The Sustainable Development Goals are the blueprint to achieve a better and more sustainable future for all. They address the global challenges we face, including those related to poverty, inequality, climate change, environmental degradation, peace and justice. The 17 Goals are all interconnected, and in order to leave no one behind, it is important that we achieve them all by 2030.

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่าโลกจะดีขึ้นภายในปี 2573. เป้าหมายเหล่านี้คือการเรียกร้องให้มีการดำเนินการเพื่อยุติความยากจน ปกป้องโลก และทำให้ทุกคนมีความสงบสุขและความมั่งคั่ง. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีแนวทางและเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับทุกประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับลำดับความสำคัญในการพัฒนาของตนเอง เราควรจะเลือกทางเลือกที่เหมาะสมในการปรับปรุงชีวิตสำหรับคนรุ่นต่อๆไป.

การประชุม / สัมมนา
ผลงานทั้งหมด : 45 เรื่อง แบ่งเป็น
ปี 2022 : 08 เรื่อง
ปี 2021 : 13 เรื่อง
ปี 2020 : 04 เรื่อง
ปี 2019 : 13 เรื่อง
ปี 2018 : 07 เรื่อง

กิจกรรม / การบรรยาย
ผลงานทั้งหมด : 42 เรื่อง แบ่งเป็น
ปี 2022 : 14 เรื่อง
ปี 2021 : 13 เรื่อง
ปี 2020 : 01 เรื่อง
ปี 2019 : 13 เรื่อง
ปี 2018 : 01 เรื่อง

งานวิจัย / การสำรวจ / ผลการศึกษา
ผลงานทั้งหมด : 22 เรื่อง แบ่งเป็น
ปี 2022 : 04 เรื่อง
ปี 2021 : 13 เรื่อง
ปี 2020 : 01 เรื่อง
ปี 2019 : 01 เรื่อง
ปี 2018 : 03 เรื่อง

การประชุม / สัมมนา
ผลงานทั้งหมด : 45 เรื่อง แบ่งเป็น
ปี 2022 : 08 เรื่อง
ปี 2021 : 13 เรื่อง
ปี 2020 : 04 เรื่อง
ปี 2019 : 13 เรื่อง
ปี 2018 : 07 เรื่อง

กิจกรรม / การบรรยาย
ผลงานทั้งหมด : 42 เรื่อง แบ่งเป็น
ปี 2022 : 14 เรื่อง
ปี 2021 : 13 เรื่อง
ปี 2020 : 01 เรื่อง
ปี 2019 : 13 เรื่อง
ปี 2018 : 01 เรื่อง

งานวิจัย / การสำรวจ / ผลการศึกษา
ผลงานทั้งหมด : 22 เรื่อง แบ่งเป็น
ปี 2022 : 04 เรื่อง
ปี 2021 : 13 เรื่อง
ปี 2020 : 01 เรื่อง
ปี 2019 : 01 เรื่อง
ปี 2018 : 03 เรื่อง

เป้าหมาย/ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

สัญลักษณ์

ตัวชี้วัด

1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

1.1 ขจัดความยากจนขั้นรุนแรงของประชาชนในทุกพื้นที่ให้หมดไปภายในปี 2573 วัดจากคนที่มีค่าใช้จ่ายดำรงชีพรายวันต่ำกว่า 1.25 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัน

1.2 ลดสัดส่วนชาย หญิง และเด็ก ในทุกช่วงวัยที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศให้ลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2573 (ดัชนีความยากจนในหลายมิติระดับประเทศ ประกอบด้วย การศึกษา การใช้ชีวิตในแบบที่ดีต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ และความมั่นคงทางการเงิน สำหรับดัชนีของเด็ก ประกอบด้วย การศึกษา สวัสดิภาพเด็ก มาตรฐานความเป็นอยู่ และสุขภาพ)

1.3 ดำเนินการให้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบ และมาตรการการคุ้มครองทางสังคม ที่เหมาะสมในระดับประเทศ ซึ่งรวมถึงการคุ้มครองทางสังคมพื้นฐาน และขยายความครอบคลุมถึงกลุ่มประชากรยากจน และกลุ่มเปราะบางภายในปี 2573

1.4 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะในกลุ่มยากจนและเปราะบางมีสิทธิเท่าเทียมกันในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการพื้นฐาน การเป็นเจ้าของ และควบคุมเหนือที่ดิน และอสังหาในรูปแบบอื่น มรดกทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีที่เหมาะสม และบริการทางการเงิน ซึ่งรวมถึงระบบทางการเงินระดับฐานราก ภายในปี 2573

1.5 สร้างภูมิต้านทานให้กับผู้ที่ยากจน และอยู่ในสถานการณ์เปราะบาง รวมทั้งลดการเผชิญหน้า และความเสี่ยงต่อสถานการณ์รุนแรงอันเนื่องมาจากภูมิอากาศ รวมถึงภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ ภายในปี 2573

1.a สร้างหลักประกันว่าจะมีการระดมทรัพยากรอย่างมีนัยสำคัญจากแหล่งที่หลากหลาย รวมไปถึงการยกระดับความร่วมมือเพื่อการพัฒนา เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศพัฒนาน้อยที่สุดมีเครื่องมือที่เพียงพอ และคาดการณ์ได้สำหรับการดำเนินงานตามนโยบาย และแผนงานเพื่อยุติความยากจนในทุกมิติ

1.b สร้างกรอบนโยบายที่เหมาะสมในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ บนฐานของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เอื้อต่อกลุ่มยากจน และคำนึงถึงความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะ เพื่อสนับสนุนการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในการขจัดความยากจน

2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน

2.1 ยุติความหิวโหย และสร้างหลักประกันให้ทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มยากจน และกลุ่มที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง รวมถึงทารก ได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการ และเพียงพอตลอดทั้งปี ภายในปี 2573

2.2 ยุติภาวะทุพโภชนาการ (ภาวะได้รับสารอาหารหรือพลังงานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ครอบคลุมภาวะเตี้ย แคระแกร็น และน้ำหนักเกิน) ทุกรูปแบบ และแก้ไขปัญหาความต้องการสารอาหารของหญิงวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร และผู้สูงอายุ ภายในปี 2573 รวมถึงบรรลุเป้าหมายที่ตกลงร่วมกันว่าด้วยภาวะเตี้ย แคระแกร็น และผอมแห้งในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ภายในปี 2568

2.3 เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตร และรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง ครัวเรือนเกษตรกร เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และชาวประมง ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดินและทรัพยากร และปัจจัยการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการจ้างงานนอกภาคการเกษตรอย่างมั่นคงและเท่าเทียมภายในปี 2573

2.4 สร้างหลักประกันว่าจะมีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืน และดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มดัน เพื่อเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สภาวะอากาศรุนแรงสุดขั้ว ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่นๆ และจะช่วยพัฒนาที่ดิน และคุณภาพดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี 2573

2.5 คงความหลากหลายทางพันธุกรรมของเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้เพาะปลูก สัตว์ในไร่นา และที่เลี้ยงตามบ้านเรือน และชนิดพันธุ์ตามธรรมชาติ รวมถึงให้มีธนาคารพืช และเมล็ดพันธุ์ที่มีการจัดการที่ดี และมีความหลากหลาย ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึง และแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรทางพันธุกรรม และองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียม ตามที่ตกลงกันระหว่างประเทศ ภายในปี 2563

2.a เพิ่มการลงทุน รวมถีงการยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การวิจัยและการส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยี และการทำธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและสัตว์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด

2.b แก้ไขและป้องกันการกีดกัน และการบิดเบือนทางการค้าในตลาดเกษตรโลก รวมถึงขจัดการอุดหนุนสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกทุกรูปแบบ และมาตรการเพื่อการส่งออกทุกรูปแบบที่ให้ผลในลักษณะเดียวกัน โดยให้เป็นไปตามอาณัติของรอบการพัฒนาโดฮา

2.c ใช้มาตรการเพื่อสร้างหลักประกันว่าตลาดโภคภัณฑ์อาหาร และตลาดอนุพันธ์สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลของตลาด รวมถึงข้อมูลคลังสำรองอาหารได้อย่างทันการณ์ เพื่อจำกัดความผันผวนของราคาอาหารอย่างรุนแรง

3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย

3.1 ลดอัตราการตายของมารดาทั่วโลกให้ต่ำกว่า 70 คนต่อการเกิดมีชีพ 100,000 คน ภายในปี 2573

3.2 ยุติการตายที่ป้องกันได้ของทารกแรกเกิด และเด็นอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยทุกประเทศมุ่งลดอัตราการตายในทารกลงให้ต่ำถึง 12 คน ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน และลดอัตราการตายในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ลงให้ต่ำถึง 25 คน ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน ภายในปี 2573

3.3 ยุติการแพร่ระบาดของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำ และโรคติดต่ออื่น ๆ ภายในปี 2573

3.4 ลดอัตราการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิต และความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี 2573

3.5 เสริมสร้างการป้องกันและการรักษาการใช้สารในทางที่ผิด ซึ่งรวมถึงการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิด และการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่เป็นอันตราย

3.6 ลดจำนวนการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนนทั่วโลกลงครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2563

3.7 สร้างหลักประกันถ้วนหน้าในการเข้าถึงบริการสุขภาวะทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมถึงการวางแผนครอบครัว ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ และการบูรณาการอนามัยการเจริญพันธุ์ในยุทธศาสตร์ และแผนงานระดับชาติ ภายในปี 2573

3.8 บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพมีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้

3.9 ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดินให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี 2573

3.a เพิ่มความเข้มแข็งในการดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญาขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบในทุกประเทศตามความเหมาะสม

3.b สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาวัคซีนและยาสำหรับโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้มีการเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นในราคาที่สามารถซื้อหาได้ตามปฏิญญาโดฮาว่าด้วยความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (TRIPS) และการสาธารณสุข ซึ่งเน้นย้ำสิทธิสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่จะใช้บทบัญญัติในความตกลง TRIPS อย่างเต็มที่ ในเรื่องการผ่อนปรนเพื่อปกป้องสุขภาพสาธารณะและโดยเฉพาะการเข้าถึงยาโดยถ้วนหน้า

3.c เพิ่มการใช้เงินสนับสนุนด้านสุขภาพ และการสรรหา การพัฒนา การฝึกฝนและการเก็บรักษากำลังคนด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก

3.d เสริมขีดความสามารถของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศกำลังพัฒนาในด้านการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพทั้ง ในระดับประเทศและระดับโลก

4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4.1 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียม และไม่มีค่าใช้จ่ายนำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิผล ภายในปี 2573

4.2 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนเข้าถึงการพัฒนา การดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กเหล่าน้นั มีความพร้อมสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา ภายในปี 2573

4.3 สร้างหลักประกันให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถจ่ายได้ ภายในปี 2573

4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่เกี่ยวข้องจำเป็น รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่มีคุณค่า และการเป็นผู้ประกอบการ ภายในปี 2573

4.5 ขจัดความเหลื่อมล้ำทางเพศด้านการศึกษา และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบางซึ่ง รวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็กในสถานการณ์เปราะบางเข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม ภายในปี 2573

4.6 สร้างหลักประกันว่าเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงในสัดส่วนสูงสามารถอ่านออกเขียนได้และคำนวณได้ ภายในปี 2573

4.7 สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการศึกษาสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน การมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืนสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและการไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก การชื่นชมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการที่วัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ย่งั ยืน ภายในปี 2573

4.a สร้างและยกระดับสถานศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษาที่อ่อนไหวต่อเด็ก ผู้พิการ และเพศภาวะ และจัดให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ปราศจากความรุนแรง ครอบคลุมและมีประสิทธิผลสำหรับทุกคน

4.b เพิ่มจำนวนทุนการศึกษาทั่วโลกที่ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็กและประเทศในทวีปแอฟริกา เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา รวมถึงการฝึกอาชีพ และโปรแกรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านเทคนิค ด้านวิศวกรรมและด้านวิทยาศาสตร์ ในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ภายในปี 2563

4.c เพิ่มจำนวนครูที่มีคุณวุฒิ รวมถึงการดำเนินการผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศในการฝึกอบรมครูในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ภายในปี 2573

5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและเสริมพลังแก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน

5.1 ยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกที่

5.2 ขจัดความรุนแรงทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงทั้งในที่สาธารณะและที่รโหฐาน รวมถึงการค้ามนุษย์ การกระทำทางเพศและการแสวงประโยชน์ในรูปแบบอื่น

5.3 ขจัดแนวปฏิบัติที่เป็นภัยทุกรูปแบบ อาทิ การแต่งงานในเด็กก่อนวัยอันควรโดยการบังคับ และการทำลายอวัยวะเพศหญิง

5.4 ยอมรับและให้คุณค่าต่อการดูแลและการทำงานบ้านแบบไม่ได้รับค่าจ้างโดยจัดเตรียมบริการสาธารณะ โครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายการคุ้มครองทางสังคมและสนับสนุนความรับผิดชอบร่วมกันภายในครัวเรือน และครอบครัว ตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ

5.5 สร้างหลักประกันว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ มีประสิทธิผลและมีโอกาสที่เท่าเทียมในการเป็นผู้นำในทุกระดับของการตัดสินใจทางการเมืองเศรษฐกิจ และภาคสาธารณะ

5.6 สร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ และสิทธิด้านการเจริญพันธุ์โดยถ้วนหน้า ตามที่ตกลงในแผนปฏิบัติการของการประชุมนานาชาติว่าด้วยประชากรและการพัฒนา และแผนปฏิบัติการปักกิ่ง และเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมทบทวนเหล่านั้น

5.a ดำเนินการปฏิรูปเพื่อให้ผู้หญิงมีสิทธิเท่าเทียมในทรัพยากรเศรษฐกิจรวมทั้งการเป็นเจ้าของที่ดิน การควบคุมที่ดินและทรัพย์สินในรูปแบบอื่น การบริหารทางการเงิน การรับมรดก และทรัพยากรธรรมชาติตามกฎหมายของประเทศ

5.b เพิ่มพูนการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการให้อำนาจแก่ผู้หญิง

5.c เลือกใช้และเสริมความเข้มแข็งแก่นโยบายที่ดี และกฎระเบียบที่บังคับใช้ได้เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการให้อำนาจแก่ผู้หญิง และเด็กหญิงทุกคนในทุกระดับ

6 สร้างหลักประกันเรื่องน้ำ และการสุขาภิบาล ให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน

6.1 บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัย และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ ภายในปี 2573

6.2 บรรลุเป้าหมายการให้ทุกคนเข้าถึงการสุขาภิบาลและสุขอนามัยที่เพียงพอและเท่าเทียม และยุติการขับถ่ายในที่โล่ง โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อความต้องการของผู้หญิง เด็กหญิง และผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง ภายในปี 2573

6.3 ปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยการลดมลพิษ ขจัดการทิ้ง และลดการปล่อยสารเคมีอันตรายและวัตถุอันตราย ลดสัดส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่และการใช้ซ้ำที่ปลอดภัยทั่วโลก ภายในปี 2573

6.4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และลดจำนวนประชากรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ภายในปี 2573

6.5 ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวมในทุกระดับ รวมถึงผ่านความร่วมมือข้ามเขตแดนตามความเหมาะสม ภายในปี 2573

6.6 ปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ รวมถึงภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ชั้นหินอุ้มน้ำและทะเลสาบ ภายในปี 2563

