คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ได้เข้าร่วม ”โครงการการพัฒนาระบบบริหารจัดการเครื่องทำน้ำเย็นต้นทุนต่ำและใช้งานง่าย เพื่อการประหยัดพลังงาน ระยะที่ 2”

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ได้เข้าร่วม ”โครงการการพัฒนาระบบบริหารจัดการเครื่องทำน้ำเย็นต้นทุนต่ำและใช้งานง่าย เพื่อการประหยัดพลังงาน ระยะที่ 2” เพื่อให้บุคลากรจากงานกายภาพและสิ่งแวดล้อม และบุคลากรผู้เกี่ยวข้องคณะเวชศาสตร์เขตร้อน เข้ารับฟังรายงานการติดตั้งและอบรมวิธีการใช้งานระบบริหารจัดการเครื่องทำความเย็น ณ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน เข้าร่วมวันคล้ายวันสถาปานาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ครบรอบรอบ 50 ปี

วันที่ 26 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายเสวก ชมมิ่ง หัวหน้างานกายภาพและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมแสดงความยินดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายสถาปนาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ครบรอบรอบ 50 ปี ในโอกาสนี้คณะเวชศาสตร์เขตร้อนได้ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนเพื่อใช้ในกิจการด้านการศึกษา โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นผู้รับมอบ ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการตรวจประเมินด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประจำปี 2566

วันที่ 22 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม และบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องในโอกาสที่คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ได้รับการตรวจประเมินด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประจำปี 2566 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ และรับฟังประเด็นปัญหาหรืออุปสรรคของการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของส่วนงาน และเข้าตรวจประเมินในพื้นที่จริง ได้แก่ พื้นที่สำนักงาน ห้องประชุม ห้องเรียน พื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค และระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยของอาคาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน จัดกิจกรรมเสวนา หัวข้อ “กลยุทธ์พิชิตค่าไฟ”

วันที่ 11 สิงหาคม 2566 คณะเวชศาสตร์เขตร้อนจัดกิจกรรมเสวนา หัวข้อ “กลยุทธ์พิชิตค่าไฟ” เพื่อให้บุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มีความตระหนักรู้เรื่องค่าไฟฟ้า ช่วยกันแบ่งปันวิธ๊ประหยัดไฟฟ้า และถามตอบข้อซักถาม โดยมีวิทยากรทั้ง 6 ท่าน นำโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณะบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม และบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน  ผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์ผ่านช่องทาง TropMed Youtube และ Zoom Meeting

การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ประจำปี 2566

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 คณะกรรมการป้องกันอัคคีภัยและอุบัติภัย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี 2566 ให้แก่บุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อนทุกคน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรมีทักษะในการอพยพหนีไฟ สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และยังเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุอัคคีภัย ซึ่งการซ้อมอพยพหนีไฟในครั้งนี้ เป็นการซ้อมอพยพในทุกอาคารของคณะฯ และเป็นการจำลองสถานการณ์จริง โดยมีจุดรวมพล ณ หน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 60 ปี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการฝึกอบรมดับเพลิงเบื้องต้นและการอพยพหนีไฟ ปี 2566

 วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมดับเพลิงเบื้องต้นและการอพยพหนีไฟ ปี 2566 ซึ่งเป็นโครงการที่คณะกรรมการป้องกันอัคคีภัยและอุบัติภัย คณะเวชศาสตร์เขตร้อนจัดขึ้น เพื่อให้บุคลากรใหม่และบุคลากรที่ยังไม่เคยผ่านการอบรม จำนวน 60 คน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดับเพลิงเบื้องต้น และมีทักษะในการอพยพในการเคลื่อนย้ายและช่วยชีวิต โดยมีการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในการนี้ การอบรมนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัยกรุงเทพฯ นำโดย นายแปร บุญศรีโรจน์ เจ้าพนักงานป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัยชำนาญการ ให้เกียรติเป็นวิทยากร ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน เข้ารับการอบรมพร้อมฝึกซ้อมทีมผจญเพลิงคณะเวชศาสตร์เขตร้อนขั้นสูง

