วันที่ 31 กรกฎาคม 2568 เวลา 08:30-16:30 น. ณ ห้องประชุมมีเกรท ชั้น 8 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มียุทธศาสตร์ในการมุ่งสู่การเป็นหนึ่งในสถาบันชั้นนําของโลกด้านเวชศาสตร์เขตร้อน โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือการเป็นองค์กรแห่งคุณภาพเพื่อความยั่งยืน งานมหกรรมคุณภาพซึ่งถือเป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญที่เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกท่านมีโอกาสได้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนากระบวนงาน หรือระบบงานที่ทำกันเป็นประจำ โดยได้มีการจัดงานขึ้นปีเว้นปี
ครั้งที่ #1 ‘เขตร้อนก้าวไกล ใส่ใจคุณภาพ’ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561
ครั้งที่ #2 ‘Are you OK? We OKR!’ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ครั้งที่ #3 ‘Revolution Towards SDGs: การปฏิรูปสู่ความยั่งยืน’ จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2566
ในปีนี้จึงถือเป็นการจัดงานครั้งที่ #4 โดยมี Theme ของการจัดงานคือ ‘คุณภาพสู่ความยั่งยืน: Quality to Future Sustainability‘ โดยงานจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม 2568 เวลา 08:30-16:00น. ณ ห้องประชุมมีเกรท ชั้น 8 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา โดยมีกำหนดการดังนี้
08:30 - 08:45 น. | ลงทะเบียน |
08:45 - 09:00 น. | พิธีเปิด โดย รศ.นพ.วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน |
09:00- 10:00 น. | เสวนา เรื่อง Driving Data Culture towards AI-Powered Organization โดย รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบันไอเอ็มซี |
10:00 - 10:15 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
10:15 - 12:30 น. | Oral Presentation |
12:30 - 12:45 น. | Lucky Draw |
12:45 - 14:00 น. | นำเสนอ โปสเตอร์ |
14:00 - 15:00 น. | นำเสนอ Storytelling |
15:00 - 15:15 น. | พักรับประทานอาหารว่าง |
15:15 - 15:30 น. | Lucky Draw |
15:30 - 16:00 น. | พิธีประกาศรางวัลการประกวดผลงาน/รางวัลพิเศษ และพิธีปิด |
กรรมการอิสระ และประธานกรรมการกำกับความเสี่ยง บริษัททุนธนชาต จำกัด (มหาชน) (มกราคม 2563 – ปัจจุบัน)
ประธานกรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัทสยามอีสต์โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) (มกราคม 2559 – ปัจจุบัน)
กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบและประธานกรรมการกำกับความเสี่ยง บริษัท วินท์คอมเทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (มีนาคม 2558 – ปัจจุบัน)
กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด (มหาชน) (ธันวาคม 2558 – ปัจจุบัน)
ผู้อำนวยการสถาบัน ไอเอ็มซี (มกราคม 2556 – ปัจจุบัน)
ประธานกรรมการ บริษัททีเน็กซ์จำกัด (ตุลาคม 2556 – ปัจจุบัน)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และประธานกรรมการกำกับความเสี่ยง สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (เมษายน 2562 – ปัจจุบัน)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และประธานกรรมการกำกับความเสี่ยง สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กันยายน 2556 – ปัจจุบัน)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และประธานกรรมการกำกับความเสี่ยง สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา (พฤษภาคม 2564– ปัจจุบัน)
ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมาธิการการพาณิชย์ วุฒิสภา (ตุลาคม 2562 – มิถุนายน 2567)
กรรมการ คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์และบูรณาการระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (มกราคม 2565 – ปัจจุบัน)
กรรมการ คณะอนุกรรมการการบริหารองค์กร และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (มกราคม 2565 – ปัจจุบัน)