6.a ขยายความร่วมมือระหว่างประเทศและสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในแผนงานและกิจกรรมด้านน้ำ และการสุขาภิบาล ซึ่งรวมถึงการเก็บกักน้ำ การขจัดเกลือ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ การบำบัดน้ำเสีย เทคโนโลยีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ภายในปี 2573

6.b สนับสนุนและเพิ่มความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการปรับปรุงการจัดการน้ำและการสุขาภิบาล

7 สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน

7.1 สร้างหลักประกันว่ามีการเข้าถึงบริการพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้และเชื่อถือได้โดยถ้วนหน้า ภายในปี 2573

7.2 เพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนพลังงานของโลก (global energy mix) ภายในปี 2573

7.3 เพิ่มอัตราการปรับปรุงด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโลกให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายในปี 2573

7.a ยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการวิจัยและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด โดยรวมถึงพลังงานหมุนเวียน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และเทคโนโลยีเชื้อเพลิงฟอสซิลชั้นสูงและสะอาดขึ้น และสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ภายในปี 2573

7.b ขยายโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้บริการพลังงานสมัยใหม่ และยั่งยืนโดยถ้วนหน้าในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก โดยให้สอดคล้องกับโครงการสนับสนุนของประเทศเหล่านั้น ภายในปี 2573

8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืนการจ้างงานเต็มที่ และมีผลิตภาพและการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน

8.1 ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อหัวประชากรมีความยั่งยืนตามบริบทของประเทศ

8.2 พัฒนาเศรษฐกิจให้มีผลิตภาพการผลิตที่สูงขึ้นผ่านการสร้างความหลากหลายการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการมุ่งเน้นภาคการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น

8.3 ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพการสร้างงานที่มีคุณค่า ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม และให้การสนับสนุนการรวมตัวและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ผ่านการเข้าถึงบริการทางการเงิน

8.4 ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของโลกในการบริโภคและการผลิตอย่างต่อเนื่อง และพยายามที่จะแยกการเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามกรอบการดำเนินงาน 10 ปี ว่าด้วยการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนโดยมีประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำในการดำเนินการไปจนถึงปี 2573

8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคนรวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายค่าจ้างท่เี ท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี 2573

8.6 ลดสัดส่วนของเยาวชนที่ไม่มีงานทำ ไม่มีการศึกษา และที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม ภายในปี 2563

8.7 ดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยทันที เพื่อขจัดแรงงานที่ถูกบังคับ ยุติความเป็นทาสสมัยใหม่และการค้ามนุษย์ และยับยั้งและกำจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งรวมถึงการเกณฑ์และการใช้ทหารเด็กและภายในปี 2568 ยุติการใช้แรงงานเด็กในทุกรูปแบบ

8.8 ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงผู้ทำงานต่างด้าว โดยเฉพาะหญิงต่างด้าวและผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย

8.9 ออกแบบและใช้นโยบายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนซึ่งช่วยสร้างงานและส่งเสริมวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ภายในปี 2573

8.10 เสริมความแข็งแกร่งของสถาบันทางการเงินภายในประเทศเพื่อส่งเสริม และขยายการเข้าถึงการธนาคาร การประกัน และบริการทางการเงินแก่ทุกคน

8.a เพิ่มการสนับสนุนในกลไกความช่วยเหลือเพื่อการค้า (Aid for Trade) แก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ซึ่งรวมถึงผ่านกรอบการทำงานแบบบูรณาการสำหรับความช่วยเหลือทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการค้าแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

8.b พัฒนาและดำเนินงานตามยุทธศาสตร์โลกสำหรับการจ้างงานเยาวชนและดำเนินงานตามข้อตกลงเรื่องงานของโลก (Global Jobs Pact) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ภายในปี 2563

9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

9.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ยั่งยืน และมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์โดยมุ่งเป้าที่การเข้าถึงได้ในราคาที่สามารถจ่ายได้และเท่าเทียมสำหรับทุกคน

9.2 ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และภายในปี 2573ให้เพิ่มส่วนแบ่งของอุตสาหกรรมในการจ้างงานและผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศโดยให้เป็นไปตามสภาวะแวดล้อมของประเทศ รวมทั้งให้เพิ่มส่วนแบ่งขึ้นเป็น 2 เท่าในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

9.3 เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยรวมถึงเครดิตในราคาที่สามารถจ่ายได้ของอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งเพิ่มการผนวกกลุ่มเหล่านี้เข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าและตลาด

9.4 ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนโดยมีประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและการใช้เทคโนโลยี และกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยทุกประเทศดำเนินการตามขีดความสามารถของแต่ละประเทศ ภายในปี 2573

9.5 เพิ่มพูนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาและให้ภายในปี 2573 มีการส่งเสริมนวัตกรรมและให้เพิ่มจำนวนผู้ทำงานวิจัยและพัฒนาต่อประชากร 1 ล้านคน และค่าใช้จ่ายทางการวิจัย และพัฒนาของภาครัฐและภาคเอกชน

9.a อำนวยความสะดวกการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศกำลังพัฒนา ผ่านทางการยกระดับการสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยี และด้านวิชาการ ให้แก่ประเทศในแอฟริกา ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก

9.b สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมภายในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงการให้มีสภาพแวดล้อมทางนโยบายที่นำไปสู่ความหลากหลายของอุตสาหกรรมและการเพิ่มมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์

9.c เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และพยายามที่จะจัดให้มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยถ้วนหน้าในราคาที่สามารถจ่ายได้ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ภายในปี 2563

10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ

10.1 บรรลุการเติบโตของรายได้ของกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุดอย่างก้าวหน้าและยั่งยืน โดยให้มีอัตราเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศภายในปี 2573

10.2 ให้อำนาจและส่งเสริมความครอบคลุมด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความบกพร่องทางร่างกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา สถานะทางเศรษฐกิจหรืออื่น ๆ ภายในปี 2573

10.3 สร้างหลักประกันถึงโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์รวมถึงการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติและส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติงานที่หมาะสมในเรื่องดังกล่าว

10.4 นำนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายการคลัง ค่าจ้าง และการคุ้มครองทางสังคมมาใช้และให้บรรลุความเสมอภาคยิ่งขึ้นอย่างก้าวหน้า

10.5 ปรับปรุงกฎระเบียบและการติดตามตรวจสอบตลาดการเงินและสถาบันการเงินของโลก และเสริมความแข็งแกร่งในการดำเนินการตามกฎระเบียบดังกล่าว

10.6 สร้างหลักประกันว่าจะมีตัวแทนและเสียงสำหรับประเทศกำลังพัฒนาในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจและสถาบันการเงินระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เป็นสถาบันที่มีประสิทธิผล น่าเชื่อถือ มีความรับผิดชอบ และมีความชอบธรรมมากขึ้น

10.7 อำนวยความสะดวกในการโยกย้ายถิ่นฐานและเคลื่อนย้ายของคนให้เป็นไปด้วยความสงบ ปลอดภัย เป็นไปตามระเบียบ และมีความรับผิดชอบ รวมถึงให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายด้านการอพยพที่มีการวางแผนและการจัดการที่ดี

10.a ปฏิบัติตามหลักการที่เป็นลักษณะพิเศษและแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดให้สอดคล้องตามข้อตกลงองค์การการค้าโลก

10.b สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA)และการไหลของเงิน รวมถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไปยังรัฐที่มีความจำเป็นมากที่สุดโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ประเทศแถบแอฟริกา รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก และประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล โดยให้สอดคล้องกับแผนและแผนงานของประเทศเหล่านั้น

10.c ลดค่าธรรมเนียมการส่งเงินกลับประเทศของแรงงานย้ายถิ่น (migrant remittance) ให้ต่ำกว่าร้อยละ 3 และขจัดการชำระเงินระหว่างประเทศที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าร้อยละ 5 ภายในปี 2573

 

11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน

11.1 สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงที่อยู่อาศัยและการบริการพื้นฐานที่เพียงพอ ปลอดภัย ในราคาที่สามารถจ่ายได้ และยกระดับชุมชนแออัดภายในปี 2573

11.2 จัดให้มีการเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน เข้าถึงได้ และปลอดภัยในราคาที่จ่ายได้สำหรับทุกคน ปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน ขยายการขนส่งสาธารณะ โดยให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง อาทิ สตรี เด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายในปี 2573

11.3 ยกระดับการพัฒนาเมืองให้ครอบคลุมและยั่งยืน รวมทั้งเพิ่มพูนความสามารถในการบริหารจัดการและวางแผนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างยั่งยืน บูรณาการ และมีส่วนร่วม ในทุกประเทศภายในปี 2573

11.4 เสริมความพยายามที่จะปกป้องและคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ

11.5 ลดจำนวนการตายและจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบและลดการสูญเสียโดยตรงทางเศรษฐกิจเทียบเคียงกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั่วโลก ที่เกิดจากภัยพิบัติ ซึ่งรวมถึงภัยพิบัติที่เกี่ยวกับน้ำ โดยมุ่งคุ้มครองกลุ่มคนยากจน และผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง ภายในปี 2573

11.6 ลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากรซึ่งเกิดจากการเติบโตของเขตเมือง รวมถึงให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศ และการจัดการขยะชุมชน และของเสียอื่น ๆ ภายในปี 2573

11.7 จัดให้มีการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะสีเขียวที่ปลอดภัย ครอบคลุม และเข้าถึงได้โดยถ้วนหน้า โดยเฉพาะเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ภายในปี 2573

11.a สนับสนุนการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ระหว่างพื้นที่เมือง ชานเมือง และชนบท โดยเสริมความเข้มแข็งในการวางแผนพัฒนาระดับภูมิภาคและระดับชาติ

11.b เพิ่มจำนวนเมืองและถิ่นฐานของมนุษย์ที่สนองรับและดำเนินการตามนโยบายและแผนที่บูรณาการ เพื่อให้เกิดความครอบคลุม การใช้ทรัพยากรอย่างประสิทธิภาพ การลดผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการมีภูมิต้านทานต่อภัยพิบัติ ตลอดจนพัฒนาและดำเนินการตามหลักการบริหารความเสี่ยงจากภัยพิบัติแบบองค์รวมในทุกระดับ โดยเป็นไปตามกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558 – 2573

