Contingency Plans

แผนฉุกเฉินในสถานการณ์ต่าง ๆ

อัคคีภัย

Fire Emergency Contingency Plan

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

กิจกรรมอัคคีภัย

ผู้บาดเจ็บ / หมดสติ

Mandown Contingency Plan

เหตุกราดยิง

Active Shooter Contingency Plan

การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์กราดยิง หรือเหตุฉุกเฉินในที่สาธารณะไม่ใช่สิ่งไกลตัวอีกต่อไป ทั้งนี้บุคลากรและนักศึกษาคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ควรศึกษาคู่มือนี้และฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ

ในการเตรียมความพร้อมที่บุคลากรและนักศึกษาทุกคนควรปฏิบัติให้เป็นกิจวัตรคือ

1 ควรรับการฝึกอบรมปฐมพยาบาลสำหรับอุบัติเหตุ การห้ามเลือด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดคิด

2 ศึกษาเส้นทางหลบหนีและศึกษาสถานที่ที่อาจใช้เป็นที่ซ่อนตัว ในสถานที่ทำงานรวมถึงสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ที่ไปใช้บริการ

3 ควรทราบเบอร์โทรศัพท์ที่จำเป็น เช่น 191, 1669 เบอร์ฉุกเฉินภายในของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน 1911 เป็นต้น

4 ก่อนออกจากบ้าน ควรชาร์จแบตเตอรีโทรศัพท์มือถือให้เต็ม พร้อมใช้งาน รวมถึงมีแบตเตอรีสำรองพร้อมสายชาร์จติดตัวไว้เสมอ

5 ฝึกการสังเกตและจดจำสถานการณ์รอบตัว (Grounding) เช่นการมองไปรอบตัว การฟังเสียงและวิเคราะห์เหตุการณ์รอบข้าง โดยเฉพาะเมื่อมีเสียงดังผิดปกติ

6 สังเกตป้ายสัญลักษณ์และทางออกทุกครั้งจนเป็นนิสัยเมื่อไปในพื้นที่สาธารณะ พยายามมองหาทางออกที่ใกล้ที่สุด ในทุกอาคารที่ผ่าน วางแผนหนีไว้ใจ และมองหาสถานที่อาจใช้เป็นที่ซ่อนตัวได้ในทุกที่ที่ไป

7 ทำความเข้าใจและฝึกซ้อมวิธีเผชิญเหตุ หนี ซ่อน สู้

ในสถานการณ์เผชิญเหตุ

เมื่อมีเหตุร้ายฉุกเฉินเกิดขึ้นในขั้นแรกสำคัญที่สุดคือการควบคุมสติให้ดี ให้สามารถรับมือกับความตึงเครียดที่เกิดขึ้นขณะนั้นได้ หายใจเข้าออกลึก ๆ เพื่อดึงสติให้กลับมา สังเกตสถานการณ์รอบตัว และวิเคราะห์เหตุการณ์รอบข้าง และเริ่มกระบวนการ หนี หรือ ซ่อน หรือสู้ แล้วแต่สถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่กำลังเผชิญอยู่

การหลบหนี (Run)

การหนีจากผู้ก่อเหตุกราดยิง (Active Shooter) คือ ความเร่งด่วนสูงสุดและทางรอดที่มีโอกาสมากที่สุดในสถานการณ์กราดยิง และควรใช้เป็นทางเลือกอันดับแรก

1 วางแผนและเตรียมพร้อมในการหลบหนีออกจากสถานที่นั้นอย่างรวดเร็วที่สุด โดยหลีกเลี่ยงเส้นทางหนีที่คับแคบ ทางเข้าออกหลัก จะมีผู้ใช้หนีมากที่สุด ให้มองหาทางเข้าออกสำรองไว้ด้วย

2 สละสิ่งของหรือสัมภาระทั้งหมด เพื่อการหลบหนีที่คล่องตัว และหากเป็นไปได้ควรช่วยเหลือคนรอบตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

3 ตั้งสติกับสถานการณ์ตรงหน้า อย่าจดจ่อกับโทรศัพท์มือถือ และเปลี่ยนเป็นระบบสั่น ปิดเสียงไว้เสมอ และไม่แชร์สถานการณ์ลง Social Media โดยเด็ดขาด

