tropical medicine and servicesin both clinical-oriented and
practical laboratory-oriented themes are intertwined
Assoc. Prof. Watcharapong Piyaphanee
Head, Department of Clinical Tropical Medicine
Message from Head
The Department of Clinical Tropical Medicine, Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University, formerly Division of Tropical Medicine, Faculty of Tropical Medicine, University of Medical Sciences, was established in 1960. Since its founding, the Department remained dedicated to its mission in teaching, research, and academic services in health, adapting over the past 65 years to respond to evolving global challenges such as economic shifts, social changes, climate impacts, disasters, epidemics, and revolutionary advancements in education, research, and technology. Today, the Department proudly contributes to the Faculty of Tropical Medicine, offering 6 graduate programs and one bachelor's degree program, supported by a team of over 50 permanent faculty members and advisors who are recognized internationally for their expertise in tropical medicine and travel medicine.
พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกเนื่องใน “วันมหิดล” ประจำปี 2567
รองศาสตราจารย์นายแพทย์วัชรพงศ์ ปิยะภาณี หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน อาจารย์ และบุคลากร เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องใน “วันมหิดล” วันที่ 24 กันยายน วันคล้ายวันสวรรคต เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย ณ พระราชานุสาวรีย์ฯ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้
เอดส์ (Acquired Immune Deficiency Syndrome – AIDS) เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง ที่เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ไวรัสนี้ทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกายและก่อให้เกิดอาการต่างๆ
เชื้อ HIV อยู่ในเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ สาเหตุที่พบมากที่สุด คือ การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ ยังเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก ซึ่งพบได้น้อยลงมากในปัจจุบัน
ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ
รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล