ไทย
EN
Intra
MENU
หน้าแรก
การบริหาร
เกี่ยวกับเขตร้อน / อำนาจหน้าที่
ประวัติคณะฯ
โครงสร้างองค์กร
สารจากคณบดี
แผนยุทธศาสตร์
ผู้บริหาร
กรรมการประจำคณะฯ
สภาอาจารย์
คุณธรรมและความโปร่งใส (ITA)
รายงานประจำปี
การศึกษา
สำนักงานบริหารการศึกษา
อบรม/สัมมนา
เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล
งานวิจัย
โรงพยาบาล
มูลนิธิ
ภาควิชา/ศูนย์
ภาควิชา/ศูนย์
ภาควิชา
อายุรศาสตร์เขตร้อน
กีฏวิทยาการแพทย์
พยาธิโปรโตซัว
สุขวิทยาเขตร้อน
พยาธิวิทยาเขตร้อน
ชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อน
ปรสิตหนอนพยาธิ
จุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี
เวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม
โภชนศาสตร์เขตร้อนและวิทยาศาสตร์อาหาร
กุมารเวชศาสตร์เขตร้อน
ศูนย์ความเป็นเลิศ
ศูนย์ทดสอบวัคซีน (VTC)
ศูนย์ความเป็นเลิศทางสารสนเทศศาสตร์ชีวเวชและสาธารณสุข (BIOPHICS)
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบดี (CEAR)
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยมาลาเรีย
หน่วยวิจัยมหิดลไวแวกซ์ (MVRU)
หน่วยวิจัยมาลาเรียคลินิก (CMRU)
หน่วยวิจัยยามาลาเรีย(DRUM)
TropMed Diagnostic Development Centre(TropMed-DC)
ศูนย์
ศูนย์โรคเมืองร้อนนานาชาติราชนครินทร์
ศูนย์วินิจฉัยโรคเขตร้อน
ศูนย์วิจัยโรคเขตร้อนกาญจนบุรี
ความร่วมมือต่างประเทศ
หน่วยงานภายใน
เขตร้อนของเรา
หอพักรับรองคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
พัฒนาคุณภาพ
การจัดการความรู้ KM
ศูนย์วินิจฉัยโรคเขตร้อน
สำนัก
สำนักงานคณบดี
งานบริหารธุรการ
งานทรัพยากรบุคคล
สวัสดิการเพิ่มเติมคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
งานคลัง
งานพัสดุ
งานกายภาพและสิ่งแวดล้อม
งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
งานเทคโนโลยีการศึกษาและศิลปกรรม
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์
สำนักงานบริหารการศึกษา
สำนักงานบริการการวิจัย
สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ
หน่วยบริหารทรัพย์สินและกฏหมาย
หน่วยตรวจสอบภายใน
ติดต่อเรา
ต้นควินิน (Quinine)
ต้นควินิน (Quinine)
|
ควินิน (ซิงโคนา) กว่าจะมาเป็นต้นไม้ประจำคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
|
การแสวงหาต้นควินิน มาปลูกที่คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
ควินิน (ซิงโคนา) กว่าจะมาเป็นต้นไม้ประจำคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
สืบเนื่องจากการที่วิทยาเขตราชวิถี โดยคณบดีทั้งสามคณะ ได้แก่ รองศาสตราจารย์พิทยา จารุพูนผล คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ รองศาสตราจารย์ธีรลักษณ์ สุทธเสถียร คณบดีคณะทันตแพทย์ศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ได้ประชุมร่วมกับ ศาสตราจารย์คลินิกปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการ บดี มหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมผู้บริหาร อาคาร ๘ คณะทันตแพทยศาสตร์ เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนกร่วมกัน โดยแต่ละคณะจะจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการนี้ คณะละ ๕ ล้านบาท ซึ่งคณบดีทั้งสามคณะ ได้กำหนดวันเปิดใช้พื้นที่ดังกล่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ โดยจะมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงมีการปลูกต้นไม้สัญลักษณ์ประจำคณะร่วมกันด้วย