4 หนีไปทางออกที่ใกล้ที่สุดและไม่มีผู้ก่อเหตุ เช่น ทางออกฉุกเฉิน หน้าต่าง

5 ถ้าถูกผู้ก่อเหตุพบให้วิ่งซิกแซก และหลบหาที่กำบังเป็นระยะ อาจเป็นเสา กำแพง หรือวัตถุที่แข็งแรงแจ้งเตือนและป้องกันไม่ให้ใครก็ตามที่จะเข้าไปในพื้นที่ที่เกิดเหตุกราดยิง

6 อย่าหยุด อพยพหลบหนี จนกว่าคุณจะมั่นใจว่าอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย ในกรณีเหตุกราดยิงจะไม่มีการตั้งจุดรวมพล ให้หนีออกให้พ้นจากพื้นที่ของคณะฯ และรายงานต่อผู้บังคับบัญชาว่าปลอดภัยแล้ว

7 เมื่อปลอดภัยแล้ว โทรแจ้งเหตุรปภ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน 02-306-9129 (สายตรง) หรือ 1911 (ภายใน) เพื่อที่จะให้ประสานงานกับหน่วยงานภายนอก หรือแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 191 หรือ 1669 โดยให้รายละเอียดให้ได้มากที่สุด เช่นตำแหน่งของผู้ก่อเหตุ จำนวนผู้ก่อเหตุ จำนวนและประเภทอาวุธ จำนวนผู้ที่ต้องสงสัยว่าบาดเจ็บ เป็นต้น

8 เมื่อพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำทุกขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ซักถามหรือหยุดยั้งการทำงานของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องทำการหยุดการฆ่าและการเจ็บ โดยเข้าถึงผู้ก่อเหตุและระงับอันตรายให้ได้โดยเร็วที่สุด

การหลบซ่อน (Hide)

1 ถ้าเส้นทางอพยพไม่ปลอดภัย ให้ค้นหาที่ซ่อนที่ดีที่สุดที่จะทำได้ ให้พ้นสายตาของผู้ก่อเหตุ

2 ห้องที่สามารถใช้หลบซ่อนได้ ควรเป็นห้องที่มีผนังแข็งแรงบดบังสายตาได้

3 ให้ปิดไฟมืด ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมือติดต่อที่ทำให้เกิดเสียง เช่นทีวี วิทยุ เปลี่ยนเสียงโทรศัพท์ให้เป็นระบบสั่น

4 ล็อคประตูให้แน่นหนา หาสิ่งของขนาดใหญ่มาปิดกั้นทางเข้า-ออก ปิดม่านบังสายตา

5 การหลบซ่อนที่ดี ควรแอบอยู่หลังหรือใต้โต๊ะ ตู้ ที่แข็งแรง ไม่หลบหลังประตูที่เป็นไม้หรือกระจก เพราะไม่สามารถกันกระสุนได้ ควรหมอบต่ำ เพื่อให้พ้นแนวกระสุน

6 พยายามหลีกเลี่ยงที่อับปิดตาย และไม่ควรอยู่ใกล้ที่เสี่ยงอันตราย เช่นรินหน้าต่างกระจก

7 หากหลบซ่อนอยู่หลายคน พยายามกระจายพื้นที่หลบซ่อนให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้กราดยิงก่อเหตุยากขึ้น

8 ให้วางแผนในการต่อสู้ ในกรณีที่ผู้ก่อเหตุบุกเข้ามาในพื้นที่หลบซ่อนสำเร็จ โดยมองหาสิ่งที่สามารถใช้เป็นอาวุธ ตำแหน่งที่จะซ่อนตัวเพื่อทำการต่อสู้ที่จะทำให้ผู้ก่อเหตุไม่ทันตั้งตัว หากมีหลายคน ให้ทำการวางแผนตกลงกันให้ดีว่า ใครจะโจมตีจุดใด

9 พยายามขอความช่วยเหลือโดยไม่ใช้เสียง เช่นขอความช่วยเหลือผ่าน LINE @TMRISK หรือส่ง SMS เพื่อแจ้งเหตุ ห้ามแชร์ Location ที่หลบซ่อนลงในสื่อสาธารณะ เพราะจะทำให้คนร้ายรู้ที่อยู่เราได้

