100720214

18th Virtual International Training Course on Management of Malaria

ชื่องาน :  18th Virtual International Training Course on Management of Malaria

ที่มาและความสำคัญ : ความร่วมมือของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อองค์กรระหว่างประเทศ(WHO)
          Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University as a WHO Collaborating Centre for Clinical Management of Malaria in collaboration with the World Health Organization Regional Office for South East Asia (WHO SEARO) organized 18th Virtual International Training Course on Management of Malaria on 23 – 27 November 2020. For this year, the training was held on online platform via Zoom Application. This training includes online multimedia presentation, online case discussion and experience sharing sessions between experts from the Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University.
          The training aims to provide and update the participants about malaria current situation, diagnosis, treatment, management, prevention and control as well as sharing experiences among respective countries. There were 61 distinguished physicians, scientists and health experts from 12 respective countries attended the training virtually including Japan, Singapore, Malaysia, Nepal, Philippines, Indonesia, India, Maldives, Timor-Leste, Bangladesh, Bhutan and Thailand.

หัวข้อในการสัมมนา :  Malaria current situation, diagnosis, treatment and management,

สถานที่จัดงาน :  Online training course

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นผู้จัดงาน และมีทีมวิทยากร แลกเปลี่ยนความรู้

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : เพิ่มศักยภาพความร่วมมือเพิ่มมากขึ้น

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :  นักวิจัยจาก 12 ประเทศ จำนวน 61 ท่าน ประกอบด้วย แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพ จาก Japan, Singapore, Malaysia, Nepal, Philippines, Indonesia, India, Maldives, Timor-Leste, Bangladesh, Bhutan และ Thailand.

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม :  23-27 พฤศจิกายน 2563

ข้อสรุปที่ได้จากงานสัมมนา(ถ้ามี) : การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านมาลาเรีย การได้ข้อมูลที่ทัยสมัย เกี่ยวกับการรักษา ตัวยา พฤติกรรมของคน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยมาลาเรียน การป้องกัน การกำจัดเชื้อมาลาเรีย

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : เพิ่มความสามารถในการวิจัย และความรู้ประสบการณ์ทางวิชาการ การขยายงานวิจัย

Web site/link : https://www.tm.mahidol.ac.th/eng/eng-news-event-view.php?news_id=5127

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3 , 4 ,17

jitmm2020

Joint International Tropical Medicine Meeting 2020 (JITMM Virtual 2020)

ชื่องาน :  Joint International Tropical Medicine Meeting 2020 (JITMM Virtual 2020)

ที่มาและความสำคัญ : ความร่วมมือของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อองค์กรระหว่างประเทศ(WHO) และนานาชาติ
          The Joint International Tropical Medicine Meeting (JITMM) is the largest tropical-medicine conference in Southeast Asia. It aims to provide a platform for researchers and health practitioners from around the world to share and discuss the latest developments and trends in tropical medicine, global health, and infectious diseases. JITMM has been held annually for 25 years.
          On 15 December 2020, the opening ceremony, Assst Prof. Dr. Weerapong Phumiratanaprapin, Dean of Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University and Chairperson of Organizing Committee commenced the program with the meeting report, followed by two welcoming addresses from Dr. Opas Karnkawinpong Director-General, Department of Disease Control The Ministry of Public Health, and Prof. Nicholas Day, Director of the Mahidol Oxford Tropical Medicine Research Unit, Thailand (MORU). The meeting is officially opened by Prof. Banchong Bahaisavariya, President of Mahidol University.
          Research Professor Dr. Jetsumon Prachumsri, Vice-chairperson of Organizing Committee introduced keynote speaker Dr. Tedros Adhanom Ghebreyesus , Director-General World Health Organization to deliver the 25th Chumlong-Tranakchit Harinhasuta Lecture.

หัวข้อในการสัมมนา :  “Tropical Disease Control amid the COVID-19 Pandemic”

สถานที่จัดงาน :  Virtual International conference

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นผู้จัดงาน และมีทีมวิทยากร Share ในแต่ละ session แลกเปลี่ยนความรู้ การนำเสนองานวิจัยของบุคลากร และนักศึกษาของคณะ และร่วมแสดงความคิดเห็นกับนักวิจัยจากประเทศต่างๆ มีจำนวน มากกว่า 20 ห้องย่อย

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผลงานวิจัย การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ทันสมัย การแสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเพิ่มศักยภาพความร่วมมือเพิ่มมากขึ้น

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :  นักวิจัยจากทั่วโลก มากกว่า 800 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม :  15-16 ธันวาคม 2563

ข้อสรุปที่ได้จากงานสัมมนา(ถ้ามี) : การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านโรคเขตร้อน โดยเฉพาะการระบาดของโรคโคโรน่าไวรัส 2019 การได้ข้อมูลที่ทันสมัย เกี่ยวกับการรักษา ตัวยา พฤติกรรมของคน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคเขตร้อน เป็นต้น

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : เพิ่มความสามารถในการวิจัย และความรู้ประสบการณ์ทางวิชาการ การขยายงานวิจัย การสร้างเครือข่ายระหว่างสมาชิก ที่เกี่ยวข้องกับ Tropical diseases