กรรมการ คณะอนุกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (มกราคม 2563 – ปัจจุบัน)
ที่ปรึกษา คณะกรรมการกำกับการวิเคราะห์ข้อมูลของกรมสรรพากร (สิงหาคม 2563 – กันยายน 2565)
วิทยากร มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ ของกระทรวงการคลัง อบรมให้กับผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางของภาครัฐและเอกชน ในหลักสูตรต่างๆอาทิเช่น Leadership Succession Program (LSP), Digital Economy for Management (DEM)
วิทยากร สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล ของสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล อบรมให้กับผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ
วิทยากร สถาบันไอเอ็มซี อบรมให้กับผู้บริหารและนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
คอลัมนิสต์ รายสัปดาห์ Think Beyond หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) (เมษายน 2560 – ธันวาคม 2562)
นายกสมาคมอุตสาหกรรมสารสนเทศไทย (ATCI) (พฤษภาคม 2558 – เมษายน 2560)
ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) (ตุลาคม 2553 – ธันวาคม 2555)
Director, Price WaterHouse Cooper, (มิถุนายน 2553 – กันยายน 2553)
Business Development Director, Sun Microsystems (Thailand) (เมษายน 2547 – มีนาคม 2553)
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มีนาคม 2546 – มีนาคม 2547)
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มิถุนายน 2543 – กันยายน 2545)
หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พฤศจิกายน 2540 – พฤษภาคม 2543)
กรรมการสภาวิจัยสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ (มกราคม 2559 – ตุลาคม 2560)
กรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มีนาคม 2558 – มกราคม 2559)
อนุกรรมการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับดิจืทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงศึกษาธิการ (กุมภาพันธ์ 2559 – ธันวาคม 2561)
กรรมการ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (มกราคม 2562 – ตุลาคม 2564)
กรรมการ คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (กุมภาพันธ์ 2560 – พฤษภาคม 2562)
กรรมการ คณะกรรมการยกร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (มิถุนายน 2564)
กรรมการ คณะทำงานยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแห่งชาติ กสทช. (พฤศจิกายน 2557 – พฤษภาคม 2558)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการโอเฟนซอร์สแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ธันวาคม 2547 – กันยายน 2549)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาโครงการวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ NECTEC (ธันวาคม 2546 – กันยายน 2550)
ประธานคณะกรรมการโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ NECTEC (ตุลาคม 2543 –มีนาคม 2547)
Ph.D. (Electrical and Electronic Engineering), พ.ศ. 2538, University of Auckland, Auckland, New Zealand.
M.E. (Electrical and Electronic Engineering), พ.ศ. 2533, University of Auckland, Auckland, New Zealand.
วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า), พ.ศ. 2529, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand.
Postgraduate Scholarship ของ Ministry of External Relations and Trade, New Zealand (พฤศจิกายน 2531 – ตุลาคม 2533)
New Zealand Postgraduate Scholarship ของ New Zealand Vice Chancellors Committee (เมษายน 2534 – มีนาคม 2537)
ทุนรัฐบาลไทยสำหรับศึกษาต่อปริญญาเอก (เมษายน 2537 – มีนาคม 2538)
Honorary Research Fellow, Department of Electrical and Electronic Engineering, University of Auckland, New Zealand (กรกฎาคม 2540 – กันยายน 2540)
SUN Certified Java Programmer (ตุลาคม 2542)
CompTIA Cloud Essentials (มกราคม 2557)
