12-05042022

โครงการวิเคราะห์โครงการตรวจวิเคราะห์วิตามินบี1 บี2 บี6

ชื่องาน : โครงการวิเคราะห์โครงการตรวจวิเคราะห์วิตามินบี1 บี2 บี6

ที่มาและความสำคัญ :โครงการบริการวิชาการของภาควิชาโภชนศาสตร์เขตร้อนและวิทยาศาสตร์อาหาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

หัวข้อในการสัมมนา :

สถานที่จัดงาน :

  • โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์วิตามินบี1 บี2 บี6 ภาควิชาโภชนศาสตร์เขตร้อนและวิทยาศาสตร์อาหาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

บทบาทของหน่วยงาน :ให้บริการตรวจวิเคราะห์วิเคราะห์วิตามินบี1 บี2 บี6

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : บริการวิชาการ

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 500-600 คน/ปี

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : วันและเวลาราชการ

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :หน่วยงานจากภายในและภายนอกให้ความสนใจและใช้บริการ

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : ความร่วมมือภายในหน่วยงาน โรงพยาบาล และหน่วยงานภายนอก

Web site/link :

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 2, 3, 4, 12, 17

09-05042022

โครงการวิเคราะห์หากรดโฟลิคในซีรั่มและเม็ดเลือดแดง

ชื่องาน :โครงการวิเคราะห์หากรดโฟลิคในซีรั่มและเม็ดเลือดแดง

ที่มาและความสำคัญ : โครงการบริการวิชาการของภาควิชาโภชนศาสตร์เขตร้อนและวิทยาศาสตร์อาหาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

หัวข้อในการสัมมนา :

สถานที่จัดงาน :

  • โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์หากรดโฟลิคในซีรั่มและเม็ดเลือดแดง ภาควิชาโภชนศาสตร์เขตร้อนและวิทยาศาสตร์อาหาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

บทบาทของหน่วยงาน :ให้บริการตรวจวิเคราะห์หากรดโฟลิคในซีรั่มและเม็ดเลือดแดง

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : บริการวิชาการ

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 500-600 คน/ปี

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : วันและเวลาราชการ

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :หน่วยงานจากภายในและภายนอกให้ความสนใจและใช้บริการ

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : ความร่วมมือภายในหน่วยงาน โรงพยาบาล และหน่วยงานภายนอก

Web site/link :

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 2, 3, 4, 12, 17

06-05042022

โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก

ชื่องาน : โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก

ที่มาและความสำคัญ : พื้นที่ตำบลท่าสองยางเป็นพื้นที่ตะเข็บชายแดนติดต่อกับประเทศพม่ามีความหลากหลายทางประชากร มีปัญหาที่ต้องการการจัดการอย่างเร่งด่วนหลายประการคือ (1) ปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะในกลุ่มแม่และเด็ก การคลอดก่อนกำหนด เด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อแรกคลอด ภาวะทุพโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์และเด็กทำให้ขาดการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพของเด็ก นอกจากนี้ยังมีการระบาดของโรคติดเชื้อสูง เช่น ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย Chikungunya  Scrub typhus (2) ปัญหาสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะที่ไม่เหมาะสมทำให้เป็นแหล่งรังโรค เนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เกษตรกรมีการใช้สารเคมีสูงทำให้เกิดการปนเปื้นของสารเคมีในผัก ผลไม้ และแหล่งน้ำ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องการการบริหารจัดการแบบบูรณาการอย่างเหมาะสมและเป็นระบบเพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

หัวข้อในการสัมมนา :

สถานที่จัดงาน : ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นผู้ดูแลโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย และคอยประสานงานการจัดโครงการ/กิจกรรม ภายในโครงการฯ

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน :

1.เกิดการจ้างงานแก่ประชาชน บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา และฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนและสร้างเครือข่ายด้านการศึกษาและวิจัยในชุมช

2. พัฒนาแผนงานอนามัยแบบบูรณาการในการดูแลคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์และเด็กในช่วงมหัศจรรย์ 1,000 วันแรก เพื่อให้ลูกที่เกิดมารอด มารดาปลอดภัย และเด็กมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ

3. พัฒนางานอนามัยโรงเรียนอย่างเป็นองค์รวม (School health) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลสุขภาวะของเด็ก

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 1 – 100 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : 1 ก.พ. 64 – 30 ธ.ค. 64

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :

  1. เชิงปริมาณ

   1.1 พัฒนาแผนงานอนามัยแบบบูรณาการในการดูแลคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์และเด็กในช่วงมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกโดยมี

         – ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบทั้ง 5 ครั้งเพิ่มขึ้น 60%

