kittipong Chaisiri

ภาพการ์ตูนประกอบสารคดี

scan0008
pop-up

มันใช่พยาธิจริงๆหรือ?

ทิพยรัตน์ อยู่นวล
เอกรินทร์ ภูดีปิยสวัสดิ์

        ปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วโดยการค้นหาผ่านอินเตอร์เน็ต แต่ในบางกรณีข้อมูลที่ได้อาจไม่เพียงพอ ต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนเป็นอีกทางหนึ่งที่ผู้คนจำนวนมากเดินทางมาเพื่อหาคำตอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

       งานพิสูจน์ทราบตัวพยาธิ (Parasite Identification) ภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ โดยการตรวจพิสูจน์ทราบตัวพยาธิจากสิ่งส่งตรวจที่มาจากโรงพยาบาล ศูนย์แล็บเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป

ตัวอย่างพยาธิที่พบจากสิ่งส่งตรวจ

     ซึ่งจากสถิติดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพยาธิแก่ประชาชน ยังคงมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส

awards-2562-2564

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ของภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ ได้รับรางวัลและการเลื่อนขั้นของการปฏิบัติงาน ในช่วงปี พ.ศ. 2562–2564

คณะเวชศาสตร์เขตร้อนขอแสดงความยินดีและขอขอบคุณบุคลากรภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิทุกท่านที่สร้างชื่อเสียงให้กับคณะฯ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น ซึ่งทางคณะฯ ได้ส่งของขวัญมาร่วมแสดงความยินดีย้อนหลัง เนื่องจากไม่สามารถจัดงานและมอบของขวัญแสดงความยินดีได้ อันเนื่องมาจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 19 โดยผู้ที่ได้รับรางวัลมีดังต่อไปนี้

รองศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ อดิศักดิ์วัฒนา ได้รับรางวัล “นักปรสิตวิทยารุ่นใหม่ดีเด่น ประจำปี 2563” จากสมาคมปรสิตวิทยาและอายุรศาสตร์เขตร้อน แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 13 มีนาคม 2563

ดร.ทิพยรัตน์ อยู่นวล ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “นักวิทยาศาสตร์ (ผู้ชำนาญการพิเศษ) สาขาปรสิตวิทยา” ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2562

ดร.วัลลภ ภักดี ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “นักวิทยาศาสตร์ (ผู้ชำนาญการพิเศษ) สาขาปรสิตวิทยา” ณ วันที่ 22 มกราคม 2563

รองศาสตราจารย์ ดร. นพ.ดร วัฒนกุลพาณิชย์ ได้รับ “รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2562 สาขาความเป็นครู” ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2563