CCC Virtualization Essentials Professional (มีนาคม 2557)
CCC Cloud Technology Associate (มีนาคม 2557)
Google Cloud Certified Professional Data Engineer (มีนาคม 2563)
Director Accreditation Program (DAP) 122/2558, Thai Institute of Directors Association (IOD)
Advanced Audit Committee Program (AACP) 22/2559, Thai Institute of Directors Association (IOD)
Role of the Chairman Program (RCP) 41/2560, Thai Institute of Directors Association (IOD)
Director Certification Program (DCP) 242/2560, Thai Institute of Directors Association (IOD)
Financial Statement for Directors (FSD) 34/2560, Thai Institute of Directors Association (IOD)
Strategic Board Master Class (SBM) 5/2561, Thai Institute of Directors Association (IOD)
Risk Management Program for Corporate Leader (RCL) 19/2563, Thai Institute of Directors Association (IOD)
Director Leadership Certification Program (DLCP) 2/2564, Thai Institute of Directors Association (IOD)
Successful Formulation and Execution of Strategy (SFE) 36/2564, Thai Institute of Directors Association (IOD)
Ethical Leadership Program (ELP) 25/2565, Thai Institute of Directors Association (IOD)
หลักสูตรส่งเสริมคุณภาพสภาสถาบันอุดมศึกษาและผู้บริหารระดับสูง 2566, กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ESG in the Boardroom: A Practical Guide for Board (ESG) 1/2567, Thai Institute of Directors Association (IOD)
Satellite Communication Systems, Matra Marconi Space Center, Toulouse, France (พฤษภาคม 2542)
Data Communication & Computer Network Training, University of Adelaide, Australia (เมษายน – พฤษภาคม 2543)
Digital Strategies for Business (online course), Columbia Business School (สิงหาคม – กันยายน 2561)
รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 (ตุลาคม 2546)
ได้รับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ เมื่อเดือนกันยายน 2545
ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่อเดือนกันยายน 2541
ประภมาภรณ์ช้างเผือก 11 พฤศจิกายน 2566
ประภมาภรณ์มงกุฎไทย 27 กรกฎาคม 2561
ไฟล์ผลงาน (Template)
การจัดเตรียมไฟล์ผลงาน
1. ผลงานที่นำเสนอ เป็นชิ้นงานหรือกระบวนการ OKR ที่ได้เตรียมไว้ หรือผลงานพัฒนาคุณภาพอื่น ๆ ที่มีการดำเนินการมาแล้วไม่เกิน 3 ปีนับจนถึงวันมหกรรมคุณภาพ
2. กรุณาเก็บลิงค์ที่ได้ในอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้ เพื่อตรวจสอบข้อมูล ทำลงทะเบียนผลงาน โดยลิงค์สามารถใช้เมื่อต้องการแก้ไขผลงาน บทคัดย่อ หรือ เพิ่มผู้มีส่วนร่วมในผลงาน
3. หากนำเสนอผลงานประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 3 ให้จัดเตรียมบทคัดย่อในไฟล์ Word TMQF4_01.docx
4. หากนำเสนอผลงานประเภทที่ 2 หรือประเภทที่ 4 ให้จัดเตรียมบทคัดย่อในไฟล์ Word TMQF4_02.docx
โดยดาวน์โหลด template ได้จากลิงก์ด้านบนแล้วตั้งชื่อไฟล์ตาม code ที่ได้รับจากการ submit Form ในระบบ แล้วตามด้วย “.docx”
5. กรอกแบบฟอร์มในไฟล์ให้ครบถ้วน เพื่อส่งไฟล์เข้าระบบภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2568
6. ท่านต้องจัดทำไฟล์โปสเตอร์เอง โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ template TMQF4_04.pptx หรือ TMQF4_05.ai ได้จากลิงก์ด้านบน และนำส่งในระบบลงทะเบียนส่งผลงานภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2568
7. การนำเสนอ Oral Presenation สามารถ download Slide Template TMQF4_03.pptx เพื่อเตรียม PowerPoint สำหรับนำเสนอได้
การจัดส่งผลงาน
1. ท่านที่ต้องการส่งผลงานเข้าประกวด สามารถลงทะเบียนส่งผลงานผ่านช่องทางออนไลน์โดย click ที่ปุ่ม ‘ส่งผลงานร่วมประกวด’ ด้านบนขวา พร้อมส่งไฟล์นำเสนอเพื่อจัดทำโปสเตอร์ ก่อนวันที่ 10 กรกฎาคม 2568 เวลา 16:30น.
