Biosafety Level 3 Laboratory

About

ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 (BSL-3) ที่ตั้งอยู่ ณ ชั้น 9 อาคารราชนครินทร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มีพื้นที่กว่า 504 ตารางเมตร ​ประกอบด้วย ห้องควบคุมระบบ ห้องควบคุมความดันอากาศ (Air lock) ที่เป็นประตู 2 ชั้น ห้องสำหรับการจัดการของเสียติดเชื้อ และห้องปฏิบัติการ จำนวน 2 ห้อง​ ที่แยกตามประเภทของงาน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา และห้องปฏิบัติการแบคทีเรียวิทยา โดยภายในห้องปฏิบัติการ มีเครื่องมือที่ใช้ควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ ​เช่น ตู้ชีวนิรภัยคลาส 2 จำนวน 8 ตู้ ที่สามารถรองรับการปฏิบัติงานได้ในเวลาเดียวกัน และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย​การเข้าปฏิบัติงาน ภายในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 จะถูก ควบคุมการเข้า-ออก ที่เข้มงวดเป็นพิเศษด้วยเทคโนโลยีการสแกนใบหน้าหรือการใช้รหัสผ่านผ่านระบบ RFID เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เช่น การเข้าถึงสารชีวภาพ และไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม​


Facility

ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล (BSL-3) มีคุณสมบัติทางวิศวกรรมและการออกแบบพิเศษ ประกอบด้วยการไหลเวียนของอากาศในทิศทางเดียวและความดันอากาศที่เป็นลบ (Negative Pressure) ซึ่งถูกออกแบบพิเศษโดยมีห้องควบคุมความดันอากาศ (Air lock) เป็นระบบประตู 2 ชั้นก่อนเข้าสู่ห้องปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยห้องปฏิบัติการที่มีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกัน จำนวน 2 ห้อง ได้แก่​

  1. ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา
  2. ห้องปฏิบัติการแบคทีเรียวิทยา

ภายในยังประกอบด้วยห้องอื่นๆ เช่น ห้องล็อกเกอร์ (Locker room) ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า (ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า 1 และห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า 2) ห้องเตรียมตัวอย่างและอุปกรณ์ (Preparation room) ห้องฆ่าเชื้อสำหรับขยะติดเชื้อ (Decontamination room) ห้องเครื่อง (Plant room) และห้องควบคุมการทำงาน (Monitor room)


Anteroom หรือห้องปรับแรงดันอากาศ โดยอยู่ระหว่างห้องปฏิบัติการ BSL-3 และทางเดินสะอาดด้านนอก (Lobby) ซึ่ง Anteroom เป็นทางเข้าเพื่อปรับแรงดันก่อนเข้าสู่ห้องปฏิบัติการ BSL-3 ภายใน ซึ่งมีความดันที่แตกต่างกัน และ Anteroom ยังเป็นบริเวณที่รองรับสำหรับการถอดอุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (PPE) และจัดเก็บอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจแบบจ่ายอากาศบริสุทธิ์ (PAPR) อีกด้วย ​


อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ BSL-3 ทั้ง 2 ห้อง ประกอบด้วย CO2 incubator (4 ตัว), ตู้แช่แข็ง -80 °C, ตู้เย็น 4 °C, เครื่องปั่นเหวี่ยง (Refrigerated centrifuges) กล้องจุลทรรศน์แบบหัวกลับ (Inverted microscope) และ หม้อนึ่งความดันไอน้ำ (Autoclave) นอกจากนี้ยังมีระบบติดตามอุณหภูมิตู้แช่แข็งแบบ Real-time สำหรับจัดเก็บสารชีวภาพที่เป็นอันตรายและมีการแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลทุกครั้งที่เครื่องมือมีการทำงานผิดปกติ​


System

  • ระบบ CCTV: เพื่อติดตามและบันทึกเหตุการณ์ถึง 12 จุด ภายในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 เพื่อการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของผู้ปฏิบัติงาน การใช้งานเครื่องมือภายในห้องปฏิบัติการ ตลอดจนการป้องกันความมั่นคงทางชีวภาพ (Biosecurity) เช่น การนําสารชีวภาพไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
  • ระบบควบคุมการเข้า-ออก : ห้องปฏิบัติการที่เข้มงวดเป็นพิเศษ ด้วยเทคโนโลยีการสแกนใบหน้า ​
  • ระบบการติดตามอุณหภูมิ แบบ real time ของตู้แช่แข็ง : ที่ใช้สำหรับเก็บสารชีวภาพอันตราย และมีการแจ้งเตือนไปยังผู้ควบคุม เมื่อเกิดความผิดปกติของเครื่องมือ​
  • ระบบการจัดการขยะติดเชื้ออย่างเป็นระบบ : มีการตรวจสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของเครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ ตามข้อกำหนดของกฎหมาย และการตรวจสอบโดยบริษัท ปีละ 1 ครั้ง​
  • Fumigation & Calibration: มีแผนงานปิดห้องเพื่อทำลายเชื้อ (Disinfection) ภายในห้องปฏิบัติการแบบเต็มระบบ ปีละ 1 ครั้ง และมีการตรวจสอบตู้ชีวนิรภัยอย่างน้อย ทุก 12 เดือน

Procedure for using the service

Training requirement

ผู้ประสงค์ขอเข้าใช้บริการจะต้องผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพที่จำเป็นทั้งหมด และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานใน BSL-3 เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถควบคุมอันตรายและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน และสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยเพื่อปกป้องตนเอง ห้องปฏิบัติการ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้น สำหรับข้อกำหนดสำหรับผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล (BSL-3) มีเงื่อนไขดังนี้ ​



Training and Experience Requirements Site Specific Training Requirements Working Requirements​
1. BSL-2 training certificate(accredited by Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health), and experiences in BSL-2 practices and procedures for at least 2 months
  • Completing the FTM BSL-3 training program on line and pass the test (100%)
  • Passing FTM BSL-3-SOP Test (100%)
  • Orientation on FTM-BSL-3 laboratory (Introduction and Practices)
  • Working with trainer at least 40 hours
2. BSL-3 training certificate(accredited by Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health), but no working experiences in BSL3 laboratory Passing FTM BSL-3 SOP Test(100%)
  • Orientation on FTM BSL-3 laboratory (Introduction and Practices)
  • Working with trainer at least 40 hours
3. Having at least 6 months working experience in BSL-3 laboratory, but no BSL-3 training certificate(accredited by Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health) and planning to pass the BSL-3 training certificate. Passing FTM BSL-3 SOP Test (100%)
  • Orientation on FTM BSL-3 laboratory(Introduction and Practices)
  • Working with buddy