11.c สนับสนุนประเทศพัฒนาน้อยที่สุดผ่านทางความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการในการพัฒนาสิ่งปลูกสร้างที่ยั่งยืนและมีความต้านทาน และยืดหยุ่นโดยใช้วัสดุท้องถิ่น

12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

12.1 ดำเนินการให้เป็นผลตามกรอบการดำเนินงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยแบบแผนการผลิต และการบริโภคที่ยั่งยืน ทุกประเทศนำไปปฏิบัติโดยประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำ โดยคำนึงถึงการพัฒนาและขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนา

12.2 บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี 2573

12.3 ลดขยะอาหารของโลกในระดับค้าปลีกและผู้บริโภคลงครึ่งหนึ่ง และลดการสูญเสียอาหารตลอดกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี 2573

12.4 บรรลุเรื่องการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดตลอดวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้นด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ตกลงร่วมกัน และลดการปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกสู่อากาศ น้ำ และดินอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจะลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมภายในปี 2563

12.5 ลดการเกิดของเสียอย่างมีนัยสำคัญด้วยการป้องกัน การลดปริมาณ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ภายในปี 2573

12.6 สนับสนุนให้บริษัท โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่รับแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้ และผนวกข้อมูลด้านความยั่งยืนไว้ในรอบการรายงานของบริษัทเหล่านั้น

12.7 ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืนตามนโยบายและการให้ลำดับความความสำคัญของประเทศ

12.8 สร้างหลักประกันว่าประชาชนในทุกแห่งมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องและมีความตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนและวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ภายในปี 2573

12.a สนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการเสริมความแข็งแกร่งของขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตะขับเคลื่อนไปสู่แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

12.b พัฒนาและดำเนินการใช้เครื่องมือเพื่อติดตามผลกระทบของการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อการท่องเที่ยวที่่ยั่งยืนที่มีการสร้างงานและส่งเสริมวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

12.c ทำให้การอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไร้ประสิทธิภาพและนำไปสู่การบริโภคที่สิ้นเปลือง มีความสมเหตุสมผล โดยกำจัดการบิดเบือนทางการตลาดโดยให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมของประเทศ รวมถึงการปรับโครงสร้างภาษีและยกเลิกการอุดหนุนที่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบเหล่านั้น เพื่อสะท้อนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงอย่างเต็มที่ถึงความจำเป็นและเงื่อนไขเฉพาะของประเทศกำลังพัฒนาและลดผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นต่อการพัฒนาของประเทศเหล่านั้นในด้านการคุ้มครองคนยากจนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น

13.1 เสริมสร้างภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ

13.2 บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบายยุทธศาสตร์ และการจัดทำแผนระดับชาติ

13.3 พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์ และของสถาบันในเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวและการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเตือนภัยล่วงหน้า

13.a ดำเนินการให้เกิดผลตามพันธกรณีที่ผูกพันต่อประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีเป้าหมายร่วมกันระดมทุนจากทุกแหล่งให้ได้จำนวน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี 2563 เพื่อสนองความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา ภายใต้บริบทของการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจนและมีความโปร่งใสในการดำเนินงาน ตลอดจนทำให้กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund) ดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบผ่านการระดมทุนโดยเร็วที่สุด

13.b ส่งเสริมกลไกที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนและการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิผลในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และให้ความสำคัญต่อผู้หญิง เยาวชน และชุมชนท้องถิ่นและชายขอบ

14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

14.1 ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะจากกิจกรรมบนแผ่นดิน รวมถึงเศษซากขยะในทะเล และมลพิษจากธาตุอาหาร (nutrient pollution) ภายในปี 2568

14.2 บริหารจัดการและปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบที่มีนัยสำคัญ รวมถึงการเสริมภูมิต้านทานและปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟูเพื่อบรรลุการมีมหาสมุทรที่มีสุขภาพดีและมีผลิตภาพ ภายในปี 2563

14.3 ลดและแก้ปัญหาผลกระทบของการเป็นกรดในมหาสมุทร โดยรวมถึงผ่านการเพิ่มพูนความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ในทุกระดับ

14.4 ภายในปี 2563 ให้กำกับการทำการประมงอย่างมีประสิทธิผล และยุติการประมงเกินขีดจำกัด การประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และแนวปฏิบัติด้านการประมงที่เป็นไปในทางทำลาย รวมทั้ง ดำเนินการให้เป็นผลตามแผนการบริหารจัดการที่อยู่บนฐานวิทยาศาสตร์ เพื่อจะฟื้นฟูมวลสัตว์น้ำ (fish stock) อย่างน้อยที่สุดให้อยู่ในระดับผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (maximum sustainable yield) ตามคุณลักษณะทางชีววิทยาของสัตว์น้ำเหล่านั้น ภายในเวลาที่สั้นที่สุดที่จะเป็นไปได้

14.5 ภายในปี 2563 อนุรักษ์พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งอย่างน้อยร้อยละ 10โดยให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศและภายในประเทศ และอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่

14.6 ภายในปี 2563 ยับยั้งการอุดหนุนการประมงบางรูปแบบที่มีส่วนทำให้เกิดการประมงเกินขีดจำกัด ขจัดการอุดหนุนที่มีส่วนทำให้เกิดการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และระงับการริเริ่มการอุดหนุนในลักษณะดังกล่าว โดยตระหนักว่าการปฏิบัติที่เป็นพิเศษ และแตกต่างที่เหมาะสมและมีประสิทธิผลสำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ควรเป็นส่วนควบในการเจรจาการอุดหนุนการประมงขององค์การการค้าโลก

14.7 ภายในปี 2573 เพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และประเทศกลุ่มพัฒนาน้อยที่สุดจากการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน รวมถึงผ่านทางการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนในด้านการประมงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการท่องเที่ยว

14.a เพิ่มความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเล โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทะเลของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ เพื่อจะพัฒนาความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทรและเพิ่มพูนให้ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และประเทศกลุ่มพัฒนาน้อยที่สุด

14.b ให้ชาวประมงพื้นบ้านรายเล็กเข้าถึงทรัพยากรทางทะเลและตลาด

14.c เพิ่มพูนการอนุรักษ์และการใช้มหาสมุทรและทรัพยากรอย่างยั่งยืนโดยการดำเนินการให้เกิดผลตามกฎหมายระหว่างประเทศตามที่สะท้อนใน UNCLOS ซึ่งเป็นกรอบทางกฎหมายสำหรับการอนุรักษ์และการใช้มหาสมุทรและทรัพยากรเหล่านั้นอย่างยั่งยืน ตามที่ระบุในวรรค 158 ของเอกสาร The Future We Want

15 ปกป้องฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดิน และฟื้นฟูสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

15.1 สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ระบบนิเวศบนบก และแหล่งน้ำ ในแผ่นดินรวมทั้งบริการจากระบบนิเวศอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ ภูเขาและเขตแห้งแล้ง โดยเป็นไป ตามข้อบังคับภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ ภายในปี 2563

15.2 ส่งเสริมการดำเนินการด้านการบริหารจัดการป่าไม้ทุกประเภทอย่างยั่งยืน หยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม และเพิ่มการปลูกป่า และฟื้นฟูป่าทั่วโลกอย่างจริงจัง ภายในปี 2563

15.3 ต่อต้านการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ฟื้นฟูที่ดินและดินที่เสื่อมโทรมรวมถึงที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ภัยแล้ง และอุทกภัย และพยายามที่จะบรรลุความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืน ภายในปี 2573

15.4 สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ระบบนิเวศภูเขา และความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศเหล่านั้น เพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถของระบบนิเวศในการสร้างผลประโยชน์อันสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี 2573

15.5 ปฏิบัติการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ภายในปี 2563ปกป้อง และป้องกันการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม

15.6 ส่งเสริมการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม และส่งเสริมการเข้าถึงทรัพยากรเหล่านั้นอย่างเหมาะสม ตามความตกลงระหว่างประเทศ

15.7 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อจะยุติการลักลอบล่าและค้าชนิดพันธุ์พืช และสัตว์คุ้มครองและแก้ปัญหาทั้งอุปสงค์และอุปทานของผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย

15.8 นำใช้มาตรการเพื่อป้องกันการนำเข้าและลดผลกระทบของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในระบบนิเวศบกและน้ำ และควบคุมหรือกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีลำดับความสำคัญสูง (priority species) ภายในปี 2563

15.9 บูรณาการคุณค่าของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเข้าสู่การจัดทำแผนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ กระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์การขจัดความยากจน และการจัดทำบัญชีประชาชาติ ภายในปี 2563

15.a ระดมและเพิ่มทรัพยากรทางการเงินจากทุกแหล่ง เพื่ออนุรักษ์ และใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

15.b ระดมทรัพยากรจากทุกแหล่งและทุกระดับเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการบริหารจัดการ ซึ่งรวมถึงการอนุรักษ์และการปลูกป่า

15.c เพิ่มพูนการสนับสนุนในระดับโลกด้านการต่อสู้กับการลักลอบล่าและค้าชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครอง รวมถึงโดยการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการแสวงหาโอกาสในการดำรงชีพอย่างยั่งยืน

16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ

16.1 ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

16.2 ยุติการข่มเหง การใช้หาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และความรุนแรงและการทรมานทุกรูปแบบที่มีต่อเด็ก

16.3 ส่งเสริมนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน

16.4 ลดการลักลอบเคลื่อนย้ายอาวุธและเงิน เสริมความแข็งแกร่งของกระบวนการติดตามและการส่งคืนสินทรัพย์ที่ถูกขโมยไป และต่อสู้กับอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรทุกรูปแบบ ภายในปี 2573

16.5 การลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ

16.6 พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ และโปร่งใสในทุกระดับ

16.7 สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ

16.8 ขยายและเสริมความแข็งแกร่งของการมีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนาในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลโลก

16.9 จัดให้มีอัตลักษณ์ทางกฎหมายสำหรับทุกคน โดยรวมถึงการให้มีการจดทะเบียนเกิด (สูติบัตร) ภายในปี 2573

16.10 สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายภายในประเทศและข้อตกลงระหว่างประเทศ

16.a เสริมความแข็งแกร่งของสถาบันระดับชาติที่เกี่ยวข้อง โดยรวมถึงกระทำผ่านทางความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสร้างขีดความสามารถในทุกระดับ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อจะป้องกันความรุนแรง และต่อสู้กับการก่อการร้าย และอาชญากรรม

