06-05042022

โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก

ชื่องาน : โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก

ที่มาและความสำคัญ : พื้นที่ตำบลท่าสองยางเป็นพื้นที่ตะเข็บชายแดนติดต่อกับประเทศพม่ามีความหลากหลายทางประชากร มีปัญหาที่ต้องการการจัดการอย่างเร่งด่วนหลายประการคือ (1) ปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะในกลุ่มแม่และเด็ก การคลอดก่อนกำหนด เด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อแรกคลอด ภาวะทุพโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์และเด็กทำให้ขาดการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการระบาดของโรคติดเชื้อสูง เช่น ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย Chikungunya  Scrub typhus (2) ปัญหาสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะที่ไม่เหมาะสมทำให้เป็นแหล่งรังโรค เนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เกษตรกรมีการใช้สารเคมีสูงทำให้เกิดการปนเปื้นของสารเคมีในผัก ผลไม้ และแหล่งน้ำ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องการการบริหารจัดการแบบบูรณาการอย่างเหมาะสมและเป็นระบบเพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

หัวข้อในการสัมมนา :

สถานที่จัดงาน : ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นผู้ดูแลโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย และคอยประสานงานการจัดโครงการ/กิจกรรม ภายในโครงการฯ

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน :

1.เกิดการจ้างงานแก่ประชาชน บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา และฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนและสร้างเครือข่ายด้านการศึกษาและวิจัยในชุมช

2. พัฒนาแผนงานอนามัยแบบบูรณาการในการดูแลคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์และเด็กในช่วงมหัศจรรย์ 1,000 วันแรก เพื่อให้ลูกที่เกิดมารอด มารดาปลอดภัย และเด็กมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ

3. พัฒนางานอนามัยโรงเรียนอย่างเป็นองค์รวม (School health) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลสุขภาวะของเด็ก

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 1 – 100 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : 1 ก.พ. 64 – 30 ธ.ค. 64

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :

  1. เชิงปริมาณ

   1.1 พัฒนาแผนงานอนามัยแบบบูรณาการในการดูแลคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์และเด็กในช่วงมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกโดยมี

         – ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบทั้ง 5 ครั้งเพิ่มขึ้น 60%

        – ร้อยละของการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ลดลง 80%

        – ร้อยละของเด็กแรกคลอดมีน้ำหนักเกิน 2500 กรัม และความยาวไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร เพิ่มขึ้น

        – ร้อยละของเด็กในช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ที่มีภาวะโลหิตจางลดลง

  1.2 ร้อยละของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อ เช่น ไข้เลือดออก ท้องเสีย เข้ารับการรักษาโรคลดลงเกิน 20 % ในปี พ.ศ. 2564

  1.3 เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน คือ เกิดการจ้างงานนักศึกษาจำนวน 5 คน บัณฑิตจบใหม่จำนวน 10 คนและประชาชนทั่วไปจำนวน 5 คน

2. เชิงคุณภาพ 

  2.1 มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นจากการพัฒนาการด้านอนามัยแม่และเด็กและการได้รับความรู้ด้านโภชนาการที่ดี

Web site/link : https://www.youtube.com/watch?v=k3GdGb_DMPA

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 1 , 3 

03-05042022

โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

ชื่องาน :โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

ที่มาและความสำคัญ :

ตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก เป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดิน รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมมนเกือบเป็นรูปวงกลม ตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขาทางทิศใต้เขาขวางและเขาดอนคา บริเวณโดยรอบมีทางน้ำไหลผ่าน กล่าวคือ ทางด้านตะวันออกมีห้วยน้ำใส หรือห้วยตะโก ทางด้านทิศใต้มีห้วยวังแรง และคลองปลาหมอ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ และพบว่ามีการขุดทางน้ำทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อเชื่อมต่อกับห้วยวังแรงและคลองปลาหมอ

    นอกจากทางน้ำธรรมชาติแล้ว นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือยังปรากฏอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดยมีแนวคันดินที่เชื่อมระหว่างเขาโรงและเขาพนมฉัตร ความกว้างของคันดิน ประมาณ 20-25 เมตร สูงประมาณ 7 เมตร

     จากการสำรวจของกรมศิลปากร ระหว่างวันที่ 20-30 สิงหาคม 2540 พบว่าทางทิศเหนือของเขาขวางและเขาดอนคา ยังปรากฏแนวสันเขื่อนกั้นน้ำบริเวณบ้านเขาล้อ โดยจะเชื่อมระหว่างเขาขวาง และเขาพนมฉัตร ความกว้างของสันเขื่อนประมาณ 20-25 เมตร สูงประมาณ 7 เมตร