        – ร้อยละของการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ลดลง 80%

        – ร้อยละของเด็กแรกคลอดมีน้ำหนักเกิน 2500 กรัม และความยาวไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร เพิ่มขึ้น

        – ร้อยละของเด็กในช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ที่มีภาวะโลหิตจางลดลง

  1.2 ร้อยละของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อ เช่น ไข้เลือดออก ท้องเสีย เข้ารับการรักษาโรคลดลงเกิน 20 % ในปี พ.ศ. 2564

  1.3 เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน คือ เกิดการจ้างงานนักศึกษาจำนวน 5 คน บัณฑิตจบใหม่จำนวน 10 คนและประชาชนทั่วไปจำนวน 5 คน

2. เชิงคุณภาพ 

  2.1 มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นจากการพัฒนาการด้านอนามัยแม่และเด็กและการได้รับความรู้ด้านโภชนาการที่ดี

Web site/link : https://www.youtube.com/watch?v=k3GdGb_DMPA

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 1 , 3 

03-05042022

โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

ชื่องาน :โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

ที่มาและความสำคัญ :

ตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก เป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดิน รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมมนเกือบเป็นรูปวงกลม ตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขาทางทิศใต้เขาขวางและเขาดอนคา บริเวณโดยรอบมีทางน้ำไหลผ่าน กล่าวคือ ทางด้านตะวันออกมีห้วยน้ำใส หรือห้วยตะโก ทางด้านทิศใต้มีห้วยวังแรง และคลองปลาหมอ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ และพบว่ามีการขุดทางน้ำทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อเชื่อมต่อกับห้วยวังแรงและคลองปลาหมอ

    นอกจากทางน้ำธรรมชาติแล้ว นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือยังปรากฏอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดยมีแนวคันดินที่เชื่อมระหว่างเขาโรงและเขาพนมฉัตร ความกว้างของคันดิน ประมาณ 20-25 เมตร สูงประมาณ 7 เมตร

     จากการสำรวจของกรมศิลปากร ระหว่างวันที่ 20-30 สิงหาคม 2540 พบว่าทางทิศเหนือของเขาขวางและเขาดอนคา ยังปรากฏแนวสันเขื่อนกั้นน้ำบริเวณบ้านเขาล้อ โดยจะเชื่อมระหว่างเขาขวาง และเขาพนมฉัตร ความกว้างของสันเขื่อนประมาณ 20-25 เมตร สูงประมาณ 7 เมตร

หัวข้อในการสัมมนา :

  1. อบรมเชิงปฏิบัติการระยะสั้น เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุเบื้องต้น
  2. กิจกรรมแจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย

สถานที่จัดงาน : ตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

บทบาทของหน่วยงาน :เป็นผู้ดูแลโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย และคอยประสานงานการจัดโครงการ/กิจกรรม ภายในโครงการฯ

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน :

  1. โครงการฝึกอบรมอาชีพผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ สำหรับประชาชนทั่วไปในพื้นที่ตำบลดอนคาและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจและสร้างจิตบริการ สามารถปฏิบัติดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามหลักการพยาบาลเบื้องต้นได้ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมยุคปัจจุบัน โดยได้ร่วมกันดำเนินการจัด โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการระยะสั้น เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุเบื้องต้น ระหว่างวันที่ 10 – 12 มีนาคม 2564 ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

  2. โครงการ แจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย เมื่อวันที่ 30 กันยายน และ 1 ตุลาคม 2564 น้องในโครงการU2T ได้ร่วมกันแพ็คของใช้ เครื่องดื่มและอาหารแห้ง เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมที่หมู่บ้านวังแรง หมู่บ้านใหม่ลำตะคองและหมู่บ้านคอกควายใหญ่ ตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 100 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม :

  1. โครงการฝึกอบรมอาชีพผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ วันที่ 10 – 12 มีนาคม 2564
  2. โครงการ แจกถุงยังชีพผู้ประสบภัย วันที่ 30 กันยายน และ 1 ตุลาคม 2564

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :

  1. ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ
  2. ประชาชนได้รับการช่วยเหลือจากถุงยังชีพ ที่น้อง ๆในโครงการร่วมกันแพ็คของเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : ผู้ที่ได้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามหลักการพยาบาลเบื้องต้นได้ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Web site/link : https://u2t-donka.com/about-us/

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 1 , 3 

01-05042022

โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสุขอนามัยเพื่อชุมชนชาวม่วงชุม

ชื่องาน :โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสุขอนามัยเพื่อชุมชนชาวม่วงชุม