2. เมื่อท่านลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ จากช่องทางด้านบนเรียบร้อยแล้วท่านจะได้รับ รหัสผลงาน (Code) เช่น RT001, ST002, OKR003, QD004, เป็นต้น
3. เมื่อลงทะเบียนส่งผลงาน ให้แนบแบบฟอร์มผลงานนี้ (โดยไม่ต้องตัดทอนส่วนใดออก) ในรูปแบบไฟล์ ประกอบไปด้วย
Microsoft Word (.docx)
Portable Document Format (.pdf)
ชื่อไฟล์ ให้เปลี่ยนเป็นชื่อของ รหัสผลงาน เช่น RT001.docx, RT001.pdf
4. จัดส่งไฟล์บทคัดย่อและไฟล์จัดทำโปสเตอร์นำเสนอผลงานภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2568
5. ผู้ส่งผลงาน ต้องมีบัญชี Google Apps for Education มหาวิทยาลัยมหิดล (name.sur@mahidol.ac.th) เพื่อใช้ในการยืนยันตนในการส่งผลงาน
โปรดสนใจ และ พึงระวัง
1. เมื่อท่านลงทะเบียนและส่งผลงานบนเว็บไซต์แล้ว ท่านสามารถเข้าแก้ไขข้อมูลผ่าน edit link ที่ทางระบบส่งไปยัง Email ที่ท่านลงทะเบียนไว้ จนถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 2568
2. ท่านยินยอมให้นำผลงานที่ท่านส่งมา นำเสนอในงาน TropMed Quality Fair ครั้งที่ 4 ซึ่งจะจัดในวันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม 2568
3. ผลงานที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก จะได้รับการเผยแพร่บน website KM, facebook ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมอีกครั้ง ทั้งนี้จะมีประกาศประชาสัมพันธ์ให้ทราบเมื่อมีการนำขึ้นเผยแพร่แล้ว
4. ให้ถือว่าท่านรับทราบและยอมรับในข้อกำหนดในการจัดส่งผลงานโดยสมบูรณ์แล้ว เมื่อท่านลงทะเบียนและส่งเอกสารผลงานนี้
เจ้าของผลงาน/ผู้นำเสนอผลงาน/ทีมงาน
1. ต้องเป็นบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ซึ่งอาจเป็นบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลก็ได้
2. อาจเป็นผลงานระหว่างหน่วยงาน หรืออาจมีองค์กรภายนอกร่วมด้วยในฐานะคู่ความร่วมมือ (Partner) หรือผู้ส่งมอบ (Supplier) ของกระบวนการก็ได้
ประเภทของผลงาน
ประเภทที่ 1 : ผลงานวิจัย Routine to Research (R2R) & ผลงานสิ่งประดิษฐ์ Routine to Innovation (R2I)
ประเภทที่ 2 : ผลงาน OKRs
ประเภทที่ 3 : ผลงานพัฒนาคุณภาพ (CQI, Lean, Kaizen, New)
ประเภทที่ 4 : เรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling)
รางวัลการประกวดผลงาน
รางวัลผลงานพัฒนาคุณภาพดีเด่น (คะแนนรวมสูงสุด) จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 3,000 บาท
ประเภทที่ 1-3
รางวัลที่ 1 ประเภทละ 1 รางวัล รับประกาศเกียรติบัตร และเงินรางวัล 5,000 บาท
รางวัลที่ 2 ประเภทละ 1 รางวัล รับประกาศเกียรติบัตร และเงินรางวัล 3,000 บาท
รางวัลที่ 3 ประเภทละ 1 รางวัล รับประกาศเกียรติบัตร และเงินรางวัล 2,000 บาท
รางวัลชมเชย ประเภทละ 2 รางวัล รับประกาศเกียรติบัตร และรางวัลละ 500 บาท
รางวัล Popular Vote 4 รางวัล รับประกาศเกียรติบัตร และรางวัลละ 500 บาท
ประเภทที่ 4
จำนวน 4 รางวัล รับประกาศเกียรติบัตร และเงินรางวัล 500 บาท
รายชื่อผู้ลงทะเบียนร่วมงานล่วงหน้า
หากท่านทำการลงทะเบียนล่วงหน้าสำเร็จแล้ว โปรดตรวจสอบยืนยันรายชื่อและหมายเลขการลงทะเบียนของท่านในตารางนี้ หากไม่พบรายชื่อ สามารถติดต่อสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ เบอร์ภายใน 1303 หรือตรวจสอบ Inbox ใน Email ของท่าน หากท่านลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะไม่สามารถลงทะเบียนซ้ำได้ (1 ท่าน 1 สิทธิ์การลงทะเบียน)