20220407-14

การเยี่ยมชมวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ชื่องาน : การเยี่ยมชมวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ที่มาและความสำคัญ :

  • เพื่อสนับสนุนในการต่อยอดงานวิจัยของคณะเวชศาสตร์เขตร้อนให้เกิดเป็นนวัตกรรมหรือนำไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ รวมถึงส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
  • เพื่อศึกษาดูงานวิจัยที่สามารถต่อยอดสู่การเป็นนวัตกรรม และหารือในด้านความร่วมมือการต่อยอดงานวิจัยสู่นวัตกรรม

หัวข้อในการสัมมนา : การเยี่ยมชมวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นั้น ประกอบด้วย 2 ช่วง ได้แก่

  • การบรรยายต้อนรับจากวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรื่อง การดำเนินงาน และผลงานวิจัยของทีมวิจัย CiRA Core
  • พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ด้านความร่วมมือระหว่างคณะผู้วิจัยจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • เยี่ยมชมบริเวณวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สถานที่จัดงาน : ห้องปฏิบัติการโครงการวิจัย CIRA CORE วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นผู้จัดงาน และผู้ประสานงานกิจกรรม

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : เพื่อศึกษาดูงานวิจัยที่สามารถต่อยอดสู่การเป็นนวัตกรรม และหารือในด้านความร่วมมือการต่อยอดงานวิจัยสู่นวัตกรรม

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 18 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 09.00-12.00 น.

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในการจัดการกิจกรรม ในระดับมากที่สุด

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : เกิดความร่วมมือทางด้านวิจัยและนวัตกรรม ระหว่างคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน กับทีมวิจัย CiRA Core

Web site/link :

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 9

20220407-10

การบรรยายพิเศษเรื่อง “การสนับสนุนด้านนวัตกรรมและ Entrepreneurship” และ “การรับปรึกษาด้านการจัดการนวัตกรรม”

ชื่องาน : การบรรยายพิเศษเรื่อง “การสนับสนุนด้านนวัตกรรมและ Entrepreneurship” และ “การรับปรึกษาด้านการจัดการนวัตกรรม”

ที่มาและความสำคัญ : เพื่อสนับสนุนในการต่อยอดงานวิจัยของคณะให้เกิดเป็นนวัตกรรมหรือสามารถนำไปสู่เชิงพาณิชย์ รวมถึงส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา

หัวข้อในการสัมมนา : การบรรยายพิเศษเรื่อง “การสนับสนุนด้านนวัตกรรมและ Entrepreneurship” และ “การรับปรึกษาด้านการจัดการนวัตกรรม” นั้น ประกอบด้วย 2 ช่วง ได้แก่

  • การบรรยายพิเศษเรื่อง “การสนับสนุนด้านนวัตกรรมและ Entrepreneurship”
    โดย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • การรับปรึกษาปัญหาด้านการจัดการนวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา

สถานที่จัดงาน : ห้องปฏิบัติการโครงการวิจัย CIRA CORE วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นผู้จัดงาน และผู้ประสานงานกิจกรรม

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : เพื่อให้ความรู้พื้นฐานกับ คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 25 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 เวลา 9.00-12.00 น.

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในการจัดการบรรยายพิเศษ ในระดับมากที่สุด

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการขอรับทรัพย์สินทางปัญญามากยิ่งขึ้น

Web site/link :

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 9

20220407-07

การบรรยายพิเศษเรื่อง “Agri for Wellbeing เกษตรหลังโควิด-19 ยั่งยืนด้วยการแพทย์”

ชื่องาน : การบรรยายพิเศษเรื่อง “Agri for Wellbeing เกษตรหลังโควิด-19 ยั่งยืนด้วยการแพทย์”

ที่มาและความสำคัญ : เพื่อให้บุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนางานวิจัยของตนเองให้ตอบสนองต่อความต้องการของสถาณการณ์ปัจจุบัน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยของตนเองได้

หัวข้อในการสัมมนา : การบรรยายพิเศษเรื่อง “Agri for Wellbeing เกษตรหลังโควิด-19 ยั่งยืนด้วยการแพทย์” นั้น ประกอบด้วย 3 ประเด็น ได้แก่

  • Commercial Research พลังซ้อนเร้นทางเศรษฐกิจจากงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ด้านสุขภาพ
  • ขับเคลื่อนพลังที่มีให้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา
  • เทคโนโลยีเกษตรสุขภาพขับเคลื่อนผ่านมุมมองโลกยุคใหม่

สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมประตาป สิงหศิวานนท์ อาคารราชนครินทร์

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นผู้จัดงาน และผู้ประสานงานกิจกรรม

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : เพื่อให้ความรู้พื้นฐาน และตอบข้อสงสัยกับ คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 25 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00-12.00 น.

