ต้นควินิน (Quinine)

     
ชื่อต้นไม้: ต้นควินิน (Quinine)     ชื่อทั่วไป: ซิงโคนา
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinchona succirubra Par.  วงศ์ Rubiaceae
     
 ความเกี่ยวข้องกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
  มีคุณสมบัติในการรักษาโรคมาเลเรียชนิดดื้อยา ซึ่งโรคนี้เป็นจุดเด่นของคณะฯ และทำชื่อเสียงให้เป็นคณะฯ อย่างมาก
  มีความสำคัญด้านการศึกษาวิจัยยาต้านมาลาเรียของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
  มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้านการแพทย์สากลเมืองร้อน ยาควินินใช้ในการรักษาโรคมาเลเรียมายาวนานกว่า 400 ปี นานกว่ายาต้านมาเลเรียทุกชนิดที่เคยใช้กันทั่วโลก
  เป็นไม้ยืนต้น และเป็นพืชเมืองร้อน เจริญเติบโตได้ดีในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
     
 ใช้เป็นต้นไม้ประจำสถาบัน
  คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
     
 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
  ไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมใบหอก กว้าง 7-10 ซม. หูใบรูปใบหอก อยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีขาวหรือชมพู ผลแห้ง แตกได้ รูปกระสวยยาว เมื่อสุกสีน้ำตาลแดง
     
 สรรพคุณทางยา
  ตำรายาไทยใช้ เปลือกต้น แก้ไข้มาลาเรีย พบว่าเปลือกต้นและเปลือกรากมีแอลคาลอยด์หลายชนิด ที่สำคัญคือควินินสำหรับแก้ไข้มาลาเรียชนิดฟัลซิพารัม และควินิดินรักษาโรคหัวใจเต้นเร็ว
     

ผศ.เกศินี บูชาชาติ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และเลขานุการคณะ พร้อมคณะ
รับมอบต้นควินินและต้นกล้า จากคุณพิทักษ์ มีชัชยา
เจ้าหน้าที่ประจำสวนสมุนไพร ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2555

ควินิน (ซิงโคนา) - กว่าจะมาเป็นต้นไม้ประจำคณะเวชศาสตร์เขตร้อน