Web site/link :
www.jitmm.com
https://www.jitmm2020.com/

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 1, 2 , 3 , 4 ,17

TM_60th(ENG)_(A4)

โครงการวิจัยยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย

ชื่องาน : โครงการวิจัยยุงพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย

ที่มาและความสำคัญ : ศึกษาชีววิทยาของยุงพาหะในพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้มาลาเรีย ในประเทศไทยเพื่อการวางแผนกลยุทธการควบคุมยุงพาหะไข้มาลาเรีย และสู่การกำจัดไข้มาลาเรีย

หัวข้อ : การศึกษาชีววิทยาของยุงพาหะในพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้มาลาเรียในประเทศไทย

สถานที่จัดงาน : จ. ตาก ยะลา นราธิวาส ราชบุรี อุบลราชธานี

หน่วยงานที่ร่วมจัดงาน : สำนักงานควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ 5 12 และ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.3 (แม่สอด) – จังหวัดตาก

บทบาทของหน่วยงาน : ร่วมดำเนินงานวิจัยและเฝ้าระวังยุงพาหะไข้มาลาเรีย และทดสอบการดื้อยาของยุง

วัตถุประสงค์ในการจัดงาน :
1. เพื่อศึกษาโครงสร้างของประชากรยุงพาหะนา โรคไข้มาลาเรียในพืน้ ที่ระบาด
2. เพื่อศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรของยุงพาหะนาโรคไข้มาลาเรียในประเทศไทยที่จับมาด้วยวิธีการที่ต่างกัน
3. เพื่อศึกษาและประเมินยีนเป้าหมาย ที่ตอบสนองต่อการเลือกและหาเหยื่อเพื่อกินเลือดของยุงพาหะนาโรคไข้มาลาเรีย
4. เพื่อประเมินพลวัตของการระบาดของโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ในประเทศไทย

จำนวนผู้เข้าร่วม :

ช่วงเวลาที่จัด : ปี 2554-2560 และปี year 2062-2566

ข้อสรุปที่จากการจัดงาน (ถ้ามี) : เอกสารรายงานผลงานวิจัยสู่ชุมชน

ผลลัพธ์ที่ได้จากงานที่จัด (ถ้ามี) : Malaria Vector part in Thailand 2020

Website / Link : https://www.icemr-sea.org

รูปภาพประกอบ : https://www.icemr-sea.org/entomology

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3, 7, 11, 13

noppalak-project-002

การพัฒนาทรัพยากรบุคคล โครงการนพลักษณ์

ชื่องาน : การพัฒนาทรัพยากรบุคคล โครงการนพลักษณ์

ที่มาและความสำคัญ : การเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ซับซ้อน และการทำงานร่วมกันจากกลุ่มคนที่มีพื้นฐานที่แตกต่างกัน

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นผู้จัดงาน ให้กับบุคลากรในทุกระดับ ทุกเพศ เพื่อให้เกิดความสมดุล และการรู้จักตนเอง

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความเข้าใจในความแตกต่างของบุคคลและรู้จักตนเองมากขึ้น

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : N/A

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : 20 – 21 สิงหาคม 2563

ข้อสรุปที่ได้จากงานสัมมนา (ถ้ามี) : ความเข้าใจในตนเองและผู้อื่น

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : การรู้จักตนเอง เพื่อทำงานในองค์กรอย่างมีความสุข

Website / Link : https://www.tm.mahidol.ac.th/th/th-news-event-view.php?news_id=4960

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3, 5, 16

ss-004-20200825

โครงการ The Night of Ideas “ความสมดุลของสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงบริบทในประเทศไทย”

ชื่องานสัมมนา : โครงการ The Night of Ideas “ความสมดุลของสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงบริบทในประเทศไทย”

ที่มาและความสำคัญ : สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาของฝรั่งเศส หรือ Institut de recherche pour le développement (IRD) และ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ ร่วมกันจัดกิจกรรม “ค่ำคืนแห่งความคิด” หรือ “Night of Ideas Alive Bangkok” ซึ่งเป็นการสัมมนาเชิงวิชาการ-ปฏิบัติการ ในหัวข้อ TAKE A DEEP BREATH เป็นการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องมลพิษทางอากาศและการแก้ไขปัญหา ซึ่งกำลังเผชิญวิกฤตด้านมลภาวะทางอากาศอย่างต่อเนื่องโดยมีสาเหตุจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5

หัวข้อในการสัมนา : กิจกรรม “ค่ำคืนแห่งความคิด” หรือ “Night of Ideas Alive Bangkok”

สถานที่จัดงาน :

หน่วยงานที่ร่วมจัดงาน : สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาของฝรั่งเศส หรือ Institut de recherche pour le développement (IRD) และ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นวิทยากรนำเสนอ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : เป็นการสัมมนาเชิงวิชาการ-ปฏิบัติการ ในหัวข้อ TAKE A DEEP BREATH เป็นการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องมลพิษทางอากาศและการแก้ไขปัญหา ซึ่งกำลังเผชิญวิกฤตด้านมลภาวะทางอากาศอย่างต่อเนื่องโดยมีสาเหตุจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : ประมาณ 70 คน

