คณะเวชศาสตร์เขตร้อน กำจัดขยะอันตรายและรับบริจาคขยะกำพร้า เพื่อการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน

วันที่ 22 มิถุนายน 2566 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการรวบรวมขยะอันตรายภายในคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ร่วมกับฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตราชเทวี เพื่อการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน โดยบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อนสามารถรวบรวมขยะอันตราย เช่น ถ่ายไฟฉาย กระป๋องสี แบตเตอรี่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ทิ้งในจุดรวมรวบขยะที่กำหนดไว้จำนวน 3 จุด ได้แก่ บริเวณชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ  บริเวณชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 60 ปี และบริเวณชั้น 1 อาคารจำลอง หะริณสุต คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

        นอกจากนี้บุคลากรสายสนับสนุนภาควิชา (บ.ส.ภ.) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน  เปิดบูธ  “บ.ส.ภ. ขอรับขยะกำพร้า” รับบริจาคขยะกำพร้า เช่น อุปกรณ์สำนักงาน/ปากกา/ปฏิทินกล่องพัสดุยาหมดอายุ อุปกรณ์กีฬาเก่า เสื้อผ้าเก่า แผ่นกันกระแทก/ซองเครื่องปรุง/หลอดบรรจุครีม/ซองขนม ในงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2566″ ‘เขตร้อน เอาชนะ ขยะพลาสติก Beat Plastic Pollution” วันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2566 โดยมีการร่วมโครงการรับทิ้งขยะกำพร้า กับสำนักงานเขตราชเทวีและบริษัท เอ็น15 เทคโนโลยี จำกัด นำมาส่งขยะกำพร้าเพื่อแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนและพลังงานไฟฟ้าต่อไป

วันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2566 “’เขตร้อน เอาชนะ ขยะพลาสติก : Beat Plastic Pollution”

วันที่ 20 มิถุนายน 2566 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2566 “’เขตร้อน เอาชนะ ขยะพลาสติก : Beat Plastic Pollution” โดยในพิธีเปิดงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้กล่าวรายงาน จากนั้น รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรมีความเข้าใจถึงผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรภายในคณะฯ ตระหนักถึงปัญหาทางสิ่งแวดล้อม

    กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการรณรงค์ลดการใช้พลาสติกภายในคณะเวชศาสตร์เขตร้อน โดยคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน การให้ความรู้ “การปลูกแคคตัส เพื่อเราจะได้เข้าใจธรรมชาติ” โดยร้าน Koy and Bow และการเสวนาวันสิ่งแวดล้อม ได้รับเกียรติจาก นายพุฒิเศรษฐ์ ตันติเมฆิน ผู้อำนวยการกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนกฤต เนียมหอม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะสาธารณสุขศาสตร์ และรองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน จากนั้นเป็นกิจกรรมประกวด “TropMed Plastic Waste Battle 2023 : ปลุกความคิดสร้างสรรค์ ประชันไอเดีย สู่การใช้ประโยชน์”ณ โถงชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ

      โอกาสนี้ทางคณะฯ ได้เปิดตลาดนัด ณ ลานควินิน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้อุดหนุนสินค้ารักษ์โลก บริจาคขยะกำพร้า การแจกต้นไม้ฟรี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมป่าไม้ ซุ้มสำนักงานเขตทวีวัฒนาซึ่งให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ซุ้มคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งให้ความรู้เรื่อง Sustainable Development Goal ทันตมหิดล กับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซุ้มโรงเรียนบ้านท่าเสลา อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี รับบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การศึกษา ทุนการศึกษา และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น นายสมชาย ภู่ด้วง คณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม นำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายสินค้า มอบให้แก่ นายวีระพงศ์ สว่างลาภ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าเสลา 

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน เข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2566 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

 วันที่ 2 มิถุนายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน เข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ในวันที่ 5 มิถุนายน 2566  ประจำปี 2566 โดยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงด้านสิ่งแวดล้อม ณ สวนบริเวณตรงข้ามสถานีรถราง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

การอบรมจัดทำข้อมูลให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)

วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรม เรื่อง การจัดทำข้อมูลให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน และเป็นวิทยากรให้ความรู้ 17 เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และการจัดทำข้อมูลให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อนมีความรู้ความเข้าใจในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน อีกทั้งสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการจัดเตรียมและจัดทำข้อมูลโครงการของหน่วยงานให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับรางวัล ในงาน Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 7

  วันที่ 28 เมษายน 2566 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล รับรางวัล ในงาน Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 7 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโดย ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) 
      ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานมอบป้ายรางวัลสถานศึกษาปลอดภัย ซึ่งคณะเวชศาสตร์เขตร้อนได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยดีเด่นต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 โดยมี นายเสวก ชมมิ่ง หัวหน้างานกายภาพและสิ่งแวดล้อม เข้ารับมอบป้ายรางวัล อีกทั้งยังมีพิธีมอบโล่รางวัลห้องปฏิบัติการ จาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้เกียรติเป็นผู้มอบโล่รางวัล

บุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าศึกษาดูงานศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ความปลอดภัยในการทำงาน

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 บุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าศึกษาดูงานศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ความปลอดภัยในการทำงาน เรียนรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) เครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย การชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง เครื่องทดสอบไฟฟ้าดูด เครื่องทดสอบสิ่งของตกหล่นจากที่สูง ท่าทางการยกของที่ถูกต้อง ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ และประสบการณ์ในการตระหนักถึงอันตรายจากการทำงาน สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และนำหลักการด้านความปลอดภัยในการทำงานไปประยุกต์ใช้ได้เป็นพื้นฐานในการพัฒนางานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ณ ศูนย์บริหารความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล่อมในการทำงาน (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล

พิธีมอบรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยดีเด่น ประจำปี 2565

 วันที่ 19 มกราคม 2566  รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา  รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน รับมอบรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยดีเด่น ประจำปี 2565 จาก นายอาทร นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5  โดยในปีนี้ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ได้รับรางวัลเกียรติบัตรดีเด่น (ต่อเนื่องปีที่ 5) จากการประกวดกิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2565 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้แก่ยุวแรงงานก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ณ ห้องประชุมประตาป สิงหศิวานนท์ ชั้น 17 อาคารราชนครินทร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะเวชศาสตร์เขตร้อนกำจัดขยะอันตราย เพื่อการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน

วันที่ 13 มกราคม 2566 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการรวบรวมขยะอันตรายภายในคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ร่วมกับฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตราชเทวี เพื่อการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน โดยบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อนสามารถรวบรวมขยะอันตราย เช่น ถ่ายไฟฉาย กระป๋องสี แบตเตอรี่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ทิ้งในจุดรวมรวบขยะที่กำหนดไว้จำนวน 3 จุด ได้แก่ บริเวณชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ  บริเวณชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 60 ปี และบริเวณชั้น 1 อาคารจำลอง หะริณสุต คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ได้รับรางวัล “ห้องปฏิบัติการต้นแบบด้านความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ESPReL ประจำปี 2564” และ“สถานศึกษาปลอดภัยดีเด่น ประจำปี 2564”

วันที่ 28 เมษายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบโล่รางวัล “ห้องปฏิบัติการต้นแบบด้านความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ESPReL ประจำปี 2564” และรางวัล “สถานศึกษาปลอดภัยดีเด่น ประจำปี 2564” (รางวัลดีเด่นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4) จากศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในงาน MU Safety Day ครั้งที่ 6 “รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” ประจำปี 2565 จัดโดยศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล