06-05042022

โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก

ชื่องาน : โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก

ที่มาและความสำคัญ : พื้นที่ตำบลท่าสองยางเป็นพื้นที่ตะเข็บชายแดนติดต่อกับประเทศพม่ามีความหลากหลายทางประชากร มีปัญหาที่ต้องการการจัดการอย่างเร่งด่วนหลายประการคือ (1) ปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะในกลุ่มแม่และเด็ก การคลอดก่อนกำหนด เด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อแรกคลอด ภาวะทุพโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์และเด็กทำให้ขาดการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการระบาดของโรคติดเชื้อสูง เช่น ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย Chikungunya  Scrub typhus (2) ปัญหาสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะที่ไม่เหมาะสมทำให้เป็นแหล่งรังโรค เนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เกษตรกรมีการใช้สารเคมีสูงทำให้เกิดการปนเปื้นของสารเคมีในผัก ผลไม้ และแหล่งน้ำ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องการการบริหารจัดการแบบบูรณาการอย่างเหมาะสมและเป็นระบบเพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

หัวข้อในการสัมมนา :

สถานที่จัดงาน : ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นผู้ดูแลโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย และคอยประสานงานการจัดโครงการ/กิจกรรม ภายในโครงการฯ

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน :

1.เกิดการจ้างงานแก่ประชาชน บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา และฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนและสร้างเครือข่ายด้านการศึกษาและวิจัยในชุมช

2. พัฒนาแผนงานอนามัยแบบบูรณาการในการดูแลคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์และเด็กในช่วงมหัศจรรย์ 1,000 วันแรก เพื่อให้ลูกที่เกิดมารอด มารดาปลอดภัย และเด็กมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ

3. พัฒนางานอนามัยโรงเรียนอย่างเป็นองค์รวม (School health) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลสุขภาวะของเด็ก

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 1 – 100 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : 1 ก.พ. 64 – 30 ธ.ค. 64

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :

  1. เชิงปริมาณ

   1.1 พัฒนาแผนงานอนามัยแบบบูรณาการในการดูแลคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์และเด็กในช่วงมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกโดยมี

         – ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบทั้ง 5 ครั้งเพิ่มขึ้น 60%

        – ร้อยละของการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ลดลง 80%

        – ร้อยละของเด็กแรกคลอดมีน้ำหนักเกิน 2500 กรัม และความยาวไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร เพิ่มขึ้น

        – ร้อยละของเด็กในช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ที่มีภาวะโลหิตจางลดลง

  1.2 ร้อยละของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อ เช่น ไข้เลือดออก ท้องเสีย เข้ารับการรักษาโรคลดลงเกิน 20 % ในปี พ.ศ. 2564

  1.3 เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน คือ เกิดการจ้างงานนักศึกษาจำนวน 5 คน บัณฑิตจบใหม่จำนวน 10 คนและประชาชนทั่วไปจำนวน 5 คน

2. เชิงคุณภาพ 

  2.1 มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นจากการพัฒนาการด้านอนามัยแม่และเด็กและการได้รับความรู้ด้านโภชนาการที่ดี

Web site/link : https://www.youtube.com/watch?v=k3GdGb_DMPA

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 1 , 3 

Tags: No tags

Comments are closed.