ที่มาและความสำคัญ : ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นชุมชนใกล้เมืองขนาดเล็กพื้นที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอท่าม่วง 8 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอกาญจนบุรีประมาณ 20 กิโลเมตร ข้อมูล ณ เดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2562 ประกอบไปด้วย 5 หมู่บ้าน 7 ชุมชน 2,562 ครัวเรือน และมีจำนวนประชากรเพียง   5, 761 คน อายุน้อยกว่า 18 ปี จำนวน 1,046 คน อายุระหว่าง 18-60 ปี จำนวน 3,617 คน และอายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 1,087 คน  มีภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 2 แห่ง นักเรียนรวม 149 คน โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1 แห่ง นักเรียนรวม 70 คน มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง มีเด็กรวม 50 คน มีรพ. สต. 1 แห่ง บุคลากรจำนวน 8 คน เป็นชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันดีคือ วัดถ้ำเสือและวัดถ้ำเขาน้อย แม้ว่าตำบลม่วงชุมจะเป็นชุมชนกำลังพัฒนาใหม่ อย่างไรก็ตามชุมชนและประชาชนก็ยังคงประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยปัญหาค่าแรงในพื้นที่ค่อนข้างต่ำ ประชากรต้องออกทำงานรับจ้างนอกพื้นที่ หรือปัญหาการขาดองค์ความรู้ในการพัฒนาหรือสร้างอาชีพใหม่ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศสมัยใหม่ ทำให้ประชาชนต้องปรับตัวด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ อาทิเช่น การใช้สารเคมีหรือการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพื่อการเกษตรกรรม การจัดการขยะในพื้นที่ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้านการอุปโภคและบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากร ทำให้เกิดโรค NCDs หรือโรคติดเชื้อปรสิตอื่น ๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรที่กำลังดำเนินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ จะเห็นได้ว่าปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัญหาที่มีพัฒนาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนสะสมกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องการการบริหารจัดการแบบบูรณาการอย่างเหมาะสมและเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการพัฒนาในด้านทรัพยากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

หัวข้อในการสัมมนา :

  • โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดีมีสุข (กิจกรรมสูงวัยมีพลัง)
  • กิจกรรม Local Wisdom : Sharing with the folk Philosophers and Experts
  • โครงการพัฒนาทักษะการจับจีบผ้าสตรี
  • โครงการพัฒนาสัมมาอาชีพ (ปันอิ่ม ปันสุข U2T ม่วงชุมร่วมใจคลายทุกข์สู้โควิด-19)
  • โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู้รุ่น(ทำน้ำพริกแกง)
  • จัดอบรมออนไลน์ให้ความรู้เรื่อง “สุขภาพและโภชนาการ และโรคหนอนพยาธิที่พบบ่อยและสำคัญทางการแพทย์”
  • โครงการข้าวต้มผัด มัดใต้รวมใจ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และต่อยอดทักษะอาชีพให้ลูกหลานบ้านม่วงชุม

สถานที่จัดงาน : ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

บทบาทของหน่วยงาน :เป็นผู้ดูแลโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย และคอยประสานงานการจัดโครงการ/กิจกรรม ภายในโครงการฯ

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน :

1) การจ้างงานตามภารกิจต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย จำนวน 20 อัตรา

2) การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของโครงการรายตำบล (ระดับ System Integrator)

3) โครงการเสริมสร้างคุณค่าเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาของชุมชน ลักษณะกิจกรรมอบรมความรู้ ทักษะด้านอาชีพ ยกระดับสินค้าชุมชน การดูแลรักษาสุขภาพ อาชีวอนามัย และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและสื่อสารสนเทศสมัยใหม่ ในรูปแบบ “Training of change agent to be the trainers” ทั้งนี้ผู้ถูกจ้างงานในโครงการฯ จำนวน 20 คน และชาวบ้านตำบลท่าม่วง จำนวน 30 คน ผู้ผ่านการอบรมแล้วจะอยู่ในระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น โดยความร่วมมือขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และรพ.สต. บ้านท่าม่วง สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ และทักษะเพื่อให้เกิดการต่อยอดและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในชุมชนอย่างยั่งยืน

4)  โครงการ “นักเรียนประถมศึกษาบ้านท่าม่วง สุขภาพดี ปลอดเหาและพยาธิในลำไส้ 100%” ลักษณะกิจกรรมเป็นการเข้าถึงชุมชนผ่านกิจกรรม “บริการอนามัยโรงเรียน” โดยความร่วมมือของสพฐ. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และรพ.สต. บ้านม่วงชุม เป้าหมายคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดม่วงชุม และโรงเรียนวัดชุกพี้ จำนวนประมาณร้อยละ 80 เพื่อให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในตำบลม่วงชุม สุขภาพดี ปลอดเหาและพยาธิในลำไส้ 100% และสามารถเป็นตัวกลางในการสื่อสารองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ เพื่อการปลอดเหาและพยาธิในลำไส้ให้กับบุคคลในครอบครัว ได้อย่างยั่งยืน งบประมาณ 262,200 บาท

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : 200 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : 1 กุมภาพันธ์ 2564 – 30 ธันวาคม 2564

  • โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดีมีสุข วันที่ 9 มีนาคม 2564
  • กิจกรรม Local Wisdom : Sharing with the folk Philosophers and Experts วันที่ 26 มีนาคม 2564
  • โครงการพัฒนาทักษะการจับจีบผ้าสตรี วันที่ 28 มิถุนายน 2564
  • โครงการพัฒนาสัมมาอาชีพ (ปันอิ่ม ปันสุข U2T ม่วงชุมร่วมใจคลายทุกข์สู้โควิด-19) วันที่ 12-14 กันยายน 2564
  • โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู้รุ่น(ทำน้ำพริกแกง) วันที่ 13-15 ตุลาคม 2564
  • โครงการจัดอบรมออนไลน์ให้ความรู้เรื่อง วันที่ 25 ตุลาคม 2564
  • โครงการข้าวต้มผัด มัดใต้รวมใจ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) :

1) สร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ในอนาคต ที่เกิดจากกระบวนการจ้างงานและการอบรมของโครงการฯ กับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 5 คน บัณฑิตระดับปริญญาตรีจบใหม่ไม่เกิน 3 ปี จำนวน 10 คน และประชาชนทั่วไป จำนวน 5 คน

2) ประชาชนตำบลม่วงชุม (Change agent) ที่เข้าร่วมและผ่านกิจกรรมของโครงการฯ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในการสร้างรายได้ (Entrepreneurship) และสามารถต่อยอดสร้างสรรค์สินค้าใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการด้านการตลาดของชุมชนไปเป็นอาชีพใหม่

3) ผู้สูงอายุในตำบลบ้านม่วงชุม จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ผ่านการอบรม และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการดูแลรักษาสุขภาพ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ และการสร้างอาชีพอย่างง่าย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ จนนำไปสู่โมเดลของโครงการ คือ “ผู้สูงอายุ วัยสมาร์ท ไม่เป็นภาระของลูกหลาน” โดยความร่วมมือขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และรพ.สต. บ้านม่วงชุม

4) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในตำบลม่วงชุม จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เข้าร่วมโครงการ “นักเรียนประถมศึกษาบ้านท่าม่วง สุขภาพดี ปลอดเหาและพยาธิในลำไส้ 100%” ปลอดเหาและพยาธิในลำไส้ 100% และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับนำไปสู่การปฏิบัติ จนนำไปสู่โมเดลของโครงการ คือ Smart Health Students โดยความร่วมมือขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และรพ.สต. บ้านม่วงชุม

5) ประชาชนตำบลม่วงชุม ที่เข้าร่วมและผ่านกิจกรรมของโครงการฯ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 สามารถนำองค์ความรู้ด้านการป้องกันและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 และโรคติดต่ออื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในชุมชนม่วงชุม นำสู่การปฏิบัติ จนนำไปสู่โมเดลของโครงการคือ Smart Health People โดยความร่วมมือขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และรพ.สต. บ้านม่วงชุม

Web site/link : https://anyflip.com/jfowv/dumd/

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 1 , 3 

13072021-2

การเสวนาการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีโรงงานหมิงตี้ เคมีคอล ของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แห่งประเทศไทย

ชื่องาน : การเสวนาการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีโรงงานหมิงตี้ เคมีคอล ของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แห่งประเทศไทย

ที่มาและความสำคัญ : ความร่วมมือในฐานะเป็นวิทยากรของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
การสรุปบทเรียน เพื่อเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจาก กรณีโรงงานเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้สารเคมี

หัวข้อในการจัดกิจกรรม : การเสวนาการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีโรงงานหมิงตี้ เคมีคอล

สถานที่จัดงาน : Online

บทบาทของหน่วยงาน : เป็นผู้วิทยากร

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ บุคลากรทั่วไป

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม : มากกว่า 450 คน

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : 8 กรกฎาคม 2564

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : แนวทางการปฏิบัติตัวของประชาชทั่วไป 

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : ความร่วมมือในทางวิชาการ การนำข้อมูลไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน

Web site/link : https://www.cstp.or.th/#!/newsView/200

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3 , 4 ,6 ,9 ,11 ,13, 14 ,17

20210507-5298-2-m

การประชุมระหว่างคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคลินิกชุมชนสีลม พฤษภาคม 2564

ชื่องาน :การประชุมระหว่างคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคลินิกชุมชนสีลม พฤษภาคม 2564

ที่มาและความสำคัญ : กิจกรรมการวิจัยของคลินิก ปรึกษาหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการกับทางคณะฯ และแนะนำให้รู้จักกับพนักงานใหม่ของคลินิก

หัวข้อในการจัดกิจกรรม :การประชุมระหว่างคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคลินิกชุมชนสีลม พฤษภาคม 2564

สถานที่จัดงาน : Online

บทบาทของหน่วยงาน : ความร่วมมือทางวิชาการ

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน :กิจกรรมการวิจัยของคลินิก ปรึกษาหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการกับทางคณะฯ และแนะนำให้รู้จักกับพนักงานใหม่ของคลินิก

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :  

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : 7 พฤษภาคม 2564


ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : 

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : 

Web site/link : https://www.tm.mahidol.ac.th/th/th-news-event-view.php?news_id=5298

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3

20210311-5209-14-m

การเสวนาวิชาการเรื่อง “เส้นทางสู่ความสำเร็จ ปี 2564 ครั้งที่ 1”

ชื่องาน :การเสวนาวิชาการเรื่อง “เส้นทางสู่ความสำเร็จ ปี 2564 ครั้งที่ 1

ที่มาและความสำคัญ : บุคลากรทางสายวิชาการ ทางการแพทย์ได้รับรางวัล

หัวข้อในการจัดกิจกรรม : “เส้นทางสู่ความสำเร็จ ปี 2564 ครั้งที่ 1”

สถานที่จัดงาน : Online

บทบาทของหน่วยงาน : 

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน :ส่งเสริมการทำงานและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่บุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :  

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : 11 มีนาคม 2564

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : 

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : 

Web site/link : https://www.tm.mahidol.ac.th/th/th-news-event-view.php?news_id=5209

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3

20210305-5206-41-m

การบรรยายพิเศษเรื่อง “แนวโน้มในการรักษาและป้องกันโควิด-19”

ชื่องาน : การบรรยายพิเศษเรื่อง “แนวโน้มในการรักษาและป้องกันโควิด-19”

ที่มาและความสำคัญ : การเกิดโรคระบาดโควิด-19

หัวข้อในการจัดกิจกรรม : “แนวโน้มในการรักษาและป้องกันโควิด-19”

สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

บทบาทของหน่วยงาน : การให้บริหารทางการแพทย์

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน :ให้ผู้ที่สนใจรับฟังมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโควิด-19 โดยสามารถดูแลตนเองและบุคคลรอบข้างได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันและการรักษาโควิด-19 ให้ก้าวหน้าตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่อไป  

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :  

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : 5 มีนาคม 2564

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : การรักษาโรคระบาดโควิด-19 ทางเลือก และวิธีการป้องกันโรคระบาด

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : 

Web site/link : https://www.tm.mahidol.ac.th/th/th-news-event-view.php?news_id=5206

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3

20210310-5207-16-m

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมการจัดการอนามัยของโรงเรียนสามพรานวิทยา

ชื่องาน :คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมการจัดการอนามัยของโรงเรียนสามพรานวิทยา

ที่มาและความสำคัญ : ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมการบริหารจัดการอนามัยของโรงเรียนสามพรานวิทยา จังหวัดนครปฐม โดยศึกษาข้อมูลในด้านการจัดกิจกรรมลดความเครียด ลดความรุนแรงระหว่างนักเรียน และห่างไกลยาเสพติด รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานอนามัยโรงเรียน

หัวข้อในการจัดกิจกรรม : คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมการจัดการอนามัยของโรงเรียนสามพรานวิทยา

สถานที่จัดงาน : โรงเรียนสามพรานวิทยา

บทบาทของหน่วยงาน : ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมการบริหารจัดการ

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน : เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับนักศึกษา 

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม :  

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม : 10 มีนาคม 2564

ข้อสรุปที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : ศึกษาข้อมูลในด้านการจัดกิจกรรมลดความเครียด ลดความรุนแรงระหว่างนักเรียน และห่างไกลยาเสพติด รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานอนามัยโรงเรียน

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดงาน(ถ้ามี) : 

Web site/link : https://www.tm.mahidol.ac.th/th/th-news-event-view.php?news_id=5207

รูปภาพประกอบ :

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ : 3, 8