ข้อสรุปที่ได้จากงานสัมมนา (ถ้ามี) : เป็นการระดมสมองมุ่งเน้นเกี่ยวกับความสมดุลของสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงบริบทในประเทศไทย ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับโลก และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เพื่อให้ดำเนินชีวิตในสังคมร่วมกันอย่างมีสุขอนามัยที่ดีขึ้น เพื่อเรียกร้องข้อเสนอนี้ไปยังหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันเร่งดำเนินการหาแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหามลพิษทางอากาศ เพื่อช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศให้เกิดความยั่งยืน

ผลลัพธ์ที่ได้จากงานสัมมนา (ถ้ามี) : นำข้อมูลที่ได้เผยแพร่สื่อ ให้ประชาชนเข้าใจทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติ เนื่องจากมีผู้เข้าประชุมมาจากหลายหลากประเทศ

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน : https://www.greennetworkthailand.com/

ภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3, 11, 12, 13, 17

TM_60th(ENG)_(A4)

โครงการ แบบจำลองการเกิดปัญหาหมอกควันและผลกระทบต่อสุขภาพ ภายใต้โครงการ HAZE FREE​ Thailand​ ของ Research University Network: RUN​

ชื่องานวิจัย : โครงการ แบบจำลองการเกิดปัญหาหมอกควันและผลกระทบต่อสุขภาพ ภายใต้โครงการ HAZE FREE​ Thailand​ ของ Research University Network: RUN​

คณะ/สาขาวิชา : เวชศาสตร์เขตร้อน / อนามัยสิ่งแวดล้อม

ที่มาความสำคัญ : การริเริ่มโครงการวิจัยขนาดใหญ่แบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐเอกชน และประชาชนในพื้นที่ และบูรณาการองค์ความรู้จากสหสาขาวิชาการต่างๆ ที่ผลงานวิจัยมีความสำเร็จ พร้อมประยุกต์ใช้ได้โดยการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนภายใต้ งานวิจัยตอบสนองต่อนโยบาย เป้าหมายรัฐบาล โครงการวิจัยท้าทายไทยในหัวข้อประเทศไทย ไร้หมอกควันในปี งบประมาณ ปี 2559 – 2563

ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา : พื้นที่ประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV: Cambodia, Loas, Myanmar and Vietnam)

วัตถุประสงค์ : การพัฒนาตัวแบบจำลองการคาดการณ์ฝุ่นละออง รูปแบบของการเกิดฝุ่นละอองและการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ

แหล่งทุนสนับสนุน : วช.

หน่วยงานความร่วมมือ : โครงการประเทศไทยไร้หมอกควัน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัย เพื่อการวิจัยและโครงการวิจัยท้าทายไทยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติหรือ วช. และชุมชนในพื้นที่

ผู้มึส่วนได้ส่วนเสีย : ชุมชนต่าง ๆ ประชาชนทั่วไป นักวิจัยจากสถาบันต่างๆ

ระดับความร่วมมือ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแกนหลักร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่น

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ
(ระบุวันที่มีการนำไปใช้) : ใช้เป็นระบบเตือนภัยให้กับหน่วยงานในพื้นที่ บุคลากรทางสาธารณสุข ประชาชนทั่วไป

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน : https://www.naewna.com/local/384284

ภาพประกอบ : ไม่มี

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3,15,17

TM_60th(ENG)_(A4)

กิจกรรมบริการเคลื่อนที่ตรวจสุขภาพเด็กประจำปี2563

กิจกรรมของภาควิชากุมารเวชศาสตร์เขตร้อน

ชื่อกิจกรรม/โครงการ : กิจกรรมบริการเคลื่อนที่ตรวจสุขภาพเด็กประจำปี

ที่มาและความสำคัญ : สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไทภายใต้กรมกิจการเด็กและเยาวชน เป็นหน่วยงานที่ให้การให้การสงเคราะห์เด็กที่ถูกทอดทิ้ง และเด็กจากครอบครัวที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 6 ปี มีเด็กในความอุปการะจำนวนทั้งสิ้น 216 คน จำเป็นต้องได้รับการตรวจสุขภาพเด็กประจำปี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานส่งเสริมการจัดสวัสดิการสำหรับเด็กในสถานรองรับเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ : 18 กันยายน 2563

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ : สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย : สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท

วัตถุประสงค์ : เพื่อให้เด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีตามมาตรฐานส่งเสริมการจัดสวัสดิการสำหรับเด็กในสถานรองรับเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ : จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ตรวจสุขภาพเด็กประจำปีให้แก่เด็กในความอุปการะ ณ สถานสงเคราห์เด็กอ่อนพญาไท

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม : เด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท
จำนวน 216 คน

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : เด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท
จำนวน 216 คน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม : เด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท
จำนวน 216 คน ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีครบทุกคน

Web Link อ้างอิงการดำเนินงาน : ไม่มี

ภาพประกอบ : ไม่มี

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3,10