วันที่ 25 มิถุนายน 2566 คณะกรรมการป้องกันอัคคีภัยและอุบัติภัย ได้จัดอบรมพร้อมฝึกซ้อมทีมผจญเพลิงคณะเวชศาสตร์เขตร้อนขั้นสูง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทีมผจญเพลิง มีความรู้ มีทักษะและประสบการณ์ในการป้องกันและระงับอัคคีภัย อพยพหนีไฟ และสามารถอพยพหนีไฟได้อย่างปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ โดยมี นายนิติการณ์ บินกาซัน ใต้ 39-01 หัวหน้าหน่วยอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย ใต้ 39-00 หน่วยวิษณุ และคณะผู้ฝึกสอน ให้เกียรติเป็นวิทยากร ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการเข้าตรวจสอบอาคาร ประจำปีงบประมาณ 2566

วันที่ 23 มิถุนายน 2566 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการเข้าตรวจสอบอาคาร ประจำปีงบประมาณ 2566 จากสำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง จำนวน 7 อาคาร เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน กำจัดขยะอันตรายและรับบริจาคขยะกำพร้า เพื่อการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน

วันที่ 22 มิถุนายน 2566 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการรวบรวมขยะอันตรายภายในคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ร่วมกับฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตราชเทวี เพื่อการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน โดยบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อนสามารถรวบรวมขยะอันตราย เช่น ถ่ายไฟฉาย กระป๋องสี แบตเตอรี่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ทิ้งในจุดรวมรวบขยะที่กำหนดไว้จำนวน 3 จุด ได้แก่ บริเวณชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ  บริเวณชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 60 ปี และบริเวณชั้น 1 อาคารจำลอง หะริณสุต คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

        นอกจากนี้บุคลากรสายสนับสนุนภาควิชา (บ.ส.ภ.) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน  เปิดบูธ  “บ.ส.ภ. ขอรับขยะกำพร้า” รับบริจาคขยะกำพร้า เช่น อุปกรณ์สำนักงาน/ปากกา/ปฏิทินกล่องพัสดุยาหมดอายุ อุปกรณ์กีฬาเก่า เสื้อผ้าเก่า แผ่นกันกระแทก/ซองเครื่องปรุง/หลอดบรรจุครีม/ซองขนม ในงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2566″ ‘เขตร้อน เอาชนะ ขยะพลาสติก Beat Plastic Pollution” วันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2566 โดยมีการร่วมโครงการรับทิ้งขยะกำพร้า กับสำนักงานเขตราชเทวีและบริษัท เอ็น15 เทคโนโลยี จำกัด นำมาส่งขยะกำพร้าเพื่อแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนและพลังงานไฟฟ้าต่อไป

วันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2566 “’เขตร้อน เอาชนะ ขยะพลาสติก : Beat Plastic Pollution”

วันที่ 20 มิถุนายน 2566 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2566 “’เขตร้อน เอาชนะ ขยะพลาสติก : Beat Plastic Pollution” โดยในพิธีเปิดงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้กล่าวรายงาน จากนั้น รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรมีความเข้าใจถึงผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรภายในคณะฯ ตระหนักถึงปัญหาทางสิ่งแวดล้อม

    กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการรณรงค์ลดการใช้พลาสติกภายในคณะเวชศาสตร์เขตร้อน โดยคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน การให้ความรู้ “การปลูกแคคตัส เพื่อเราจะได้เข้าใจธรรมชาติ” โดยร้าน Koy and Bow และการเสวนาวันสิ่งแวดล้อม ได้รับเกียรติจาก นายพุฒิเศรษฐ์ ตันติเมฆิน ผู้อำนวยการกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนกฤต เนียมหอม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะสาธารณสุขศาสตร์ และรองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน จากนั้นเป็นกิจกรรมประกวด “TropMed Plastic Waste Battle 2023 : ปลุกความคิดสร้างสรรค์ ประชันไอเดีย สู่การใช้ประโยชน์”ณ โถงชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ

      โอกาสนี้ทางคณะฯ ได้เปิดตลาดนัด ณ ลานควินิน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้อุดหนุนสินค้ารักษ์โลก บริจาคขยะกำพร้า การแจกต้นไม้ฟรี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมป่าไม้ ซุ้มสำนักงานเขตทวีวัฒนาซึ่งให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ซุ้มคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งให้ความรู้เรื่อง Sustainable Development Goal ทันตมหิดล กับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซุ้มโรงเรียนบ้านท่าเสลา อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี รับบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การศึกษา ทุนการศึกษา และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น นายสมชาย ภู่ด้วง คณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม นำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายสินค้า มอบให้แก่ นายวีระพงศ์ สว่างลาภ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าเสลา