หัวข้อในการสัมมนา :

  1. อบรมเชิงปฏิบัติการระยะสั้น เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุเบื้องต้น
  2. กิจกรรมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย

สถานที่จัดงาน : ตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

บทบาทของหน่วยงาน :เป็นผู้ดูแลโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย และคอยประสานงานการจัดโครงการ/กิจกรรม ภายในโครงการฯ

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน :

  1. โครงการฝึกอบรมอาชีพผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ สำหรับประชาชนทั่วไปในพื้นที่ตำบลดอนคาและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจและสร้างจิตบริการ สามารถปฏิบัติดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามหลักการพยาบาลเบื้องต้นได้ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมยุคปัจจุบัน โดยได้ร่วมกันดำเนินการจัด โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการระยะสั้น เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุเบื้องต้น ระหว่างวันที่ 10 – 12 มีนาคม 2564 ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

  2. โครงการ แจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย เมื่อวันที่ 30 กันยายน และ 1 ตุลาคม 2564 น้องในโครงการU2T ได้ร่วมกันแพ็คของใช้ เครื่องดื่มและอาหารแห้ง เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมที่หมู่บ้านวังแรง หมู่บ้านใหม่ลำตะคองและหมู่บ้านคอกควายใหญ่ ตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 100 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม :

  1. โครงการฝึกอบรมอาชีพผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ วันที่ 10 – 12 มีนาคม 2564
  2. โครงการ แจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย วันที่ 30 กันยายน และ 1 ตุลาคม 2564

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :

  1. ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ
  2. ประชาชนได้รับการช่วยเหลือจากถุงยังชีพ ที่น้อง ๆในโครงการร่วมกันแพ็คของเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : ผู้ที่ได้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามหลักการพยาบาลเบื้องต้นได้ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Web site/link : https://u2t-donka.com/about-us/

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 1 , 3 

01-05042022

โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสุขอนามัยเพื่อชุมชนชาวม่วงชุม

ชื่องาน :โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสุขอนามัยเพื่อชุมชนชาวม่วงชุม

ที่มาและความสำคัญ : ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นชุมชนใกล้เมืองขนาดเล็กพื้นที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอท่าม่วง 8 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอกาญจนบุรีประมาณ 20 กิโลเมตร ข้อมูล ณ เดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2562 ประกอบไปด้วย 5 หมู่บ้าน 7 ชุมชน 2,562 ครัวเรือน และมีจำนวนประชากรเพียง   5, 761 คน อายุน้อยกว่า 18 ปี จำนวน 1,046 คน อายุระหว่าง 18-60 ปี จำนวน 3,617 คน และอายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 1,087 คน  มีภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 2 แห่ง นักเรียนรวม 149 คน โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1 แห่ง นักเรียนรวม 70 คน มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง มีเด็กรวม 50 คน มีรพ. สต. 1 แห่ง บุคลากรจำนวน 8 คน เป็นชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันดีคือ วัดถ้ำเสือและวัดถ้ำเขาน้อย แม้ว่าตำบลม่วงชุมจะเป็นชุมชนกำลังพัฒนาใหม่ อย่างไรก็ตามชุมชนและประชาชนก็ยังคงประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยปัญหาค่าแรงในพื้นที่ค่อนข้างต่ำ ประชากรต้องออกทำงานรับจ้างนอกพื้นที่ หรือปัญหาการขาดองค์ความรู้ในการพัฒนาหรือสร้างอาชีพใหม่ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศสมัยใหม่ ทำให้ประชาชนต้องปรับตัวด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ อาทิเช่น การใช้สารเคมีหรือการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพื่อการเกษตรกรรม การจัดการขยะในพื้นที่ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้านการอุปโภคและบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากร ทำให้เกิดโรค NCDs หรือโรคติดเชื้อปรสิตอื่น ๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรที่กำลังดำเนินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ จะเห็นได้ว่าปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัญหาที่มีพัฒนาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนสะสมกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องการการบริหารจัดการแบบบูรณาการอย่างเหมาะสมและเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการพัฒนาในด้านทรัพยากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

หัวข้อในการสัมมนา :

  • โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดีมีสุข (กิจกรรมสูงวัยมีพลัง)
  • กิจกรรม Local Wisdom : Sharing with the folk Philosophers and Experts
  • โครงการพัฒนาทักษะการจับจีบผ้าสตรี
  • โครงการพัฒนาสัมมาอาชีพ (ปันอิ่ม ปันสุข U2T ม่วงชุมร่วมใจคลายทุกข์สู้โควิด-19)
  • โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู้รุ่น(ทำน้ำพริกแกง)
  • จัดอบรมออนไลน์ให้ความรู้เรื่อง “สุขภาพและโภชนาการ และโรคหนอนพยาธิที่พบบ่อยและสำคัญทางการแพทย์”
  • โครงการข้าวต้มผัด มัดใต้รวมใจ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และต่อยอดทักษะอาชีพให้ลูกหลานบ้านม่วงชุม

สถานที่จัดงาน : ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

บทบาทของหน่วยงาน :เป็นผู้ดูแลโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย และคอยประสานงานการจัดโครงการ/กิจกรรม ภายในโครงการฯ

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน :

1) การจ้างงานตามภารกิจต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย จำนวน 20 อัตรา

2) การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของโครงการรายตำบล (ระดับ System Integrator)

3) โครงการเสริมสร้างคุณค่าเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาของชุมชน ลักษณะกิจกรรมอบรมความรู้ ทักษะด้านอาชีพ ยกระดับสินค้าชุมชน การดูแลรักษาสุขภาพ อาชีวอนามัย และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและสื่อสารสนเทศสมัยใหม่ ในรูปแบบ “Training of change agent to be the trainers” ทั้งนี้ผู้ถูกจ้างงานในโครงการฯ จำนวน 20 คน และชาวบ้านตำบลท่าม่วง จำนวน 30 คน ผู้ผ่านการอบรมแล้วจะอยู่ในระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น โดยความร่วมมือขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และรพ.สต. บ้านท่าม่วง สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ และทักษะเพื่อให้เกิดการต่อยอดและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในชุมชนอย่างยั่งยืน

4)  โครงการ “นักเรียนประถมศึกษาบ้านท่าม่วง สุขภาพดี ปลอดเหาและพยาธิในลำไส้ 100%” ลักษณะกิจกรรมเป็นการเข้าถึงชุมชนผ่านกิจกรรม “บริการอนามัยโรงเรียน” โดยความร่วมมือของสพฐ. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และรพ.สต. บ้านม่วงชุม เป้าหมายคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดม่วงชุม และโรงเรียนวัดชุกพี้ จำนวนประมาณร้อยละ 80 เพื่อให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในตำบลม่วงชุม สุขภาพดี ปลอดเหาและพยาธิในลำไส้ 100% และสามารถเป็นตัวกลางในการสื่อสารองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ เพื่อการปลอดเหาและพยาธิในลำไส้ให้กับบุคคลในครอบครัว ได้อย่างยั่งยืน งบประมาณ 262,200 บาท

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 200 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : 1 กุมภาพันธ์ 2564 – 30 ธันวาคม 2564

  • โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดีมีสุข วันที่ 9 มีนาคม 2564
  • กิจกรรม Local Wisdom : Sharing with the folk Philosophers and Experts วันที่ 26 มีนาคม 2564
  • โครงการพัฒนาทักษะการจับจีบผ้าสตรี วันที่ 28 มิถุนายน 2564
  • โครงการพัฒนาสัมมาอาชีพ (ปันอิ่ม ปันสุข U2T ม่วงชุมร่วมใจคลายทุกข์สู้โควิด-19) วันที่ 12-14 กันยายน 2564
  • โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู้รุ่น(ทำน้ำพริกแกง) วันที่ 13-15 ตุลาคม 2564
  • โครงการจัดอบรมออนไลน์ให้ความรู้เรื่อง วันที่ 25 ตุลาคม 2564
  • โครงการข้าวต้มผัด มัดใต้รวมใจ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :

1) สร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ในอนาคต ที่เกิดจากกระบวนการจ้างงานและการอบรมของโครงการฯ กับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 5 คน บัณฑิตระดับปริญญาตรีจบใหม่ไม่เกิน 3 ปี จำนวน 10 คน และประชาชนทั่วไป จำนวน 5 คน

2) ประชาชนตำบลม่วงชุม (Change agent) ที่เข้าร่วมและผ่านกิจกรรมของโครงการฯ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในการสร้างรายได้ (Entrepreneurship) และสามารถต่อยอดสร้างสรรค์สินค้าใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการด้านการตลาดของชุมชนไปเป็นอาชีพใหม่