16.b ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

17 เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงาน และฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

17.1 เสริมความเข้มแข็งของการระดมทรัพยากรภายในประเทศ โดยรวมถึงการสนับสนุนระหว่างประเทศไปยังประเทศกำลังพัฒนา เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถของประเทศในการเก็บภาษีและรายได้อื่นของรัฐ

17.2 ประเทศพัฒนาแล้วจะดำเนินการให้เป็นผลตามพันธกรณีเรื่องการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) อย่างเต็มที่ โดยรวมถึงพันธกรณีที่ให้ไว้โดยประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศที่จะบรรลุเป้าหมายการมีสัดส่วน ODA/GNI ที่ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา ร้อยละ 0.7 และมีสัดส่วน ODA/GNI ที่ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ร้อยละ 0.15 ถึง 0.20 โดยผู้ให้ ODA ควรพิจารณาตั้งเป้าหมายที่จะให้มีสัดส่วน ODA/GNI ที่ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

17.3 ระดมทรัพยากรทางการเงินสำหรับประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มเติมจากแหล่งที่หลากหลาย

17.4 ช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการบรรลุความยั่งยืนของหนี้ระยะยาว โดยใช้นโยบายที่ประสานงานกันที่มุ่งส่งเสริมการจัดหาเงินทุนโดยการก่อหนี้ การบรรเทาหนี้ และการปรับโครงสร้างหนี้ตามความเหมาะสม และแก้ปัญหาหนี้ต่างประเทศของประเทศยากจนที่มีหนี้สินในระดับสูงเพื่อลดการประสบปัญหาหนี้

17.5 ใช้และดำเนินการให้เกิดผลตามระบอบการส่งเสริมการลงทุนสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

17.6 ส่งเสริมความร่วมมือเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคีในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ และการเข้าถึงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ตามข้อตกลงร่วมกัน โดยรวมถึงการปรับปรุงกลไกประสานงานที่มีอยู่ โดยเฉพาะระดับสหประชาชาติ และผ่านกลไกการอำนวยความสะดวกทางเทคโนโลยีระดับโลก

17.7 ส่งเสริมการพัฒนา การถ่ายทอด การเผยแพร่ และการกระจายของเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาบนข้อตกลงภายใต้เงื่อนไขที่อำนวยประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งตามเงื่อนไขสิทธิพิเศษตามที่ตกลงร่วมกัน

17.8 ให้ธนาคารเทคโนโลยีและกลไกการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสาหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ทำงานได้อย่างเต็มที่ภายในปี 2560 และเพิ่มพูนการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

17.9 เพิ่มพูนการสนับสนุนระหว่างประเทศสำหรับการดำเนินการด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถที่มีประสิทธิผลและมีการตั้งเป้าในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนแผนระดับชาติที่จะดำเนินงานในทุกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงผ่านทางความร่วมมือแบบเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี

17.10 ส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีที่เป็นสากล มีกติกา เปิดกว้าง ไม่เลือกปฏิบัติ และเสมอภาค ภายใต้องค์การการค้าโลกโดยรวมถึงผ่านข้อสรุปของการเจรจาภายใต้วาระการพัฒนารอบโดฮา

17.11 เพิ่มส่วนแบ่งการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยมุ่งเพิ่มส่วนแบ่งของประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในการส่งออกทั่วโลกให้สูงขึ้น 2 เท่าในปี 2563

17.12 ทำให้เกิดการดำเนินการในเวลาที่เหมาะสมในเรื่องการเข้าถึงตลาดปลอดภาษีและปลอดการจำกัดปริมาณในระยะยาวสำหรับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยให้สอดคล้องกับคำตัดสินขององค์การการค้าโลก โดยรวมถึงการสร้างหลักประกันว่ากฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าที่มีการให้สิทธิพิเศษทางการค้าที่ใช้กับประเทศพัฒนาน้อยที่สุดจะมีความโปร่งใสเรียบง่าย และมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงตลาด

17.13 เพิ่มเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคผ่านการประสานนโยบาย

17.14 ยกระดับความสอดคล้องเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

17.15 เคารพพื้นที่ทางนโยบายและความเป็นผู้นำของแต่ละประเทศที่จะสร้างและดำเนินงานตามนโยบายเพื่อการขจัดความยากจน และการพัฒนาที่ยั่งยืน

17.16 ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการเสริมสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือหลายภาคส่วนในการระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และทรัพยากรเงิน เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา

17.17 สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาสังคม โดยต่อยอดจากประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านจัดหาทรัพยากรของหุ้นส่วน

17.18 ยกระดับการสนับสนุนด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ให้เพิ่มการมีอยู่ของข้อมูลที่มีคุณภาพ ทันเวลาและเชื่อถือได้ จำแนกตามรายได้ เพศ อายุ เชื้อชาติชาติพันธุ์ สถานะการอพยพ ความพิการ ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามบริบทของประเทศ ภายในปี 2563

17.19 ต่อยอดจากข้อริเริ่มที่มีอยู่แล้วในการพัฒนาตัวชี้วัดความก้าวหน้าของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และสนับสนุนการสร้างขีดความสามารถด้านสถิติในประเทศกำลังพัฒนา ภายในปี 2573