10 หากมีผู้บาดเจ็บขอความช่วยเหลือคุณต้องแน่ใจว่าผู้ก่อเหตุไม่ได้อยู่บริเวณนั้น ก่อนที่จะเปิดประตูให้ผู้บาดเจ็บเข้ามาหลบภัยแล้วจึงไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บอื่น

11 หากมีผู้บาดเจ็บเลือดออก ให้หาว่าอยู่บริเวณไหน ใช้มือหรือผ้าสะอาดกดอัดแล้วเอามือกดบนผ้านิ่ง ๆ ตรงบริเวณจุดที่เลือดออกไว้ตลอดจะทำให้หลอดเลือดหดตัว และสามารถห้ามเลือดได้ชั่วคราว หากมีอุปกรณ์ที่สามารถใช้ห้ามเลือดได้ทำการขันชะเนาะเหนือจุดที่ถูกยิงตามที่ได้รับการฝึกมา เพื่อลดการเสียเลือดระหว่างรอความช่วยเหลือ

การต่อสู้ (Fight)

ถ้าผู้ก่อเหตุเข้ามาในบริเวณที่หลบซ่อน หรืออยู่ในสถานการณ์คับขัน ไม่สามารถหลบหนีหรือซ่อนตัวได้ วิธีการสุดท้ายในการเอาตัวรอดคือ การต่อสู้ด้วยสติและกำลังทั้งหมดที่มี ไม่มีการวางแผนการเผชิญหน้าเพื่อพูดเพื่ออ้อนวอน ขอร้องหรือเกลี้ยกล่อมคนร้าย เพราะวิธีการเหล่านั้นไม่ได้ผล แต่ในทางกลับกันอาจยิ่งกระตุ้นให้คนร้ายตื่นตัวมากขึ้น เมื่อต้องต่อสู้

1 ต้องทำจริงจังและรุนแรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ผู้ก่อเหตุกราดยิงบาดเจ็บมากที่สุด

2 ให้ใช้สิ่งของที่มีอยู่ใกล้ตัวดัดแปลงเป็นอาวุธเท่าที่หาได้ให้ใช้ของที่แข็งขว้างใส่คนร้ายหรือตีที่มือที่ถืออาวุธหรือพุ่งเข้าชาร์จ เมื่อมีคนร้ายกำลังเปลี่ยนกระสุน โดยเน้นทำให้คนร้ายล้มลง ใช้ได้ทั้งมีด กรรไกร ค้อน เก้าอี้

3 ต้องช่วยกันในการต่อสู้ วางแผนให้รัดกุมและชัดเจน ว่าใครต้องทำอะไร ใช้ Teamwork สร้างความประหลาดใจ ในการร่วมมือซุ่มโจมตี สามารถช่วยหยุดยั้งคนร้ายได้

4 จงคิดไว้ว่า คุณสู้เพื่อการเอาตัวรอด ใช้คนหมู่มากในการหยุดยั้งผู้ก่อเหตุให้ได้ ไม่ต้องคำนึงถึงความยุติธรรมในการต่อสู้ แต่ที่สำคัญ หากปลดอาวุธได้แล้ว นำออกให้ห่างจากผู้ก่อเหตุเพื่อไม่ให้เข้าถึงอาวุธได้อีก หากว่าสามารถหยุดยั้งผู้ก่อเหตุได้แล้ว ห้ามนำอาวุธนั้นมาใช้ทำร้ายผู้ก่อเหตุ เพราะจะกลายเป็นเจตนาฆ่าคนตาย จะใช้อาวุธได้ก็ต่อเมื่อยังไม่สามารถหยุดยั้งผู้ก่อเหตุได้ และใช้เพื่อป้องกันตัวเท่านั้น

จราจลและวินาศกรรม

Riot and Sabotage Contingency Plan

สารกัมมันตรังสี / สารเคมี รั่วไหล

Radioactive / Chemical Spill Contingency Plan

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

สถานการณ์โรคระบาด

Epidemic / Pandemic Contingency Plan

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

สถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ

Disasters Contingency Plan

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

demo-attachment-101-Path-1674
demo-attachment-78-Group-362
Address:
พัฒนาคุณภาพ
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์
ชั้น 6 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
420/6 ถนนราชวิถี, เขตราชเทวี, กรุงเทพฯ 10400
Phone:
โทรศัพท์: 0-2306-9121
ภายใน : 1303, 1361
Office Hours:
8.30 น. - 16.30 น.