3) ผู้สูงอายุในตำบลบ้านม่วงชุม จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ผ่านการอบรม และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการดูแลรักษาสุขภาพ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ และการสร้างอาชีพอย่างง่าย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ จนนำไปสู่โมเดลของโครงการ คือ “ผู้สูงอายุ วัยสมาร์ท ไม่เป็นภาระของลูกหลาน” โดยความร่วมมือขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และรพ.สต. บ้านม่วงชุม

4) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในตำบลม่วงชุม จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เข้าร่วมโครงการ “นักเรียนประถมศึกษาบ้านท่าม่วง สุขภาพดี ปลอดเหาและพยาธิในลำไส้ 100%” ปลอดเหาและพยาธิในลำไส้ 100% และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับนำไปสู่การปฏิบัติ จนนำไปสู่โมเดลของโครงการ คือ Smart Health Students โดยความร่วมมือขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และรพ.สต. บ้านม่วงชุม

5) ประชาชนตำบลม่วงชุม ที่เข้าร่วมและผ่านกิจกรรมของโครงการฯ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 สามารถนำองค์ความรู้ด้านการป้องกันและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 และโรคติดต่ออื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในชุมชนม่วงชุม นำสู่การปฏิบัติ จนนำไปสู่โมเดลของโครงการคือ Smart Health People โดยความร่วมมือขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และรพ.สต. บ้านม่วงชุม

Web site/link : https://anyflip.com/jfowv/dumd/

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 1 , 3 

100720212

Training Program in Technology of Medicine and Public Health for Health Personnel from the Lao People’s Democratic Republic initiated by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn

ชื่องาน :  Training Program in Technology of Medicine and Public Health for Health Personnel from the Lao People’s Democratic Republic initiated by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn

ที่มาและความสำคัญ : ความร่วมมือของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว
          Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University hosted “The Training Course on Tropical Medicine under the project initiated by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn for doctors from Lao PDR during 1 February – 17 March 2021. Due to current COVID-19 pandemic situation, the training was held online via Zoom Application.

หัวข้อในการสัมมนา :  The Training Course on Tropical Medicine under the project initiated by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn.

สถานที่จัดงาน :  Online training course

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นผู้จัดงาน และมีทีมวิทยากร แลกเปลี่ยนความรู้ การให้คำปรึกษางานวิจัย

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : เพิ่มพูนความรู้ให้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ แก่ สปป. ลาว และเพิ่มความร่วมมือทางงานวิจัยและวิชาการให้มากขึ้น

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :  มากกว่า 30 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม :  1 February – 17 March 2021.

ข้อสรุปที่ได้จากงานสัมมนา(ถ้ามี) : ร่างความร่วมมือ ระหว่างสองประเทศเกี่ยวกับงานพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุข

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : ความร่วมมือในทางวิชาการ งานวิจัย

Web site/link : https://www.tm.mahidol.ac.th/eng/eng-news-event-view.php?news_id=5165

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3 , 4 ,17

jitmm2020

Joint International Tropical Medicine Meeting 2020 (JITMM Virtual 2020)

ชื่องาน :  Joint International Tropical Medicine Meeting 2020 (JITMM Virtual 2020)

ที่มาและความสำคัญ : ความร่วมมือของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อองค์กรระหว่างประเทศ(WHO) และนานาชาติ
          The Joint International Tropical Medicine Meeting (JITMM) is the largest tropical-medicine conference in Southeast Asia. It aims to provide a platform for researchers and health practitioners from around the world to share and discuss the latest developments and trends in tropical medicine, global health, and infectious diseases. JITMM has been held annually for 25 years.
          On 15 December 2020, the opening ceremony, Assst Prof. Dr. Weerapong Phumiratanaprapin, Dean of Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University and Chairperson of Organizing Committee commenced the program with the meeting report, followed by two welcoming addresses from Dr. Opas Karnkawinpong Director-General, Department of Disease Control The Ministry of Public Health, and Prof. Nicholas Day, Director of the Mahidol Oxford Tropical Medicine Research Unit, Thailand (MORU). The meeting is officially opened by Prof. Banchong Bahaisavariya, President of Mahidol University.
          Research Professor Dr. Jetsumon Prachumsri, Vice-chairperson of Organizing Committee introduced keynote speaker Dr. Tedros Adhanom Ghebreyesus , Director-General World Health Organization to deliver the 25th Chumlong-Tranakchit Harinhasuta Lecture.