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในการจัดการบรรยายพิเศษ ในระดับมากที่สุด 

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :เกิดความร่วมมือทางด้านวิจัยและนวัตกรรม ระหว่างคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน กับทีมผู้บรรยาย

Web site/link :

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 9

13072021-2

การเสวนาการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีโรงงานหมิงตี้ เคมีคอล ของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แห่งประเทศไทย

ชื่องาน : การเสวนาการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีโรงงานหมิงตี้ เคมีคอล ของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แห่งประเทศไทย

ที่มาและความสำคัญ : ความร่วมมือในฐานะเป็นวิทยากรของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
การสรุปบทเรียน เพื่อเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจาก กรณีโรงงานเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้สารเคมี

หัวข้อในการจัดกิจกรรม : การเสวนาการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีโรงงานหมิงตี้ เคมีคอล

สถานที่จัดงาน : Online

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นผู้วิทยากร

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ บุคลากรทั่วไป

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : มากกว่า 450 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : 8 กรกฎาคม 2564

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : แนวทางการปฏิบัติตัวของประชาชทั่วไป 

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : ความร่วมมือในทางวิชาการ การนำข้อมูลไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน

Web site/link : https://www.cstp.or.th/#!/newsView/200

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3 , 4 ,6 ,9 ,11 ,13, 14 ,17

20210322-5226-57-m

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม แถลงข่าว “วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย ขององค์การเภสัชกรรม เริ่มวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 1/2”

ชื่องาน :คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม แถลงข่าว “วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย ขององค์การเภสัชกรรม เริ่มวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 1/2”

ที่มาและความสำคัญ : การเกิดโรคระบาดโควิด-19 จึงส่งผลให้เกิดการวิจัยวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตายในมนุษย์ระยะที่ 1 และ 2 รวม 460 คน

หัวข้อในการจัดกิจกรรม : คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม แถลงข่าว “วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย ขององค์การเภสัชกรรม เริ่มวิจัยในมนุษย์ระยะที่ 1/2”

สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

บทบาทของหน่วยงาน : ศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อนได้ดำเนินการทดลองฉีดเข็มแรกในอาสาสมัครกลุ่มแรกก่อน 18 คน

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน :แถลงข่าว ความร่วมมือคณะเวชศาสตร์เขตร้อนร่วมกับองค์การเภสัชกรรม ด้านความสำเร็จ งานด้านการวิจัย พัฒนา ผลิต วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :  

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : 22 มีนาคม 2564

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ องค์การเภสัชกรรม วิจัยวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตายในมนุษย์ระยะที่ 1 และ 2 รวม 460 คน ประเดิมฉีดเข็มแรกในอาสาสมัครกลุ่มแรกก่อน 18 คน คาดปลายปีนี้ได้สูตรที่ดีที่สุดไปศึกษาต่อระยะที่ 3 คาดปี 2565 ยื่นขอทะเบียนตำรับและผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ สร้างความมั่นคงด้านวัคซีนในประเทศ

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : 

Web site/link : https://www.tm.mahidol.ac.th/th/th-news-event-view.php?news_id=5226

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 9

20210614-5310-8-m

พิธี “บันทึกความเข้าใจ” (MOU) ระหว่างคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา (University of South Florida)

ชื่องาน : พิธี “บันทึกความเข้าใจ” (MOU) ระหว่างคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา (University of South Florida)

ที่มาและความสำคัญ : เพื่อความร่วมมือด้านวิชาการและด้านการวิจัย รวมถึงแผนดำเนินการในอนาคตทั้งทางด้านวิชาการและด้านการวิจัยร่วมกันของทั้งสองสถาบันต่อไป

หัวข้อในการจัดกิจกรรม : พิธี “บันทึกความเข้าใจ” (MOU) ระหว่างคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา (University of South Florida)

สถานที่จัดงาน : คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

บทบาทของหน่วยงาน : 

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน :เพื่อความร่วมมือด้านวิชาการและด้านการวิจัย รวมถึงแผนดำเนินการในอนาคตทั้งทางด้านวิชาการและด้านการวิจัยร่วมกันของทั้งสองสถาบันต่อไป

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :  

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม :2 กุมภาพันธ์ – 17 มีนาคม 2564

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : “บันทึกความเข้าใจ” (MOU) ระหว่างคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : 

Web site/link : https://www.tm.mahidol.ac.th/th/th-news-event-view.php?news_id=5310