ต่อมาทั้งสามคณะได้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และได้ประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เพื่อวางแผนโครงการฯ คาดว่าจะเริ่มงานได้ประมาณเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ และคาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ แต่เนื่องจากประเทศไทยได้ประสบกับมหาอุทกภัย การดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวจึงล่าช้ากว่าแผน บริษัท คอร์เดีย จำกัด ได้เริ่มดำเนินงานจริงเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ตามสัญญาเลขที่ C 003/2555 (PE) และพยายามเร่งให้โครงการแล้วเสร็จให้ทันกำหนดวันปลูกต้นไม้ร่วมกัน
ในช่วงต้นเดือนมกราคม ๒๕๕๕ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อนมีดำริว่า คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีต้นไม้ประจำคณะฯ คือ ต้นราชพฤกษ์ ส่วนต้นไม้สัญลักษณ์ของคณะทันตแพทยศาสตร์ คือ ดอกบัว แต่ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ยังไม่มีต้นไม้สัญลักษณ์ประจำคณะ จึงได้มอบหมายให้จัดการประกวดต้นไม้สัญลักษณ์ประจำคณะขึ้นเพื่อจะได้นำไปปลูกในบริเวณลานพระราชานุสาวรีย์ คณะจึงได้ดำเนินการประกาศให้ภาควิชา/หน่วยงานต่างๆ ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ส่งต้นไม้เข้าประกวด โดยการกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มที่กำหนด ระบุชื่อผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ ชื่อต้นไม้ที่ส่งเข้าประกวดทั้งชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ ลักษณะ พร้อมภาพประกอบ และเหตุผลที่ส่งเข้าประกวด กำหนดส่งตั้งแต่วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๕ จนถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๕
จากนั้นได้มีคำสั่งคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ ๐๒๕/๒๕๕๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตัดสินประกวดต้นไม้สัญลักษณ์ประจำคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ดังมีรายนามต่อไปนี้
๑.
ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงอรุณี ทรัพย์เจริญ
ประธานกรรมการ
๒.
รองศาสตราจารย์จิตรา ไวคกุล
รองประธานกรรมการ
๓.
รองศาสตราจารย์สุวณี สุภเวชย์
กรรมการ
๔.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัจฉรา อัศวาณิชย์
กรรมการ
๕.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกศินี บูชาชาติ
กรรมการและเลขานุการ
๖.
นางฐิติกา ธีรเนตร
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะกรรมการฯ ได้นัดประชุมเพื่อตัดสินในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ โดยกำหนดเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้
๑.
เป็นต้นไม้ที่มีความเกี่ยวข้องกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
๒.
มีความยั่งยืน คงทน
๓.
เป็นต้นไม้สากลที่ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติรู้จัก
๔.
เป็นต้นไม้ที่สามารถหามาปลูกได้
จากจำนวนต้นไม้ทั้งหมดที่มีผู้ส่งเข้าประกวด จำนวน ๑๖ ราย ได้แก่
๑. ต้นควินิน (ซิงโคนา)
โดย ผศ.เกศินี บูชาชาติ
สำนักงานคณบดี
๒. ต้นพยับหมอก
โดย น.ส.เกษราภรณ์ ทองภักดี
ภาควิชาสุขวิทยาเขตร้อน
๓. ต้นไทรยอดทอง
โดย น.ส.กรรณิการ์ ชินวงศ์พรม
โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
๔. ต้นโกสน/ต้นประยงค์/ดาหลา/ต้นกันเกรา โดย นายชาลี กริ่มใจ
สำนักงานคณบดี
๕. ต้นประดู่แดง
โดย นายกิตติศักดิ์ ปุสวัสดิ์
สำนักงานคณบดี
๖. ต้นประดู่แดง
โดย น.ส.กรรณิการ์แก้ว พินิจ
มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
๗. ต้นเกรา
โดย น.ส.ชุติมา ปฐมกำเนิด
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์
๘. ต้นเหลืองปรีดียาธร
โดย น.ส.ปวีณา สิทธิโสธา
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์
๙. ต้นตะเคียน
โดย นายณพจักร สนธิเณร
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์
๑๐. ต้นทองอุไร
โดย น.ส.สุนิศา เขียวขวาง
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์เขตร้อน
๑๑. ดอกลำโพงขาว
โดย นางสันทนา ธรรมไทย
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์เขตร้อน
๑๒. ต้นปักษาสวรรค์
โดย นายเสฏฐวุฒิ แก้ววิเศษ
สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ
๑๓. ต้นแผ่บารมี/ต้นกาฬพฤกษ์
โดย อ.รชตวรรณ เฉียบฉลาด
ภาควิชาพยาธิโปรโตซัว
๑๔. ต้นหางนกยูง/พญาสัตบรรณ
โดย นายพสิณ ชรัตน์
สำนักงานคณบดี
๑๕. ต้นพิกุล
โดย นางประไพพร เตียเจริญ
สำนักงานคณบดี
๑๖. ต้นมะเกลือ
โดย คณะกรรมการตัดสินประกวดต้นไม้สัญลักษณ์ประจำคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาคัดเลือกต้นไม้ที่เข้าตามหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จำนวน ๓ ต้น คือ
(๑) ต้นควินิน (๒) ต้นประดู่แดง และ (๓) ต้นมะเกลือ
โดยได้นำผลการคัดเลือกนี้เสนอให้คณะกรรมการประจำคณะพิจารณา ในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
จากการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ คณะกรรมการประจำคณะ ได้เสนอ
(๔) ต้นพิกุล
เพื่มเติมอีกชื่อหนึ่ง รวมเป็น ๔ ต้นและให้จัดทำโปสเตอร์ของต้นไม้ทั้ง ๔ ต้น เสนอให้ประชาคมเขตร้อนลงคะแนนเพื่อคัดเลือกต้นไม้ดังกล่าว ในวันพุธที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๔.๐๐น. ณ ลานชั้น ๑ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ ปี และให้นำเสนอต้นไม้ที่ได้รับการลงคะแนนสูงสุดเข้าพิจารณาในคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๕ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕ เพื่อให้การรับรองและประกาศเป็นต้นไม้ประจำคณะเวชศาสตร์เขตร้อนต่อไป
สรุปรายงานผลการคัดเลือกต้นไม้สัญลักษณ์ประจำคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มีดังนี้
ผลการลงคะแนน
๑. ต้นควินิน
จำนวน ๒๗๕ คะแนน
คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๗
๒. ต้นพิกุล
จำนวน ๘๐ คะแนน
คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๗
๓. ต้นประดู่แดง
จำนวน ๖๓ คะแนน
คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๙
๔. ต้นมะเกลือ
จำนวน ๓๓ คะแนน
คิดเป็นร้อยละ ๗.๓
รวมคะแนนทั้งหมด
จำนวน ๔๕๑ คะแนน
คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๖
บัตรเสีย
จำนวน ๒ ใบ
คิดเป็นร้อยละ ๐.๔
ผู้มาลงคะแนน จำนวน ๔๕๓ คน จากผู้มาใช้สิทธิ จำนวน ๘๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๘
ผลการตัดสินนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๕ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕ .......ต้นควินิน (ซิงโคนา) จึงได้ถูกประกาศให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ตั้งแต่บัดนั้น...............
โดย ผู้ชนะการประกวดจะต้อง
แสวงหาต้นควินิน
มาปลูกที่คณะฯ เพื่อให้ประชาคมของคณะเวชศาสตร์เขตร้อนได้ชื่มชมสืบไป..............
ปรับปรุงล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2568