หัวข้อในการสัมมนา :  “Tropical Disease Control amid the COVID-19 Pandemic”

สถานที่จัดงาน :  Virtual International conference

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นผู้จัดงาน และมีทีมวิทยากร Share ในแต่ละ session แลกเปลี่ยนความรู้ การนำเสนองานวิจัยของบุคลากร และนักศึกษาของคณะ และร่วมแสดงความคิดเห็นกับนักวิจัยจากประเทศต่างๆ มีจำนวน มากกว่า 20 ห้องย่อย

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผลงานวิจัย การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ทันสมัย การแสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเพิ่มศักยภาพความร่วมมือเพิ่มมากขึ้น

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :  นักวิจัยจากทั่วโลก มากกว่า 800 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม :  15-16 ธันวาคม 2563

ข้อสรุปที่ได้จากงานสัมมนา(ถ้ามี) : การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านโรคเขตร้อน โดยเฉพาะการระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส 2019 การได้ข้อมูลที่ทันสมัย เกี่ยวกับการรักษา ตัวยา พฤติกรรมของคน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคเขตร้อน เป็นต้น

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : เพิ่มความสามารถในการวิจัย และความรู้ประสบการณ์ทางวิชาการ การขยายงานวิจัย การสร้างเครือข่ายระหว่างสมาชิก ที่เกี่ยวข้องกับ Tropical diseases

Web site/link :
www.jitmm.com
https://www.jitmm2020.com/

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 1, 2 , 3 , 4 ,17

ss-013-01-20200825

Haze Free Day 2018, the opening ceremony. Welcome speech by Chiangmai Deputy Governor, Opening speech by General Secretary NTRC

ชื่องานสัมมนา : Haze Free Day 2018, the opening ceremony. Welcome speech by Chiangmai Deputy Governor, Opening speech by General Secretary NTRC

ที่มาและความสำคัญ : Particulate matters and health impact in the upper north of Thailand

หัวข้อในการสัมนา : Haze Free day

สถานที่จัดงาน : โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว

หน่วยงานที่ร่วมจัดงาน : วช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เครืข่ายมหาวิทยาลัยวิจัยไทย หอการค้า กาท่องเที่ยวเชียงใหม่

บทบาทของหน่วยงาน : จัด บูท นำเสนอผลงานวิจัย

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : นำเสนอผลงานวิจัย

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :

ข้อสรุปที่ได้จากงานสัมมนา (ถ้ามี) :

ผลลัพธ์ที่ได้จากงานสัมมนา (ถ้ามี) :

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน :

ภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 1, 2, 3, 4, 6, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 17

TM_60th(ENG)_(A4)

The 5th UPHEC conference 2019: The role of Environmental science to support healthy city development in SDG’s ERA.It is a rich culture of ASEAN countries to present the culture.

ชื่องานสัมมนา : The 5th UPHEC conference 2019: The role of Environmental science to support healthy city development in SDG’s ERA. It is a rich culture of ASEAN countries to present the culture.

ที่มาและความสำคัญ : UPHEC is the annual program organized by Faculty of Public Health Universitas Ahmad Dahlan to offer excellent opportunities for the researchers and delegates to exchange new ideas, and to establish research or business links, as well as to build a global partnership for potential collaboration in the public health-related fields. The 6th Universitas Ahmad Dahlan Public Health Conference (The 6th UPHEC) organized by Faculty of Public Health, Universitas Ahmad Dahlan with the theme “Strengthening Intersectoral Partnership to Respond Future Population Health Dynamics and Sustainable Development”.

หัวข้อในการสัมนา :
Strengthening Intersectoral Partnership to Respond Future Population Health Dynamics and Sustainable Development

สถานที่จัดงาน : Grand Quality Hotel, Yogyarkarta, Indonesia

หน่วยงานที่ร่วมจัดงาน : Mahidol University, Faculty of Public Health Universitas Ahmad Dahlan

บทบาทของหน่วยงาน : Organize a workshop, Invited speaker

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : To build a global partnership for potential collaboration in the public health-related fields.

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 200

ข้อสรุปที่ได้จากงานสัมมนา (ถ้ามี) : Networking

ผลลัพธ์ที่ได้จากงานสัมมนา (ถ้ามี) : Collaboration

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน :

ภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 1, 2, 3, 4, 6, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 17