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 9, 11

ss-005-20200825

ศึกษาดูงานนวัตกรรมระบบประปาหมู่บ้านรูปแบบใหม่พร้อมเข้าชมการถ่ายทอดเทคโนโลยี

ชื่องานสัมมนา : ศึกษาดูงานนวัตกรรมระบบประปาหมู่บ้านรูปแบบใหม่พร้อมเข้าชมการถ่ายทอดเทคโนโลยี

ที่มาและความสำคัญ : ปัญหาคุณภาพน้ำประปาชุมชนไม่ได้มาตรฐาน

หัวข้อในการสัมนา : ศึกษาดูงานนวัตกรรมระบบประปาหหมู่บ้านรูปแบบใหม่พร้อมเข้าชมการถ่ายทอดเทคโนโลยี

สถานที่จัดงาน : เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา ณ เทศบาลตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

หน่วยงานที่ร่วมจัดงาน : สมาคมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย และศูนย์วิจัยขีดความสามารถในการแข่งขัน สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นวิทยากรให้ความรู้ วิพากษ์ให้กับหน่วยงานผู้จัด และให้ความรู้ในชุมชน

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : ปัญหาคุณภาพน้ำประปาชุมชนไม่ได้มาตรฐาน ยังคงมีอยู่ในหลายชุมชนของประเทศไทย โดยเฉพาะปัญหาแบคทีเรียปนเปื้อน ดังนั้นหน่วยงานจึงมีการศึกษาหาวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาเทคโนโลยี การบำบัดน้ำที่มีประสิทธิภาพมาใช้ ตลอดจนวางแผนการบริหารจัดการระบบการผลิตน้ำประปาที่ดีให้กับชุมชน

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : ประมาณ 30 คน

ข้อสรุปที่ได้จากงานสัมมนา (ถ้ามี) : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้นำเทคโนโลยีด้านระบบผลิตน้ำประปา ที่ได้รับการรับรองในบัญชีนวัตกรรมไทย คือ ผลงาน “ระบบผลิตน้ำประปา (Water Treatment System)” หรือ นวัตกรรมป๊อกแทงค์ (POG TANKS) ของ บริษัท คิดพร้อมทํา จํากัด ดังนั้นสถาบันจึงได้จัดโครงการศึกษานวัตกรรม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา ณ เทศบาลตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พร้อมด้วยคณะหน่วยงานภาครัฐและสื่อมวลชน อาทิ การประปาส่วนภูมิภาค กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อศึกษากระบวนการทำงานและตรวจสอบระบบ

ผลลัพธ์ที่ได้จากงานสัมมนา (ถ้ามี) : นวัตกรรมป๊อกแทงค์ เป็นนวัตกรรมตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ในการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม ให้ประชาชนในชนบทมีสิทธิเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างน้ำประปาที่สะอาดและมีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ บริษัท คิดพร้อมทํา จํากัด ได้พัฒนาปรับปรุงระบบให้เข้ากับคุณภาพน้ำดิบและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ในชุมชนนั้น ๆ โดยระบบใช้ได้กับน้ำดิบทั้งประเภทผิวดินและใต้ดินภายในระบบเดียว ในด้านเทคโนโลยี ป๊อกแทงค์ได้รวมเอากระบวนการในการผลิตน้ำประปามาไว้ด้วยกันด้วยหลักการ All in one เช่น การรวมขั้นตอนการเติมอากาศ การกวน การตกตะกอน การกรอง และการระบายก๊าซอันตราย มาไว้ด้วยกันในอุปกรณ์ชิ้นเดียว ทำให้จัดการดูแลรักษาได้ง่ายและใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อยกว่าระบบประปาแบบเดิม นอกจากนี้ ระบบใช้เทคโนโลยีการกรองแบบ Up Flow ทำให้ตะกอนไม่อุดตันและยืดอายุใช้งานสารกรอง การล้างทำความสะอาดโดยการ Back Wash ทำได้ง่ายจากระบบวาล์วรวมศูนย์เพียงจุดเดียว จึงทำให้การจัดการระบบ และการซ่อมบำรุงมีความสะดวกและรวดเร็ว

ดังนั้น การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบประปาป๊อกแทงค์ไปประยุกต์ใช้กับชุมชน จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่สามารถนำไปแก้ไขปัญหาระบบคุณภาพน้ำประปาชุมชน ไม่ได้มาตรฐานได้ หากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมมือร่วมใจกันจัดการและแก้ไขปัญหาน้ำประปาชุมชนก็จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่สังคมต่อไป

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน : http://www.nida.ac.th/th/index.php/nida-about/2014-12-15-06-54-48/58-photos-news-2562/1531-2019-10-10-03-12-06

ภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3, 6, 9, 11, 12, 17